อัปเดตสถานการณ์ฝนตกหนัก พื้นที่ จ.สตูล ฝนที่ตกหนักอย่างต่อเนื่อง ทำให้น้ำทะลักเข้าท่วม อ.ละงู บ้านเรือนประชาชนกว่า 2,500 ครัวเรือนจมบาดาล
ล่าสุดที่ อ.ละงู จ.สตูล ได้เกิดอุทกภัยขึ้นในพื้นที่ จากปริมาณน้ำฝนที่ตกหนักสะสมมวลน้ำได้ ไหลเข้าท่วมกระจายในพื้นที่ ต.ปากน้ำ , ต.เขาขาว , ต.น้ำผุด , ต.ละงู อ.ละงู 10 หมู่บ้านที่ติดในลำคลอง ขณะนี้กว่า 2,500 ครัวเรือน ได้รับความเดือดร้อน
วันนี้ (3 ก.ย. 66) จากกรณี กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือน "ฝนตกหนักถึงหนักมาก" มีผลกระทบจนถึงวันที่
6 กันยายน 2566 ส่งผลให้หลายพื้นที่มีฝนหนักตกลงมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาตใต้
นอกจากนี้ น้ำยังท่วมขังพืชสวน สวนยางพารา และบ้านเรือน รวมถึงบางเส้นทาง ระดับน้ำสูงถึงเอว ทำให้ต้องเร่งนำเรือท้องแบน เข้ามอบให้ให้ชาวบ้าน เพื่อใช้สัญจรไปมา
นายธีรพงษ์ คุ่มเคี่ยม นายอำเภอละงู , นายจำรัส ฮ่องสาย นายก อบต.ละงู พร้อมปลัดป้องกัน กำนันผู้ใหญ่บ้าน ลงสำรวจความเสียหาย และความเดือดร้อนชาวบ้านใน
ต.ละงู พบเดือดร้อนเกือบทั้งหมด ที่อาศัยติดกับลำคลอง ปริมาณน้ำฝน 150 มิลลิเมตร คาดว่า ถ้าฝนไม่ตกซ้ำ น้ำจะสามารถระบายได้หมด ประกอบกับขณะนี้น้ำทะเลหนุน
ขณะที่ชาวบ้าน ม.4 บ้านตะโล๊ะใส ต.ปากน้ำ ถึงกับร้องทุกข์ขอความช่วยเหลือ หลังน้ำท่วมบ้าน และรีสอร์ท ที่สร้างไว้ กำลังจะจมน้ำ เพราะการก่อสร้างของชลประทาน ทั้งที่ไม่เคยน้ำท่วมมาก่อน
พังงา ล่าสุดน้ำได้ไหลเข้าท่วมอำเภอตะกั่วป่าในพื้นที่อีกครั้ง บางพื้นที่น้ำท่วมแช่ขังอยู่ ชาวบ้านบอกว่า น้ำท่วมครั้งนี้เป็นระลอกที่ 5 แล้ว ต.บางไทรอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มถูกน้ำท่วมแช่ขัง สูงกว่า 1เมตร รวมทั้งสวนปาล์ม สวนผลไม้ โดยชาวบ้านต้องใช้เรือสัญจรเข้า ออกด้วยความยากลำบาก
เมื่อวันที่ 4 ก.ย.66 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสืบเนื่องจากน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดพังงา โดย
เฉพาะอำเภอตะกั่วป่าพื้นที่ ต.โคกเคียน ต.บางไทร หลังจากเมื่อวานนี้น้ำได้ลดแห้งเข้าสู่ปกติแล้ว ชาวบ้านได้ทำความสะอาดบ้านเรือน ล่าสุดเมื่อเช้าวันนี้น้ำได้ไหลเข้าท่วมพื้นที่เดิมอีก ชาวบ้านบอกว่า น้ำท่วมครั้งนี้เป็นระลอกที่ 5แล้วโดยเฉพาะบ้านที่ปลูกในที่ราบลุ่ม ประชาชนในพื้นที่ หมู่ที่ 4 -5 ตำบล โคกเคียน อำเภอตะกั่วป่า น้ำได้ป่าได้ไหลเข้าท่วมบ้านและสวนปาล์ม อีกพื้นที่ ตำบลบางไทร หมู่ที่1,2 อำเภอ
ตะกั่วป่า ที่วัดศรีนิคม หัวสะพานน้ำ ได้เพิ่มระดับขึ้นอีกครั้งบริเวณศาลาภายในวัดและหน้าอุโบสถ์ ระดับน้ำสูงขึ้นเรื่อยๆและชาวบ้านหมู่ที่ 2 ต.บางไทรอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มถูกน้ำท่วมแช่ขัง สูงกว่า1เมตร รวมทั้งสวนปาล์ม สวนผลไม้ โดยชาวบ้านต้องใช้เรือสัญจรเข้า ออกด้วยความยากลำบาก
เพชรบูรณ์เร่งป้องน้ำท่วมเขตเทศบาลหล่มสัก หลังเกิดฝนตกหนักต่อเนื่องตั้งแต่คืนวาน น้ำท่วมฉับพลันเข้าท่วมบ้านเรือน เสียหาย 2 ตำบล 8 หมู่บ้าน 139 หลังคาเรือน พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ 290 ไร่ ถนนเสียหาย 5 สาย
