กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้รายงานสถานการณ์อุทกภัยช่วงเดือนกันยายน 2566 รายละเอียดดังนี้
รายงานประจำวันที่ 6 กันยายน 2566 เวลา 18.00 น. (สรุปสถานการณ์ช่วงวันที่ 1-6 กันยายน 2566)
จากสถานการณ์ร่องมรสุมกำลังแรงจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ โดยมีสถานการณ์ระหว่างวันที่ 1-6 ก.ย. 66 ในพื้นที่18 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน แพร่ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก ลำพูน ชัยภูมิ จันทบุรี ตราด สระบุรี สุราษฎร์ธานี พังงา สตูล ชุมพร นครราชสีมา ขอนแก่น มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ลำปาง รวม 26 อำเภอ 53 ตำบล 196 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,077 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 2 ราย และผู้บาดเจ็บ 1 ราย ที่จันทบุรี ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ ในพื้นที่ ดังนี้
1) จังหวัดกาฬสินธุ์ วันที่ 6 ก.ย. 66 เวลา 07.00 น. เกิดเหตุฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำาไหลหลากในพื้นที่ ม.1,2,12 ต.บัวขาว ต.นาไคร้ อ.กุฉินารายณ์ ม.6,7,12 ต.กุดสิมคุ้มใหม่ อ.เขาวง อยู่ระหว่างการจำรวจความเสียหาย โดย สนง.ปภ.จสนง.ปภ.จ.สาขากุฉินารายณ์ กฟภ. อำเภอ ทม.กุฉินารายณ์ อบต.บัวขาว ทต. กุดสิม ทต.กุดสิมคุ้มใหม่ จิตอาสา อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือขนย้าย สิ่งของประชาชน ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว
2) จังหวัดลำปาง วันที่ 5 ก.ย. 66 เวลา 19.00 น. เกิดเหตุฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ ม.1,2,5,6,7,9 ต.สันดอนแก้ว อ.แม่ทะ ม.1 ต.แม่ปะ ม.9,11 ต.นาโป่ง อ.เถิน ต.พระบาท อ. เมืองลำปาง บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 132 ครัวเรือน โดย สนง.ปภ.จ. สนง.ปภ.จ.สาขาเถิน กฟภ. อำเภอ อปท. หน่วยทหารในพื้นที่ จิตอาสา อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือ ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2566 เวลา 18.00 น. (สรุปสถานการณ์ช่วงวันที่ 6-7 กันยายน 2566)
จากสถานการณ์ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ยประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 6-7 ก.ย. 66 มีสถานการณ์ 4 จังหวัด ได้แก่ น่าน อุดรธานี นครพนม กาฬสินธุ์ รวม 7 อำเภอ 13 ตำบล 57 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 168 ครัวเรือน มีผู้สูญหาย 1 ราย ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลาย แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำทางการเกษตรบางแห่ง ดังนี้
1) จังหวัดน่าน วันที่ 7 ก.ย. 66 เวลา 05.00 น. เกิดฝนตกหนักมีน้ำไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ ต.บ่อสวก (ม.2,3,4,5,6,7,8,11,13) อ.เมืองน่าน ส่งผลให้ประชาชนได้รับผลกระทบ 10 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ 20 ไร่ สะพาน 2 แห่ง โดย สนง.ปภ.จ. อำเภอ อปท. อบต.บ่อสวก จิตอาสา อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสำรวจความเสียหาย และให้การช่วยเหลือเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว
