วิเคราะห์สาเหตุการเกิดลูกเห็บ


พื้นที่ : บริเวณ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน (พิกัด 19.39N 98.36E / 19.76N 98.50E )



ผลการวิเคราะห์ : ผลลัพธ์จากการคำนวณของแบบจำลอง WRF-ROMS ที่ความละเอียด 3 กม. เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2565 เวลา 14.00 น. หรือ ก่อนเกิดเหตุการณ์ประมาณ 1 ชั่วโมง ทำให้สามารถวิเคราะห์ได้ว่ามี 4 ปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์พายุลูกเห็บในครั้งนี้ ซึ่งประกอบด้วย

1.ความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity) จากแผนภาพแสดงค่าความชื้นสัมพันธ์ในระดับความสูงต่าง ๆ บริเวณอำเภอปาย พบว่าความชื้นในอากาศระดับล่าง (ต่ำกว่า 5,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล) สูงมากกว่า 90% ในขณะที่อากาศระดับบน (ช่วง 5,000 - 8,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล) มีความชื้นต่ำกว่า 50% ซึ่งถือว่ามีความต่างกันค่อนข้างมาก



2.อุณหภูมิตุ้มเปียก (Wet Bulb Temperature) จากแผนภาพแสดงให้เห็นว่าบริเวณจุดเยือกแข็งของอากาศ (0 องศาเซลเซียส) เลื่อนระดับลงมาอยู่ที่ 3,000-5,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ซึ่งเป็นช่วงความสูงที่เหมาะสมต่อการเกิดลูกเห็บ ประกอบบริเวณ อ.ปาย เป็นพื้นที่ภูเขา ทำให้เกิดการก่อตัวของลูกเห็บได้ง่ายและเร็วมากขึ้น



3.การยกตัวในแนวดิ่งของอากาศ (Omega) Pascal คือหน่วยวัดค่าความกดอากาศ ซึ่งถ้าค่าความกดอากาศลดลงไว (ยิ่งติดลบมากหมายถึงค่าความกดอากาศลดลงเร็วมาก) จะทำให้อากาศร้อนลอยตัวขึ้นไปไว และจะส่งผลทำให้พัฒนาเป็นเมฆได้ไว และหากสามารถลอยขึ้นไปถึงจุดเยือกแข็งเร็ว ก็จะทำให้เกิดการควบแน่นเป็นลูกเห็บได้เร็วตามไปด้วย ซึ่งจากแผนภาพจะเห็นได้ว่า บริเวณท้องฟ้าเหนืออำเภอปาย ที่ระดับต่ำกว่า 3,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล อากาศร้อนเคลื่อนที่แนวดิ่งหรือยกตัวขึ้นอย่างรวดเร็วมาก ดังจะเห็นว่ามีพื้นที่สีฟ้าเกิดขึ้นซึ่งเป็นบริเวณที่มีค่าความกดอากาศติดลบค่อนข้างสูง



4.การบิดตัวและยกตัวของอากาศ (Absolute Vorticity) กรณีตัวเลขวัดระดับการบิดตัวของอากาศมีค่าที่เป็นบวก หมายถึง อากาศมีการบิดตัวในทิศทางตามเข็มนาฬิกา ทำให้สภาวะอากาศค่อนข้างปกติ ฟ้าโปร่ง มีแดด เป็นต้น ส่วนค่าตัวเลขที่ติดลบ หมายถึง การบิดตัวของอากาศในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา ส่งผลให้สภาวะอากาศแปรปรวน ไม่เสถียร อาจเกิดหย่อมความกดอากาศต่ำหรือพายุขึ้นได้ ยิ่งติดลบมากสภาวะอากาศยิ่งแปรปรวนมาก ซึ่งจากแผนภาพจะเห็นได้ว่าอากาศระดับบน เหนือท้องฟ้า อ.ปายที่ระดับความสูงประมาณ 5,000-9,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีการบิดตัวในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาค่อนข้างรุนแรงจะเห็นได้จากการมีพื้นที่สีฟ้าและสีน้ำเงินเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งส่งผลทำให้อากาศระดับบนเกิดความไม่เสถียรค่อนข้างมาก



ด้วยองค์ประกอบที่ครบทั้ง 4 ข้อที่กล่าวมาข้างต้น ส่งผลทำให้มีพายุลูกเห็บเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้างในพื้นที่ อ.ปาย จ. แม่ฮ่องสอน โดยเฉพาะที่บ้านหัวเมือง หมู่ที่ 7 ตำบลเวียงเหนือ รวมถึงพื้นที่ใกล้เคียงอีกหลายพื้นที่