วันที่ 16 กันยายน 2566 นายกิตติ พั้วช่วย นายกเทศมนตรีเมืองหล่มสัก มอบหมายเจ้าหน้าที่งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ติดตั้งเครื่องสูบน้ำบริเวณชุมชนบ้านไร่ และวางกระสอบทราย บริเวณสะพานบ้านใหม่ ชุมชนวัดไพรสณฑ์ศักดาราม และข้างศาลเจ้าปุงเฒ่ากงม่าเพื่อเตรียมการป้องกันน้ำท่วมในเขตเทศบาลเมืองหล่มสัก
รายงานข่าวจาก ปภ.เพชรบูรณ์ รายงานสถานการณ์อุทกภัย (น้ำท่วมฉับพลัน) ในพื้นที่ อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ ตั้งแต่เมื่อคืนวานนี้ (15 ก.ย. 2566 ) ได้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ อ.วิเชียรบุรี โดยมีปริมาณน้ำฝนวัดได้ 133-200 มม. ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน ทรัพย์สินและพืชผลทางการ
เกษตรได้รับความเสียหาย เบื้องต้นมีพื้นที่ได้รับผลกระทบจำนวน 2 ตำบล 8 หมู่บ้าน 139 หลังคาเรือน พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ 290 ไร่ ถนนเสียหาย 5 สาย รายละเอียด ดังนี้
1.ตำบลยางสาว จำนวน 7 หมู่บ้าน
- หมู่ที่ 1 บ้านยางสาว บ้านเรือนได้รับผลกระทบประมาณ 30 หลังคาเรือน ถนนภายในหมู่บ้านได้รับผลกระทบ จำนวน 2 สาย
- หมู่ที่ 2 บ้านโนนสง่า พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบประมาณ 150 ไร่
- หมู่ที่ 4 บ้านเขาสูง บ้านเรือนได้รับผลกระทบประมาณ 5 หลังคาเรือน พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบประมาณ 10 ไร่ ถนนภายในหมู่บ้านได้รับผลกระทบ 1 สาย
- หมู่ที่ 6 บ้านซับกระโซ่ บ้านเรือนได้รับผลกระทบประมาณ 6 หลังคาเรือน
- หมู่ที่ 7 บ้านน้ำอ้อม บ้านเรือนได้รับความเสียหายประมาณ 5 หลังคาเรือน ถนนทางการเกษตรได้รับผลกระทบ 1 สาย
- หมู่ที่ 10 บ้านโนนสง่า บ้านเรือนได้รับผล
กระทบประมาณ 80 หลังคาเรือน พื้นที่การเกษตรประมาณ 20 ไร่
- หมู่ที่ 14 บ้านซับผุด พื้นที่ทางการเกษตรได้รับผลกระทบประมาณ 10 ไร่ ถนนภายในหมู่บ้านได้รับผลกระทบ 1 สาย
2.ตำบลพุขาม จำนวน 1 หมู่บ้าน
หมู่ที่ 10 บ้านหินดาด บ้านเรือนได้รับผลกระทบประมาณ 13 หลังคาเรือน
ปัจจุบันระดับน้ำได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง และเข้าสู่สภาวะปกติแล้วในบางพื้นที่
ทั้งนี้ ปภ.ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้าช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัย พร้อมทั้งให้กำนันและผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่แจ้งเตือนประชาชนให้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ อาทิ ไลน์กลุ่ม เฟซบุ๊ก หอกระจายข่าวของหมู่บ้าน เพื่อเตรียมรับมือสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น หากยังมีฝนตกหนักต่อเนื่องในพื้นที่
ปภ.สุโขทัย รายงานสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่สุโขทัย หลังฝนตกหนักต่อเนื่องในพื้นที่ ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมและไฟฟ้าดับในหลายจุด
ปภ.สุโขทัย รายงานสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่สุโขทัย สืบเนื่องจากฝนตกหนักและต่อเนื่องในพื้นที่ภาคเหนือในคืนวันที่ 17 กันยายน 2566 ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมและไฟฟ้าดับในหลายจุดของ จ.สุโขทัย ตั้งแต่เวลา 20.00 น. เป็นต้นมา สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุโขทัย รายงานพื้นที้ได้รับผลกระทบและการให้ความช่วยเหลือ ดังนี้