2) จังหวัดอุดรธานี วันที่ 6 ก.ย. 66 เวลา 20.00 น. เกิดฝนตกหนักมีน้ำไหลหลากในพื้นที่ ต.โคกกลาง (ม.5,7) อ.โนนสะอาด ส่งผลให้ประชาชนได้รับผลกระทบ 145 ครัวเรือน คอสะพานเสียหาย 1 แห่ง โดย สนง.ปภ.จ. อำเภอ จนท.ตร. อปท. จิตอาสา อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสำรวจ ความเสียหาย เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่และอำนวยความสะดวกด้านการจราจร ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำทางการเกษตร
3) จังหวัดนครพนม วันที่ 6 ก.ย. 66 เวลา 18.00 น. เกิดฝนตกหนักมีน้ำท่วมขังในพื้นที่เทศบาลเมืองนครพนม อ.เมืองนครพนม ส่งผลให้ประชาชนได้รับผลกระทบ 3 ครัวเรือน มีน้ำท่วมขังผิวการจราจรบนถนนในพื้นที่เขต ทม.นครพนม โดย สนง.ปภ.จ. อำเภอ จนท.ตร. อปท. จิตอาสา อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องเข้าสำรวจความเสียหาย เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ และอำนวยความสะดวกด้านการจราจร ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว เส้นทางการจราจรสามารถใช้ได้ทุกเส้นทาง
4) จังหวัดกาฬสินธุ์ วันที่ 6 ก.ย. 66 เวลา 08.00 น. เกิดฝนตกหนักมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ ต.บัวขาว (ม.1-16) ต.เหล่าใหญ่ (ม.9) ต.แจนแลน (ม.1) ต.กุดหว้า (ม.3,4,6,10,12) อ.กุฉินารายณ์ ต.กุดสิมคุ้มใหม่ (ม.1,2,6, 7,9,10,11,12) ต.สงเปลือย (ม.1) ต.สระพังทอง (ม.2,4,5,6) ต.กุดสิม (ม.1,2,3,4,8,9) อ.เขาวง ต.ภูแล่นช้าง (ม.3,8) อ.นาคู ต.นิคมห้วยผึ้ง อ.ห้วยผึ้ง ส่งผลให้ประชาชนได้รับผลกระทบ 10 ครัวเรือน มีผู้สูญหาย 1 ราย (ชาย) น้ำท่วมขังผิวการจราจร บนถนนหมายเลข 12 ถนนหมายเลข 2046 บริเวณหน้าศูนย์โตโยต้า กาฬสินธุ์ สาขากุฉินารายณ์ และถนนสายบ้านเหล่าใหญ่-อบต.ไคนุ่น โดย สนง.ปภ.จ สนง.ปภ.สาขากุฉินารายณ์ อ าเภอ อปท. จิตอาสา อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสำรวจความเสียหาย เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ และอำนวยความสะดวกด้านการจราจร ปัจจุบัน สถานการณ์คลี่คลายแล้วแต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำทางการเกษตรและการจราจรสามารถใช้ได้ทุกเส้นทาง
เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2566 เวลา 18.00 น. (สรุปสถานการณ์ช่วงวันที่ 9-12 กันยายน 2566)
ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และอ่าวไทย เริ่มมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ท่าให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ทำให้เกิดน้่าท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำเอ่อล้นตลิ่ง ระหว่างวันที่ 9-12 ก.ย. 66 มีสถานการณ์ 11 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน พิษณุโลก เชียงราย เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ น่าน มุกดาหาร อุดรธานี ร้อยเอ็ด ปราจีนบุรี สตูล รวม 16 อำเภอ 38 ตำบล 140 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,300 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 2 ราย ที่แม่ฮ่องสอนและพิษณุโลก ปัจจุบันยังมีสถานการณ์ที่จังหวัดร้อยเอ็ด รวม 2 อำเภอ 8 ตำบล 48 หมู่บ้าน รายละเอียดดังนี้
