ช่วงกลางถึงปลายเดือนกรกฎาคม 2566 มีหลายปัจจัยทางสภาพอากาศที่ส่งผลทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้นรวมทั้งมีฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายตัวในหลายพื้นที่ ปัจจัยแรกคือมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงปลายเดือนที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับค่อนข้างแรง ปัจจัยที่สองคือร่องมรสุม (สัญลักษณ์ ) ที่พาดผ่านภาค
เหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในช่วงกลางเดือนและหลังจากนั้นได้เลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยร่องมรสุมดังกล่าวได้พาดเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำ (สัญลักษณ์ ) บริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยที่สามคือการได้รับอิทธิพลจากพายุโซนร้อน “ตาลิม (TALIM)” (สัญลักลักษณ์ ) บริเวณ
ทะเลจีนใต้ตอนบนที่ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งที่เมืองจั้นเจียง มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน ในวันที่17 กรกฎาคม 2566 แล้วเคลื่อนผ่านชายฝั่งประเทศจีนตอนใต้และเข้าสู่ประเทศเวียดนามตอนบนพร้อมทั้งอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน (สัญลักษณ์ ) ในวันที่ 18 กรฎาคม 2566 จากนั้นได้อ่อนกำลังลงตามลำดับและสลายตัวไปในวันที่ 19 กรกฎาคม 2566