พื้นที่ได้รับผลกระทบเบื้องต้น จำนวน 3 อำเภอ ได้แก่
1. อำเภอเมืองสุโขทัย มีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรในหลายพื้นที่ประกอบด้วย เขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี ตำบลบ้านกล้วย ตำบลปากพระ ตำบลยางซ้าย ตำบลปากแคว ขณะนี้อยู่ระหว่างการเร่งดำเนินการระบาย/สูบน้ำออกโดย อปท.ในพื้นที่
2. อำเภอศรีสำโรง เขตเทศบาลตำบลศรีสำโรง และพื้นที่บางส่วนของอำเภอศรีสำโรงเกิดน้ำท่วมขัง น้ำไม่สามารถระบายได้ทัน
3. อำเภอกงไกรลาศ เขตเทศบาลตำบลกงไกรลาศ เกิดน้ำท่วมขัง น้ำไม่สามารถระบายได้ทัน
สำหรับการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำในพื้นที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการระบาย/สูบน้ำออก โดยในบางจุด สถานการณ์ได้เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว อย่างไรก็ตาม สำหรับพื้นที่อำเภอเมืองสุโขทัย อำเภอกงไกรลาศ อำเภอคีรีมาศ และอำเภอทุ่งเสลี่ยม ยังอยู่ในระหว่างการเฝ้าระวังสถานการณ์ หากไม่มีฝนตกหรือปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น คาดว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ภายใน 1-2 วัน
ชาวนาที่บ้านยางกระเดา ต.ท่าเมือง อ.ดอนมดแดง จ.อุบลราชธานี เผย ลำน้ำเซบกเอ่อล้นตลิ่งไหลท่วมพื้นที่นากว่า 1 พันไร่ คาดว่าจะท่วมนานกว่า 2 สัปดาห์ ทำให้พื้นที่นาเสียหายทั้งหมด ขณะที่แม่น้ำมูลห่างตลิ่งแค่ 30 ซม. เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวนาบ้านยางกระเดา ต.ท่าเมือง อ.ดอนมดแดง จ.อุบลราชธานี สำรวจพื้นที่นากว่า 4 ไร่ของตนเอง ซึ่งถูกน้ำจาก
ลำเซบก ลำน้ำสาขาของแม่น้ำมูลที่น้ำไหลท่วมสูงประมาณ 1 เมตร นายเสาร์ ตุละพิภาค เจ้าของนา กล่าวว่า เมื่อวานที่นายังไม่ถูกน้ำท่วม แต่พอรุ่งเช้ามีน้ำจากลำน้ำเซบกที่เป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำมูลไหลเข้าท่วมแล้ว นอกจากที่นาของตนถูกน้ำท่วมแล้ว ยังมีที่นาของเพื่อนบ้านรวมกันกว่า 1 พันไร่ ถูกน้ำลำเซบกล้นตลิ่งไหลท่วมด้วย และคาดว่าระดับน้ำจะไหลท่วมอยู่ไม่น้อยกว่า 2
สัปดาห์ เหมือนกับปี 2565 ซึ่งนาข้าวของตนและเพื่อนบ้านเสียหายจากน้ำท่วมทั้งหมด สำหรับระดับน้ำแม่น้ำมูลบ่ายวันนี้ มีน้ำเพิ่มขึ้น 13 เซนติเมตร ทำให้มีน้ำสูง 6.70 เมตร และห่างจากตลิ่งเพียง 30 เซนติเมตร โดยน้ำมีอัตราเพิ่มขึ้นแบบเริ่มชะลอตัว
วันที่ 19 กันยายน 2566 จากฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องทั้งกลางวันและกลางคืนในระยะนี้ ติดต่อกันมา2-3 วัน ส่งผลทำให้แม่น้ำสายต่างๆ ในพื้นที่ จ.เชียงราย เพิ่มปริมาณสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงน้ำจากแม่น้ำลาว ซึ่งมีต้นน้ำมาจากดอยนางแก้ว รอยต่อระหว่าง จ.เชียงใหม่ กับ จ.เชียงราย ที่ได้เพิ่มปริมาณสูงขึ้นจนเต็มตลิ่ง และบางจุดได้เอ่อล้นตลิ่ง เช่น ที่บ้านป่าก่อดำเหนือ หมู่ 9 บ้านป่าก่อดำ หมู่ 12 และบ้านต้นม่วง หมู่ 3 ในเบื้องต้นพบมีบ้านเรือนของราษฎรถูกน้ำท่วมขังประมาณ 20 หลัง โดยระดับน้ำสูงประมาณ 20-50 ซม.