ที่ จ.ร้อยเอ็ด วันที่ 9 ก.ย. 66 เวลา 15.30 น. เกิดฝนตกหนักน้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ ต.ศรีวิลัย ต.วังหลวง ต.นางาม ต.เหล่าน้อย ต.บึงเกลือ อ.เสลภูมิ ต.โคกกกม่วง ต.สระนกแก้ว ต.วังสามัคคี อ.โพนทอง ส่งผลให้ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,799 ครัวเรือน ถนน 3 แห่ง วัด 2 แห่ง โดย ผวจ. เป็นประธานในการมอบหญ้า อาหารสัตว์พระราชทาน 200 ก้อน และมอบถุงยังชีพ 116 ชุด ม.2 บ้านโนนเชียงหวางและบ้านหนองบุ่ง ต.โคกกกม่วง อ.โพนทอง สนง.ปภ.จ.อำเภอ มทบ.27 อปท. จิตอาสา อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือ ทั้งนี้ได้สนับสนุนกำลังพล 25 คน เรือท้องแบนพร้อมเครื่องยนต์ 3 ล่า เรือยางพร้อมเครื่องยนต์ 1 ลำ เพื่อขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง รวมทั้งพบปะผู้นำชุมชนในพื้นที่เพื่อรับทราบถึงความเดือดร้อน ของประชาชนและมอบถุงยังชีพ ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2566 เวลา 18.00 น. (สรุปสถานการณ์ช่วงวันที่ 13-25 กันยายน 2566)
จากสถานการณ์ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออก เฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลาง พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ท าให้ประเทศไทย มีฝนตกหนักบางพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกระหว่างวันที่ 13-25 ก.ย. 66 มีสถานการณ์ในพื้นที่ 28 จังหวัด 98 อำเภอ 252 ตำบล 904 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 12,151 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 1 ราย สูญหาย 1ราย ที่จังหวัดจันทบุรี ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ 3 จังหวัด 17 อำเภอ 69 ตำบล 299 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,997 ครัวเรือน ดังนี้
1) จังหวัดยโสธร วันที่ 16 ก.ย. 66 เวลา 15.30 น. เกิดฝนตกหนัก น้ำท่วมในพื้นที่ ต.โพธิ์ไทร อ.ป่าติ้ว ต.ค้อเหนือ อ.เมืองยโสธร อ.เลิงนกทา ต.กุดน้ำใส อ.ค้อวัง ส่งผลให้ประชาชนได้รับผลกระทบ 40 ครัวเรือน โดย สนง.ปภ.จ. อำเภอ อปท. จิตอาสา อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสำรวจ ความเสียหายและให้การช่วยเหลือ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดยโสธร พร้อมสถานีกาชาดที่ 7 อุบลราชธานี นำชุดธารน้ำใจมอบให้ประชาชนในพื้นที่ อ.ป่าติ้ว 311 ชุด เรือท้องแบน 4 ลำ เรือไฟเบอร์กลาสสีฟ้า 5 ลำ หญ้าแห้งอัดฟ่อน 30,000 กก. เวชภัณฑ์และอาหารเสริม 242 ชุด ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
2) จังหวัดอุดรธานี วันที่ 15 ก.ย. 66 เกิดสถานการณ์ฝนตกหนักมีน้ำท่วมในพื้นที่ 16 อำเภอ 82 ตำบล 405 หมู่บ้าน ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ เมืองอุดรธานี ศรีธาตุ เพ็ญ วังสามหมอ พิบูลย์รักษ์ รวม 25 ตำบล 116 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,468 ครัวเรือน โดย ผวจ. มอบถุงยังชีพพระราชทาน มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในพื้นที่ ต.นากว้าง อ.เมืองฯ จำนวน 75 ครัวเรือน ศูนย์ ปภ.