ข้อมูลจากภาพแผนที่อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาแสดงให้เห็นว่าพายุไต้ฝุ่น “ยางิ” (สัญลักษณ์ ) ได้เคลื่อนตัวอยู่บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 และเคลื่อนตัวอยู่บริเวณอ่าวตังเกี๋ยในวันที่ 7 กันยายน 2567 แล้วลดกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน (สัญลักษณ์
) หลังเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนาม จากนั้นได้สลายตัวเป็นหย่อม
ความกดอากาศต่ำ (สัญลักษณ์ )
ในวันที่ 9 กันยายน 2567 และได้เกิดร่องมรสุม (สัญลักษณ์
) พาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงวันที่ 9-13 กันยายน 2567 ร่องมรสุมได้พาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย และได้เลื่อนลงมา
พาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางในช่วงวันที่ 14-15 กันยายน 2567 ประกอบกับในช่วงเวลาเดียวกันมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ยังคงมีฝนตกหนักต่อเนื่องออกไปอีกแม้พายุจะสลายตัวไปแล้ว