อย่างไรก็ตามล่าสุดสถานการณ์น้ำได้เริ่มลดระดับลง โดยเหลือน้ำท่วมในบ้านลุ่มต่ำบางหลัง ทำให้ชาวบ้านเริ่มทำความสะอาดบ้านเรือนของตัวเอง แต่พื้นที่ยังมีฝนตกลงมาอย่างเนื่อง ชาวบ้านจึงยังคงเก็บทรัพย์สินมีค่าไว้บนที่สูง เพื่อความปลอดภัยและเฝ้าระวังน้ำตลอด 24 ชั่วโมง
ว่าที่ ร.ต.ดำรงศักดิ์ ขวัญชัย นายกเทศมนตรีตำบลป่าก่อดำ กล่าวว่า พื้นที่ป่าก่อดำเป็นพื้นที่ลุ่มและมีที่อยู่อาศัยติดลำน้ำลาว โดยแม่น้ำลาวเพิ่มระดับสูงขึ้น บ้านเรือนมักจะถูกน้ำท่วมประจำทุกปี ซึ่งพื้นที่
ประสบภัย ก็อยู่ริมฝั่งแม่น้ำลาว ในเบื้องต้นทางเทศบาลฯ ได้ดำเนินการสำรวจผู้ประสบภัย พร้อมกับให้การช่วยเหลือ โดยการช่วยขนย้ายทรัพย์สินมีค่าไว้บนพื้นที่สูง ให้การช่วยดูแลด้านความเป็นอยู่และความปลอดภัย หากปริมาณน้ำลาวเพิ่มสูงขึ้นอีกก็จะจัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการช่วยเหลือในทันที
20 กันยายน 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์ฝนตกในจังหวัดเลย ตลอดทั้งอาทิตย์ที่ผ่านมาส่งผลให้ลำน้ำสาขาต่างๆ ได้ล้นตลิ่ง โดยเฉพาะแม่น้ำเลยเป็นแม่น้ำสายหลักของจังหวัดเลย ได้ไหลทะลักล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ทางการเกษตรและบ้านเรือนประชาชนหลายพื้นที่ รวมทั้งน้ำยังเข้าท่วมสถานที่ราชการ ในเขตเทศบาลเมืองเลยสนามกีฬากลาง
ล่าสุดสถานการณ์น้ำแม่น้ำเลยได้ลดระดับลง ในพื้นที่ อำเภอภูหลวง อำเภอวังสะพุง รวมทั้งเขตเทศบาลเมืองเลย แต่มวลน้ำยังคงสร้างความเสียหายในพื้นที่เขตอำเภอเมืองเลย โดยเฉพาะพื้นที่ของตำบลชัยพฤกษ์ที่มีบ้านอยู่ในที่ลุ่มต่ำ และใกล้ริมตลิ่งน้ำเลย หมู่บ้านบ้านก้างปลาบ้านนาบอน บ้านเรือนถูกน้ำท่วมกว่า 60 หลัง และถนนตรอกซอกซอยถูกตัดขาดการสัญจรไม่ได้
รวมทั้งพื้นที่ทางการเกษตร ไร่นาถูกน้ำท่วมขัง ได้รับความเสียหายหน่วยงานราชการ เทศบาลตำบลชัยพฤกษ์ ได้นำเจ้าหน้าที่ออกแจกจ่ายข้าวกล่อง ถุงยังชีพพร้อมกับออกสำรวจความเสียหายกับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบโดยทางจังหวัดเลย ได้ออกแจ้งเตือนให้ชาวบ้าน ตำบลธาตุ ตำบลปากตม อำเภอเชียงคาน เตรียมขนของขึ้นที่สูง รับมวลน้ำจากแม่น้ำเลยก่อนที่จะไหลลงน้ำโขงต่อไป
จิสด้าเปิดภาพถ่ายจากดาวเทียมไทยโชต น้ำท่วมร้อยเอ็ดกว่า 1 หมื่นไร่ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตร รวมถึงชุมชน และเส้นทางคมนาคม
น้ำท่วม 2566 วันนี้ (22 ก.ย.66) GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือจิสด้า เปิดเผยภาพถ่ายจากดาวเทียมไทยโชต ซึ่งบันทึกภาพเมื่อวันที่ 20 ก.ย.66 พบพื้นที่น้ำท่วมแล้วกว่า 100,000 ไร่ โดยปรากฏเป็น
พื้นที่โทนสีน้ำตาลสว่างของสองฝั่งแม่น้ำในเขต อำเภอโพนทอง อำเภออาจสามารถ และอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมในที่ลุ่มต่ำริมฝั่งแม่น้ำสายหลัก สายรองของพื้นที่โดยรอบ ซึ่งรวมถึงพื้นที่ชุมชน และเส้นทางคมนาคมบางส่วน