เขต 14 สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ ระยะไกล 3 เครื่อง รถขุด(แมงมุม) 1คัน เรือท้องแบน 2 ลำ เครื่องบังคับเรือ 4 เครื่อง รถขนย้าย 1 ชุด เครื่องสูบน้ำ 4 นิ้ว 1 เครื่อง ทหารจาก ททบ.24 เข้าขนย้ายสิ่งของ และร่วมแจกจ่ายถุงยังชีพชุดปฏิบัติงานจำนวน 1 ชุด 3วัน มูลนิธิส่งเสริมเมธาธรรม อุดรธานีและเครือข่าย เข้าแจกจ่ายถุงยังชีพ พร้อมสนับสนุนเรือกู้ภัยช่วยค้นหาคนที่ประสบปัญหา สนง.ปภ.จ. อำเภอ อปท. จิตอาสา อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสำรวจความเสียหาย และให้การช่วยเหลือ นำเรือท้องแบนพร้อมเครื่องยนต์ 2 ลำ รถปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยติดตั้งลิฟต์ 1 คัน ให้บริการรับ-ส่งประชาชนในการสัญจร ระดับน้ำลดลง
![](flood_SEP2023/dpm_25_2.png)
3) จังหวัดอุบลราชธานี วันที่ 13 ก.ย. 66 เวลา 13.30 น. เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำท่วมในพื้นที่ เทศบาลนครอุบลราชธานี ต.แจระแม อ.เมืองอุบลราชธานี ทม.วารินชำราบ อ.วารินชำราบ อ.ม่วงสามสิบ อ.เดชอุดม อ.ตระการพืชผล อ.เหล่าเสือโก้ก อ.ดอนมดแดง อ.เขื่องใน ส่งผลให้ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,489 ครัวเรือน โดยมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ผวจ. ศูนย์ ปภ. เขต 13 อุบลราชธานี สนง.ปภ.จ. สนง.ทรัพยากรภาค 11 โครงการชลประทานอุบลราชธานี อำเภอ มทบ.22 กองบิน 21 อปท. จิตอาสา อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือสนับสนุนเต็นท์ 105 หลัง ตู้สุขา 15 ตู้ ถังน้ำดื่ม 15 ถัง รถเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย 6คัน รถบรรทุก 6 ล้อ เครื่องสูบน้ำ น้ำดื่ม 500 ขวด กำลังพล 20 นาย จัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว 9 จุด 161 ครัวเรือน 567 คน ที่ อ.เมืองอุบลราชธานี 7จุด อ.วารินชำราบ 2 จุดและวันที่ 23 ก.ย. 66 ได้ทำการวางกระสอบทรายและติดตั้งเครื่องสูบน้ำท่วมขัง ขนาด 12 นิ้ว อัตราการสูบน้ำ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ณ ชุมชนท่ากอไผ่ ทม.วารินช าราบ ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น
รายงานประจำวันที่ 30 กันยายน 2566 เวลา 18.00 น. (สรุปสถานการณ์ช่วงวันที่ 26-29 กันยายน 2566)
จากสถานการณ์หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางจะเคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนบนตามแนวร่องมรสุม ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระหว่างวันที่ 26 -29 กันยายน 2566 มีพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม มีสถานการณ์ 26 จังหวัด ได้แก่ เพชรบูรณ์ แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ ลำพูน เชียงใหม่ ลำปาง สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร แพร่ เลย ชัยภูมิ นครราชสีมา อุดรธานี ยโสธร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น อุบลราชธานีฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ตราด กาญจนบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สตูล และยะลา รวม 87 อำเภอ 260 ตำบล 1,073 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 18,957 ครัวเรือน ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ 13 จังหวัด 62 อำเภอ 205 ตำบล 902 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 16,825 ครัวเรือน ดังนี้
