ปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่
ที่มา : กรมชลประทาน / การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

สถานการณ์ฝนตกหนักที่เกิดขึ้นหลายพื้นที่ในช่วงเดือนกันยายน 2566 ส่งผลทำให้ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 35 แห่งทั่วประเทศมีเพิ่มมากขึ้น โดยตลอดทั้งเดือนมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนรวมกันทั้งสิ้น 10,406 ล้านลูกบาศก์เมตร มากกว่าค่าเฉลี่ย 20 ปี อยู่ 5% ซึ่งเมื่อเทียบกับข้อมูลย้อนหลังในรอบ 20 ปี จะพบว่าเดือนกันยายน 2566 มีน้ำไหลลงเขื่อนน้อยกว่าปี 2554 ที่เกิดอุทกภัยรุนแรงอยู่ 82% และมากกว่าปี 2558 ที่เกิดภัยแล้งรุนแรงอยู่ 52% โดยเขื่อนที่มีน้ำไหลลงมากที่สุดตลอด

ช่วงเดือนกันยายน 2566 คือ เขื่อนภูมิพล ที่มีปริมาณน้ำไหลลงทั้งเดือน 1,723 ล้านลูกบาศก์เมตร รองลงมาคือเขื่อนวชิราลงกรณและเขื่อนสิริกิติ์ ที่มีปริมาณน้ำไหลลง 1,586 และ 1,115 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ ทั้งนี้เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566 ทั้ง 35 เขื่อนมีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ในเขื่อน 55.36% ของความจุ และไม่มีเขื่อนใดที่มีน้ำกักเก็บอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก แต่เมื่อถึงวันสิ้นเดือนกันยายน 2566 ปริมาณน้ำกักเก็บเพิ่มขึ้นเป็น 66.87% ของความจุ และมีเขื่อนที่มีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ในเกณฑ์น้ำมากเพิ่มขึ้น

เป็น 6 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนแม่งัด จ.เชียงใหม่ เขื่อนห้วยหลวงและเขื่อนน้ำพุง จ.อุดรธานี เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี และเขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก รวมถึงมีสถานการณ์น้ำล้นเขื่อนเกิดขึ้น 2 แห่ง ที่เขื่อนแม่มอก จ.ลำปาง และเขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ ทั้งนี้ยังคงมีเขื่อนที่มีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยวิกฤตอยู่อีก 2 แห่ง คือ เขื่อนทับเสลา จ.อุทัยธานี และเขื่อนคลองสียัด จ.ฉะเชิงเทรา


กราฟแสดงปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสมของแต่ละเขื่อนในช่วงเดือนกันยายน 2566

กราฟเปรียบเทียบปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสมในเดือนกันยายนของเขื่อนขนาดใหญ่ทั้งประเทศในแต่ละปี

ปริมาณน้ำกักเก็บ ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2566

ปริมาณน้ำกักเก็บ ณ วันที่ 30 กันยายน 2566