ทั้งนี้ GISTDA ได้ส่งต่อข้อมูลผลการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมเกี่ยวกับสถานการณ์ดังกล่าวไปยังหน่วยงานหลักที่
รับผิดชอบ เพื่อสนับสนุนการการวางแผน ติดตาม และประเมินความเสียหายในพื้นที่ต่อไป
สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมขังในช่วงนี้ GISTDA ได้วางแผนและปรับแผนรับสัญญาณดาวเทียม เพื่อวิเคราะห์และติดตามสถานการณ์ในพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมอย่างต่อเนื่อง
29 ก.ย.2566 - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ รายงานพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากฝนตกต่อเนื่องในช่วงนี้ ส่วนมากยังเป็นพื้นที่เสี่ยงเดิม บนดอยเจอหนัก โดยนายอารุณ ปินตา หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ รายงานว่า จากฝนที่ตกสะสมระยะนี้มีพื้นที่ได้รับผลกระทบโดยเฉพาะทางตอนใต้ของเมืองที่ อ.อมก๋อม, จอมทอง, ฮอด, แม่แจ่ม, สันป่าตองและเขตอำเภอเมือง ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบ จากการที่น้ำป่าไหลหลากลำน้ำลำห้วยล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนและพื้นที่
ทางการเกษตรบางอำเภอมีดินทรุดตัว ถนนถูกตัดขาดและมีต้นไม้หักโค่นล้มทับปิดถนนด้วย ส่วนในเขตเมืองมีปัญหาของน้ำท่วมขังในจุดที่หลุมต่ำโดยเฉพาะย่านชุมชนฟ้าใหม่ตลาดก้อมศรีปิงเมืองแต่การระบายก็ยังสามารถทำได้เนื่องจากฝนไม่ตกหนักจนเกินไประดับน้ำท่วมขังไม่สูงขณะนี้แจ้งทุกอำเภอให้เร่งสำรวจช่วยเหลือโดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อบรรเทาปัญหาให้กับชาวบ้าน
นอกจากนี้ยังแจ้งการใช้เส้นทางถนนสายที่มีความเสี่ยงภัยที่ผ่านหุบเขาทางลาดชัน ซึ่งพื้นที่เสี่ยงภัยที่ได้รับรายงานเบื้องต้น เช่น ถนนสายเชียงใหม่-แม่สะเรียง,ปาย,ฮอด,แม่แจ่ม,อมก๋อย,แม่แตง,เชียงดาว,ฝาง เพราะมีต้นไม้ล้มและหิน,ดินสไลด์ตกมาเป็นระยะๆ อาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
ส่วนลำน้ำที่มีปริมาณเพิ่มสูงเสี่ยงต่อน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมคือ น้ำแม่วาง, น้ำแม่กลาง, น้ำแม่ตื่น, น้ำแม่แจ่ม, แม่วิน, ลำน้ำขานและน้ำแม่แตง ส่วนน้ำปิงยังไม่เพิ่มในระดับวิกฤติ
ขณะที่ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือแจ้งว่า ช่วงนี้ยังมีฝนปกคลุมเชียงใหม่และภาคเหนือในปริมาณที่สูงถึงร้อยละ 80 จากร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือทำให้ภาคเหนือยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มโดยเฉพาะพื้นที่กลุ่มเมฆฝนปกคลุมจ.แม่ฮ่องสอน, เชียงใหม่, เชียงราย, ลำพูน, ลำปาง, พะเยา, น่าน, แพร่, ตาก และ จ.กำแพงเพชร