1) จังหวัดเพชรบูรณ์ วันที่ 29 ก.ย. 66 เวลา 16.00 น. แม่น้ำป่าสักและลำน้ำพุงเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่บริเวณซอยวัดศรีสะอาด หมู่ 2 ตำบลตาลเดี่ยว อำเภอหล่มสัก บริเวณวัดทรายทอง ชุมชนบ้านห้วยมะเขือ หมู่ 5 ตำบลนาแซง อำเภอหล่มเก่า อยู่ระหว่างการสำรวจความเสียหาย โดย สนง.ปภ.จังหวัด อำเภอ อปท. จิตอาสา อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือ ปัจจุบันระดับน้ำทรงตัว
2) จังหวัดแม่ฮ่องสอน วันที่ 29 ก.ย. 66 เวลา 13.30 น. เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ ตำบลแม่ลาน้อย อำเภอแม่ลาน้อย ส่งผลให้สะพาน 2 แห่ง ประกอบด้วย สะพานข้ามน้ำลา หมู่ 1 บ้านแม่ลาน้อยและสะพานข้ามน้ำลา หมู่ 2 บ้านทุ่งสารภี เสียหาย ไม่สามารถสัญจรผ่านได้และทำให้ดินสไลด์ ตำบลแม่เหาะ อำเภอแม่สะเรียง บริเวณบ้านป่าจี้ ทำให้ต้นไม้และเสาไฟฟ้า ล้มทับรถและขวางถนนบนถนนทางหลวงหมายเลข 108 กม. 177 รถสามารถสัญจรได้ตามปกติแล้ว โดย สนง.ปภ. จังหวัด อำเภอ อปท. จิตอาสา อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสำรวจ ความเสียหายและให้การช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกด้านการจราจร ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
3) จังหวัดอุตรดิตถ์ วันที่ 29 ก.ย. 66 เวลา 06.00 น. เกิดฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ ตำบลด่านแม่คำมัน ตำบลฝายหลวง ตำบลไผ่ล้อม อำเภอลับแล อยู่ระหว่างการสำรวจความเสียหาย และเกิดน้ำท่วมถนน หมายเลข 11 อุตรดิตถ์-พิษณุโลก กม. 314 (แยกทางเข้าบ้านเขาตอง) รถสามารถสัญจรได้ตามปกติแล้ว โดย สนง. ปภ. จังหวัด อำเภอ อปท. จิตอาสา อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสำรวจ ความเสียหายและให้การช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกด้านการจราจร ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
4) จังหวัดลำพูน วันที่ 29 ก.ย. 66 เวลา 05.00 น. เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมขัง ในพื้นที่ตำบลเหมืองจี้ อำเภอเมืองฯ ตำบลเหล่ายาว ตำบลป่าพลู อำเภอบ้านโฮ่ง ตำบลทุ่งหัวช้าง ตำบลตะเคียนปม ตำบลบ้านปวง อำเภอทุ่งหัวช้าง ตำบลท่าสบเส้า ตำบลทากาศ ตำบลทาขุมเงิน อำเภอแม่ทา ตำบลลี้ ตำบลแม่ตืน อำเภอลี้ ตำบลท่าตุ้ม ตำบลน้ำดิบ อำเภอป่าซาง ส่งผลให้บ้านเรือน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1 ครัวเรือน โดย สนง.ปภ.จังหวัดสนง.ปภ.สาขาเถิน อำเภอ อปท. จิตอาสา อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือ ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
5) จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 29 ก.ย. 66 เวลา 03.00 น. เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมขัง ในพื้นที่ ตำบลอมก๋อย ตำบลม่อนจอง อำเภออมก๋อย ตำบลห้วยแก้ว อำเภอแม่ออน ตำบลสบเตี๊ยะ ตำบลจอมทอง ตำบลดอยแก้ว ตำบลบ้านหลวง ตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง ตำบลหายยา อำเภอเมืองฯ ตำบลทุ่งตะโตก อำเภอสันป่าตอง ตำบลริมใต้ อำเภอแม่ริม ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว อำเภอแม่แจ่ม ส่งผลให้บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 100 ครัวเรือน และเกิดน้ำท่วมถนนหมายเลข 108 ฮอด-แม่สะเรียง กม. 4-9 อำเภอฮอด รถสามารถสัญจรผ่านได้ โดย สนง. ปภ. จังหวัด อำเภอ อปท. จิตอาสา อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือเข้าอำนวยความสะดวก ด้านการจราจร ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
