เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2566 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้รายงานจากสถานการณ์หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางจะเคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนบน ตามแนวร่องมรสุม รวมถึงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้น ท่าให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ ทั้งนี้มีฝนตกหนักมากในบางพื้นที่ทางตอนล่างของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ รวมทั้งกรุงเทพมหานคร
และปริมณฑล ระหว่างวันที่ 26 กันยายน - 15 ตุลาคม 2566 มีพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม โดยมีสถานการณ์เกิดขึ้นใน 37 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย พะเยา เพชรบูรณ์ แม่ฮ่องสอน ลำพูน อุตรดิตถ์ เชียงใหม่ ล่าปาง สุโขทัย พิษณุโลก น่าน ตาก ก่าแพงเพชร แพร่ นครสวรรค์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด หนองบัวล่าภู ชัยภูมิ นครราชสีมา อุดรธานี ยโสธร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น เลย อุบลราชธานี
กาญจนบุรี ลพบุรี นครนายก สมุทรปราการ ชลบุรีฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ตราด นครศรีธรรมราช สตูล และยะลา รวม 150 อำเภอ 576 ตำบล 2,929 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 61,357 ครัวเรือน ในวันที่รายงานยังคงมีสถานการณ์เกิดขึ้นเหลืออยู่อีก 7 จังหวัด ได้แก่ พะเยา นครศรีธรรมราช ร้อยเอ็ด เพชรบูรณ์ พิษณุโลก กาฬสินธุ์และอุบลราชธานี รวม 23 อำเภอ 92 ตำบล 519 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 13,823 ครัวเรือน รายละเอียดดังตาราง