"แพร่" ฝนถล่ม-น้ำป่าทะลักหลากท่วมหลายพื้นที่ บ้าน-รถ-ถนนจม ทางรถไฟขาด ม้าเหล็กด่วนพิเศษตกรางพลิกตะแคงเกือบทั้งขบวน ทำเส้นทางสายเหนือชะงัก จนท.เร่งกู้-แจ้งเปลี่ยนเส้นทางเดินรถ
เมื่อวันที่ 30 ก.ย. 66 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จ.แพร่ เมื่อคืนที่ผ่านมา มีฝนตกลงมาอย่างหนักตลอดทั้งคืน ส่งผลทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากท่วมหลายพื้นที่ เช่น อ.เด่นชัย อ.ลอง อ.สูงเม่น และ อ.เมืองแพร่ ทำให้บ้านเรือนหลายหลังได้รับความเสียหาย ถนนหลายสายถูกน้ำท่วมขังส่งผลทำให้การจราจรติดขัด รถไม่สามารถขับผ่านสัญจรได้ตามปกติ เจ้าหน้าที่ต้องนำแผงกั้นจราจรมาปิดเส้นทางเอาไว้ เนื่องจากมีรถหลายคันที่ได้รับความเสียหายจากกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว โดยเฉพาะในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองแพร่ ล่าสุดระดับน้ำยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่กำลังเร่งให้ความช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่
จากการสอบถาม นางสุทินี ขาวดี อายุ 53 ปี ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เปิดเผยว่า ปีนี้น้ำมาเร็ว น้ำป่าไหลมาจากหลายที่ ชาวบ้านไม่ทันตั้งตัว ขนข้าวของเครื่องใช้หนีขึ้นที่สูงไม่ทัน ปกติทุกปีน้ำจะท่วมด้านนอก แต่ปีนี้น้ำเข้ามาภายในบ้านเลย หนักกว่าทุกปีที่เจอ นอกจากนี้ยังมีฝนตกลงมาตลอดอีก
นายประจักร์ จินดาจำรูญ นายอำเภอเด่นชัย กล่าวว่า สถานการณ์ล่าสุด น้ำเริ่มท่วมในพื้นที่บ้านห้วยกูด และกำลังจะมีมวลน้ำจากลำห้วยแม่พวกไหลมาสมทบอีก ซึ่งทางอำเภอได้แจ้งเตือนชาวบ้านไปแล้ว ซึ่งน้ำท่วมปีนี้ถือว่าหนักกว่าปีที่ผ่านมา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากเหตุการณ์ฝนตกหนักและน้ำท่วมในหลายพื้นที่ทางภาคเหนือ ล่าสุด เมื่อเวลา 05.48 น. วันที่ 30 ก.ย. 66 เพจรถไฟไทย แจ้งเหตุด่วนว่า รถไฟขบวน 13 รถด่วนพิเศษ กรุงเทพอภิวัฒน์-เชียงใหม่
ขณะทำขบวนถึง สทล.557/7-8 ระหว่างแก่งหลวง-บ้านปิน เกิดอุบัติเหตุตกรางพลิกตะแคง กีดขวางการเดินรถ เนื่องจากสาเหตุน้ำป่าไหลหลาก ทำให้ทางขาดยาว 20 เมตร ส่งผลทำให้ พขร. ชค. เจ้าหน้าที่รถไฟ ผู้โดยสาร ข.13 ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย แต่ไม่มีผู้เสียชีวิต
เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ จะเร่งทำการแก้ไขอย่างเร่งด่วน และจะมีการเปลี่ยนแผนการเดินรถ ดังนี้ 1. ขบวน 13 ใช้ดีเซลของขบวน 112 ลากจูงรถพ่วง ขบวน 13 ที่ไม่ตกรางกลับเด่นชัย จากนั้นขนถ่ายผู้โดยสารทางรถยนต์ จากเด่นชัย-เชียงใหม่ 2. ขบวน 51 ขนถ่ายผู้โดยสารทางรถยนต์ จากเด่นชัย-เชียงใหม่ 3. ขบวน 102 งดเดินจากเชียงใหม่-กรุงเทพอภิวัฒน์ 4. ขบวน 8 งดเดินจากเชียงใหม่-กรุงเทพอภิวัฒน์ รายละเอียดเพิ่มเติมจะแจ้งให้ทราบต่อไป