6) จังหวัดลำปาง วันที่ 29 ก.ย. 66 เวลา 03.00 น. เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ ตำบลแม่มอก ตำบลแม่ปะ ตำบลเวียงมอก ตำบลล้อมแรด ตำบลแม่ถอด ตำบลนาโป่ง อำเภอเถิน ตำบลนาแส่ง ตำบลนาแก้ว อำเภอเกาะคา ตำบลสบปราบ ตำบลนายาง ตำบลสมัย ตำบลแม่กัวะ อำเภอสบปราบ ตำบลเสริมกลาง ตำบลเสริมขวา ตำบลเสริมซ้าย ตำบลทุ่งงาม อำเภอเสริมงาม อยู่ระหว่าง การสำรวจความเสียหาย โดย สนง. ปภ. จังหวัดสนง.ปภ.สาขาเถิน อำเภอ อปท. จิตอาสา อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือ ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
7) จังหวัดแพร่ วันที่ 29 ก.ย. 66 เวลา 02.00 น. เกิดฝนตกหนักน้ำท่วมในพื้นที่ ตำบลสรอย ตำบลแม่พุง ตำบลแม่ป้าก ตำบลป่าสัก อำเภอวังชิ้น ตำบลบ้านปิน ตำบลต้าผามอก ตำบลแม่ลานนา อำเภอลอง ส่งผลให้บ้านเรือนประชาชน ได้รับผลกระทบ 427 ครัวเรือน โดย สนง.ปภ. จังหวัด อำเภอ อปท. จิตอาสา อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเข้าสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือ ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
8) จังหวัดฉะเชิงเทรา วันที่ 29 ก.ย. 66 เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำเอ่อล้นพื้นที่ ตำบลบึงน้ำรักษ์ ตำบลโยธะกา อำเภอบางน้ำเปรี้ยว ส่งผลให้บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 232 ครัวเรือน โดย สนง.ปภ.จังหวัดอำเภอ อปท. จิตอาสา อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือ ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
9) จังหวัดตาก วันที่ 28 ก.ย. 66 เวลา 10.00 น. เกิดฝนตกหนักน้ำท่วมในพื้นที่ ตำบลโป่งแดงตำบลวังประจบ อำเภอเมืองฯ ตำบลวังจันทร์ ตำบลยกกระบัตร ตำบลวังหมัน อำเภอสามเงา ตำบลด่านแม่ละเมา ตำบลแม่กาษา ตำบลมหาวัน ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด ตำบลช่องแคบ ตำบลคีรีราษฎร์ ตำบลพบพระ ตำบลวาเล่ย์ อำเภอพบพระ ตำบลสมอโคน ตำบลแม่สลิด ตำบลเกาะตะเภา อำเภอบ้านตาก ส่งผลให้บ้านเรือน ประชาชนได้รับผลกระทบ 647 ครัวเรือน โดย สนง.ปภ.จังหวัดอำเภอ อปท. จิตอาสา อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือ ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
10) จังหวัดกาฬสินธุ์ วันที่ 28 ก.ย. 66 เวลา 12.00 น. สถานการณ์น้ำเอ่อล้นจากเขื่อนลำปาวในพื้นที่อำเภอเมืองฯ อำเภอร่องคำ อำเภอฆ้องชัย อำเภอยางตลาด อำเภอกมลาไสย อำเภอสามชัย อำเภอท่าคันโท อำเภอหนองกุงศรี อำเภอสหัสขันธ์ ส่งผลให้บ้านเรือน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,573 ครัวเรือน โดย สนง.ปภ.จังหวัดอำเภอ อปท. จิตอาสา อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือ ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น
