ตลอดเดือนกันยายน 2566 ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากเกิดขึ้นทุกวัน โดยตกกระจายตัวอยู่ในทุกภาคของประเทศ เนื่องจากได้รับอิทธิพลจาก 4 ปัจจัยหลัก ประกอบด้วย 1) อิทธิพลจากร่องมรสุม
ที่พาดผ่านบริเวณตอนบนของประเทศไทยเกือบตลอดทั้งเดือน 2) อิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทยเกือบตลอดทั้งเดือนอีกเช่นกัน
3) หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงกลางเดือน และ 4) อิทธิพลจากพายุดีเปรสชัน 13W ที่เคลื่อนผ่านบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือของไทยในช่วงปลายเดือน
Throughout September 2023, Thailand experienced heavy to very heavy rain every day which was scattered in all regions of Thailand. It was caused by 4 main factors including 1) the influence of the monsoon trough that lay across
upper Thailand almost throughout the month. 2) the influence of the rather strong southwest monsoon that prevailed over the Andaman Sea, Thailand, and the Gulf of Thailand almost throughout the month 3) the influence of the low-
pressure cell that covered the Northeast in the middle of the month and 4) the influence of Depression 13W that moved through the Northeast and North at the end of the month.
ทั้งนี้จังหวัดที่มีฝนตกหนักมาก ปริมาณฝนเกิน 90 มิลลิเมตรต่อวัน ประกอบด้วย ภาคเหนือ 15 จังหวัด ได้แก่ แพร่ พิษณุโลก ลำพูน เชียงใหม่ ลำปาง สุโขทัย อุตรดิตถ์ น่าน เพชรบูรณ์ แม่ฮ่องสอน พะเยา เชียงราย กำแพงเพชร พิจิตร ตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 18 จังหวัด ได้แก่
มุกดาหาร ศรีสะเกษ อุบลราชธานี เลย กาฬสินธุ์ นครพนม อุดรธานี สกลนคร นครราชสีมา มหาสารคาม ขอนแก่น หนองคาย อำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด หนองบัวลำภู บุรีรัมย์ ชัยภูมิ ภาคกลาง 12 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา นครสวรรค์ สิงห์บุรี ลพบุรี อุทัยธานี สระบุรี
ปทุมธานี กาญจนบุรี ราชบุรี กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ อ่างทอง ภาคตะวันออก 6 จังหวัด ได้แก่ ตราด จันทบุรี ปราจีนบุรี นครนายก ระยอง สระแก้ว ภาคใต้ 9 จังหวัด ได้แก่ พังงา สุราษฎร์ธานี สตูล ระนอง ตรัง ภูเก็ต กระบี่ สงขลา นราธิวาส
Provinces experiencing heavy rain with more than 90 millimeters per day consisted of 15 provinces in the North, namely Phrae, Phitsanulok, Lamphun, Chiangmai, Lampang, Sukhothai, Uttaradit, Nan, Phetchabun, Mae Hong Son, Phayao, Chiangrai, Kamphaeng Phet, Phichit, Tak; 18 provinces in the Northeast, namely Mukdahan, Si Sa Ket,
Ubon Ratchathani, Loei, Kalasin, Nakhon Phanom, Udon Thani, Sakon Nakhon, Nakhon Ratchasima, Maha Sarakham, Khon Kaen, Nong Khai, Amnat Charoen, Yasothon, Roi Et, Nongbua Lamphu, Buriram, Chaiyaphum; 12 provinces in the Central, namely Phra Nakhon Si Ayutthaya, Nakhon Sawan, Sing Buri, Lop Buri, Uthai Thani, Sara Buri,
Pathum Thani, Kanchana Buri, Ratchaburi, Bangkok, Samut Prakan, Ang Thong; 6 provinces in the East, namely Trad, Chanthaburi, Prachin Buri, Nakhon Nayok, Rayong, Sakaeo; and 9 provinces in the South, namely Phang Nga, Surat Thani, Satun, Ranong, Trang, Phuket, Krabi, Songkhla, Narathiwat.
