ความเสียหาย
ที่มา : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในรายงานสถานการณ์อุทกภัย เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 ระบุว่าจากสถานการณ์ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่่าบริเวณตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีกำลังแรง ท่าให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ท่าให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้่าป่าไหลหลาก ส่งผลให้เกิดอุทกภัย โดยในช่วงวันที่ 24-31 กรกฎาคม 2567 ได้เกิดในพื้นที่ 6 จังหวัด ประกอบด้วย ตาก กาญจนบุรี จันทบุรี ตราด ระยอง ปราจีนบุรี รวม 28 อำเภอ 103 ตำบล 544 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 11,268 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิตเป็นหญิง 1 ราย ที่ จ.จันทบุรี และไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ณ วันที่รายงาน ยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด รวม 13 อำเภอ 51 ตำบล 263 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 6,061 ครัวเรือน


ในส่วนของ จ.จันทบุรี ช่วงวันที่ 27-30 กรกฎาคม 2567 ได้เกิดฝนตกต่อเนื่องและน้ำป่าไหลหลากดังนี้
1) อำเภอเมืองจันทบุรี ในพื้นที่ ต.ฉมัน ต.มะขาม ต.ท่าหลวง ต.วังแซ้ม อ.มะขาม ต.วังสพรรพรส ต.ตรอกนอง ต.บ่อ อ.ขลุง ต.ท่าช้าง ต.บางกะจะ ต.แสลง ต.จันทนิมิต
2) อำเภอนายายอาม ในพื้นที่ ต.สนามไชย ต.ช้างข้าม ต.วังใหม่ ต.นายายอาม ต.วังโตนด ต.กระแจะ
3) อำเภอเขาคิชฌกูฎ ในพื้นที่ ต.ชากไทย ต.พลวง
4) อำเภอแก่งหางแมว ในพื้นที่ ต.สามพี่น้อง
5) อำเภอท่าใหม่ ในพื้นที่ ต.สองพี่น้อง ต.ทุ่งเบญจา ต.เขาแก้ว ต.โขมง ต.ร่าพัน

เบื้องต้นส่งผลให้บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 3,695 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตร 16,853 ไร่ มีผู้เสียชีวิตเป็นหญิง 1 ราย โดย สนง.ปภ.จ. หน่วยทหารในพื้นที่ อ่าเภอ อปท. จิตอาสา อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งด่าเนินการให้การช่วยเหลือ ทั้งนี้ ศูนย์ ปภ.เขต 17 จันทบุรี สนับสนุนรถปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย 1 คัน รับถุงยังชีพ จ่านวน 100 ชุด เพื่อมอบถุงยังชีพ อาหาร น้่าดื่ม และด่าเนินการเร่งระบายน้่าออกจากพื้นที่ ณ วันที่รายงาน ระดับน้ำได้ลดลงแล้ว




ส่วนที่ จ.ตราด ระหว่างวันที่ 26-29 กรกฎาคม 2567 ได้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ดังนี้
1) อำเภอเขาสมิง ในพื้นที่ ต.สะตอ ต.เทพนิมิต ต.ประณีต ต.วังตะเคียน ต.ทุ่งนนทรี ต.เขาสมิง ต.แสนตุ้ง
2) อำเภอบ่อไร่ ในพื้นที่ ต.บ่อพลอย ต.นนทรีย์ ต.ช้างทูน ต.หนองบอน ต.ด่านชุมพล
3) อำเภอเมืองตราด ในพื้นที่ ต.หนองคันทรง ต.ห้วยแร้ง ต.วังกระแจะ ต.หนองโสน ต.ท่ากุ่ม

เบื้องต้นส่งผลให้บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 1,850 ครัวเรือน พื้นที่ทางการเกษตร 26,325 ไร่ เป็ด/ไก่ 37,000 ตัว สถานที่ราชการ 3 แห่ง เรือล่ม 5 ลำ ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต โดย ศูนย์ ปภ.เขต 17 จันทบุรี สนง.ปภ.จ. หน่วยทหารในพื้นที่ อ่าเภอ อปท. จิตอาสา อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งด่าเนินการให้การช่วยเหลือในเบื้องต้น และด่าเนินการเร่งระบายน้่าออกจากพื้นที่ วันที่ 30 กรกฎาคม 2567 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจพร้อมมอบถุงยังชีพแก่ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ ทต.เขาสมิง อ.เขาสมิง จ่านวน 100 ชุด ซึ่ง ณ วันที่รายงาน ระดับน้ำได้ลดลงแล้ว