11) จังหวัดสุโขทัย วันที่ 27 ก.ย. 66 เวลา 18.00 น. เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ ตำบลป่างิ้ว ตำบลบ้านตึก ตำบลดงคู่ ตำบลท่าชัย ตำบลแม่สิน ตำบลแม่ส่า ตำบลหาดเสี้ยว ตำบลบ้านแก่ง ตำบลสารจิตร ตำบลหนองอ้อ อำเภอศรีสัชนาลัย ตำบลป่ากุมเกาะ ตำบลคลองยาง ตำบลในเมือง ตำบลย่านยาว ตำบลคลองกระจง ตำบลเมืองบางยม ตำบลวังไม้ขอน ตำบลนาทุ่ง อำเภอสวรรคโลก ตำบลกกแรต ตำบลไกรนอก อำเภอกงไกรลาศ ตำบลตลิ่งชัน ตำบลวังน้ำขาว ตำบลลานหอย ตำบลบ้านด่าน ตำบลวังตะคร้อ ตำบลหนองหญ้าปล้อง ตำบลวังลึก อำเภอบ้านด่านลานหอย ตำบลราวต้นจันทน์ ตำบลวังใหญ่ตำบลคลองตาล ตำบลวังทอง ตำบลบ้านนา อำเภอศรีสำโรง ตำบลกลางดง ตำบลบ้านไหมไชยมงคล อำเภอทุ่งเสลี่ยม ตำบลคลองมะพลับ อำเภอศรีนคร ตำบลนาเชิงคีรี อำเภอคีรีมาศ ส่งผลให้บ้านเรือนประชาชน ได้รับผลกระทบ 1,233 ครัวเรือน โดย สนง.ปภ.จังหวัด อำเภอ อปท. จิตอาสา อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิพร้อม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
12) จังหวัดยโสธร วันที่ 16 ก.ย. 66 เวลา 15.30 น. เกิดฝนตกหนักน้ำท่วมในพื้นที่ ตำบลโพธิ์ไทร อำเภอป่าติ้ว ตำบลค้อเหนือ อำเภอเมืองฯ ตำบลกุดน้ำใส อำเภอค้อวัง ส่งผลให้ประชาชนได้รับผลกระทบ 40 ครัวเรือน โดย สนง.ปภ.จังหวัดอำเภอ อปท. จิตอาสา อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสำรวจความเสียหาย และให้การช่วยเหลือ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดยโสธร พร้อมสถานีกาชาดที่ 7 อุบลราชธานี นำชุดธารน้ำใจ มอบให้ประชาชนในพื้นที่ อำเภอป่าติ้ว 311 ชุด เรือท้องแบน 4 ล่า เรือไฟเบอร์กลาสสีฟ้า 5 ลำ หญ้าแห้งอัดฟ่อน 30,000 กก. เวชภัณฑ์และอาหารเสริม 242 ชุด ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
13) จังหวัดอุบลราชธานี วันที่ 13 ก.ย. 66 เวลา 13.30 น. เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำท่วมในพื้นที่ ทน. อุบลราชธานี ตำบลแจระแม อำเภอเมืองฯ ทหมู่บ้านวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอเดชอุดม อำเภอตระการพืชผล อำเภอเหล่าเสือโก้ก อำเภอดอนมดแดง อำเภอเขื่องใน อำเภอตาลสุม ส่งผลให้ประชาชนได้รับผลกระทบ 10,572 ครัวเรือน โดย มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ผวจ. ศูนย์ ปภ.เขต 13 อุบลราชธานีสนง.ปภ.จังหวัดสนง.ทรัพยากรภาค 11 โครงการชลประทานอุบลราชธานี อำเภอ มทบ.22 กองบิน 21 อปท. จิตอาสา อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสำรวจความเสียหาย และให้การช่วยเหลือสนับสนุนเต็นท์ 105 หลัง ตู้สุขา 15 ตู้ ถังน้ำดื่ม 15 ถัง รถเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย 6 คัน รถบรรทุก 6 ล้อ เครื่องสูบน้ำ น้ำดื่ม 500 ขวด กำลังพล 20 นาย จัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว 15 จุด 301 ครัวเรือน 1,079 คน ประกอบด้วย อำเภอเมืองฯ 11 จุด อำเภอวารินชำราบ 4 จุด และวันที่ 23 ก.ย. 66 ได้ทำการวางกระสอบทรายและติดตั้งเครื่องสูบน้ำท่วมขัง ขนาด 12 นิ้ว อัตราการสูบน้ำ 1,000 ลูกบาศก์เมตร ต่อชั่วโมง ณ ชุมชนท่ากอไผ่ ทม. วารินชำราบ ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น