ฝนที่ตกหนักส่งผลทำให้แม่น้ำลำคลองหลายสายเกิดน้ำล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมในหลายพื้นที่ ซึ่งมีทั้งการเกิดน้ำท่วมเป็นระยะเวลาสั้น ๆ และบางพื้นที่เกิดน้ำท่วมเป็นระยะเวลานานหลายวัน ทั้งนี้ บริเวณภาคเหนือเกิดน้ำท่วมที่แม่น้ำปิงและน้ำฝางในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ แม่น้ำยมและแม่น้ำแควน้อยในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก แม่น้ำน่านบริเวณจังหวัดน่าน และแม่น้ำป่าสักบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เกิดน้ำท่วมที่แม่น้ำสงครามและน้ำอูนบริเวณจังหวัดสกลนคร ลำน้ำก่ำและลำน้ำชังในพื้นที่จังหวัดนครพนม ห้วยหลวงในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ห้วยโมงในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู แม่น้ำชีในพื้นที่จังหวัดยโสธรและอุบลราชธานี ลำเซบายบริเวณจังหวัดยโสธร ลำปาวบริเวณจังหวัดกาฬสินธุ์ และแม่น้ำโขงบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี ภาคตะวันออกเกิดน้ำท่วมที่แม่น้ำนครนายกบริเวณจังหวัดนครนายก แม่น้ำปราจีนบุรี
บริเวณจังหวัดปราจีนบุรี คลองโตนดบริเวณจังหวัดจันทบุรี และแม่น้ำตราดบริเวณจังหวัดตราด ส่วนภาคใต้เกิดน้ำท่วมที่คลองละงูและคลองฉลุง ในพื้นที่จังหวัดสตูล คลองรมณีย์ในพื้นที่จังหวัดพังงา ซึ่งจากการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมในช่วงเดือนกันยายน 2566 พบพื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 1.5 ล้านไร่ ในพื้นที่ 28 จังหวัด 187 อำเภอ 978 ตำบล
The heavy rain caused several rivers and canals to overflow their banks and flooded many areas with both short-period flooding and long-period flooding. The North had flooding at Ping River and Namfang River in Chiangmai Province, Yom River and Kwaenoi River in Phitsanulok Province, Nan River in Nan Province, and Pasak River in Phetchabun Province. The Northeast had flooding at Songkram River and
Nam Un River in Sakhon Nakhon Province, Namkam River and Namchang River in Nakhon Phanom Province, Huay Luang River in Udon Thani Province, Huay Mong River in Nongbua Lamphu Province, Chi River in Yasothon Province and Ubon Ratchathani Province, Lam Sebai River in Yasothon Province, Lampao River in Kalasin Province, and Mekong River in Ubon Ratchathani Province. The East had flooding at Nakhon
Nayok River in Nakhon Nayok Province, Prachin Buri River in Prachin Buri Province, Tanod Canal in Chanthaburi Province, and Trad River in Trad Province. The South had flooding at La Ngu Canal and Chalung Canal in Satun Province, and Rommanee Canal in Phang Nga Province. In addition, the analysis from satellite imagery in September 2023 showed that there were 1.5 million Rai of flood areas.
นอกจากนี้ ฝนที่ตกหนักยังส่งผลทำให้ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 35 แห่งทั่วประเทศมีเพิ่มมากขึ้น โดยตลอดทั้งเดือนมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนรวมกันทั้งสิ้น 10,406 ล้านลูกบาศก์เมตร มากกว่าค่าเฉลี่ย 20 ปี อยู่ 5% ซึ่งเมื่อเทียบกับข้อมูลย้อนหลังในรอบ 20 ปี จะพบว่าเดือนกันยายน 2566 มีน้ำไหลลงเขื่อนน้อยกว่าเดือนกันยายนของปี 2554 ที่เกิดอุทกภัยรุนแรงอยู่ 82% และมากกว่าเดือนกันยายนของปี 2558 ที่เกิดภัยแล้งรุนแรงอยู่ 52% โดยเขื่อนที่มีน้ำไหลลงมากที่สุดตลอดช่วง
เดือนกันยายน 2566 คือ เขื่อนภูมิพล ที่มีปริมาณน้ำไหลลงทั้งเดือน 1,723 ล้านลูกบาศก์เมตร รองลงมาคือเขื่อนวชิราลงกรณและเขื่อนสิริกิติ์ ที่มีปริมาณน้ำไหลลง 1,586 และ 1,115 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ ทั้งนี้เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566 ทั้ง 35 เขื่อนมีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ในเขื่อน 55.36% ของความจุ และไม่มีเขื่อนใดที่มีน้ำกักเก็บอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก แต่เมื่อถึงวันสิ้นเดือนกันยายน 2566 ปริมาณน้ำกักเก็บเพิ่มขึ้นเป็น 66.87% ของความจุ และมีเขื่อนที่มีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ในเกณฑ์น้ำมากเพิ่มขึ้น
เป็น 6 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนแม่งัด จ.เชียงใหม่ เขื่อนห้วยหลวงและเขื่อนน้ำพุง จ.อุดรธานี เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี และเขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก รวมถึงมีสถานการณ์น้ำล้นเขื่อนเกิดขึ้นที่เขื่อนแม่มอก จ.ลำปาง และเขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ แต่ทั้งนี้ยังคงมีเขื่อนที่มีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยวิกฤตอยู่ 2 แห่ง คือ เขื่อนทับเสลา จ.อุทัยธานี และเขื่อนคลองสียัด จ.ฉะเชิงเทรา
Furthermore, the heavy rain also caused 35 large dams across the country to have more inflow water. Throughout the month, the total inflow water was 10,406 million cubic meters (mcm) which was 5% higher than the 20-year average. When compared with historical data over the past 20 years, it was found that in September 2023 there was 82% less inflow water than September 2011 when there was severe flooding, and 52% more inflow water than September 2015 when there was severe drought. In
September 2023, Bhumibol Dam had the highest monthly inflow water of 1,723 mcm, followed by Vajjiralongkon Dam and Sirikit Dam with inflow water of 1,586 and 1,115 mcm, respectively. On 31 August 2023, all 35 dams had an amount of stored water at 55.36% of their capacity without dams that had high water storage levels. Then, at the end of September 2023, the amount of stored water increased to 66.87% of their capacity with 6 dams that had high water storage levels, namely Maengat Dam in Chiangmai
Province, Huai Luang Dam and Nampung Dam in Udon Thani Province, Nam Un Dam in Sakon Nakhon Province, Sirindhorn Dam in Ubon Ratchathani Province, and Khundan Prakanchol Dam in Nakhon Nayok Province. Moreover, Overflow occurred at Maemok Dam in Lampang Province and Lampao Dam in Kalasin Province, but two dams had critically low water storage levels, namely Tabsalao Dam in Uthai Thani Province and Klong Siyad Dam in Chachoengsao Province.