กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้รายงานความเสียหายจากอุทกภัย เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2567 เวลา 18.00 น. ระบุว่าจากอิทธิพลของร่องมรสุมกำลังปานกลางที่พาดผ่านภาคเหนือตอนบนและตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่มีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้
และลมตะวันตกเฉียงใต้ในระดับบนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากเกิดขึ้นในหลายพื้นที่
โดยในช่วงวันที่ 16 สิงหาคมถึง 7 ตุลาคม 2567 มีสถานการณ์เกิดขึ้นในพื้นที่ 44 จังหวัด ประกอบด้วย เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก พะเยา น่าน ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานีกาฬสินธุ์หนองคาย นครพนม ขอนแก่น ชัยภูมิมหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์บึงกาฬ หนองบัวลำภูอุบลราชธานี ปราจีนบุรี สิงห์บุรี
สุพรรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม ปทุมธานี ระยอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต ยะลา นครศรีธรรมราช พังงา
ตรัง สตูล และสงขลา รวมทั้งสิ้น 268 อำเภอ 1,162 ตำบล 6,012 หมู่บ้าน บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 241,482 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิตจากอุทกภัย 29 ราย ประกอบด้วย เชียงราย 12 ราย เชียงใหม่ 2 ราย พะเยา 4 ราย ลำปาง 3 ราย น่าน 3 ราย แพร่ 2 ราย สุโขทัย 2 ราย สงขลา 1 ราย (ผู้เสียชีวิตอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริง)
นอกจากนี้มีผู้เสียชีวิตจากดินถล่ม 23 ราย ประกอบด้วย เชียงราย 4 ราย เชียงใหม่ 6 ราย ภูเก็ต 13 ราย รวมผู้เสียชีวิต 52 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 28 ราย ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 19 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ลำพูน ลำปาง ตาก พิษณุโลก นครสวรรค์สุโขทัย อุดรธานี กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ มหาสารคาม อุบลราชธานี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สงขลา รวมทั้งสิ้น 65 อำเภอ 325 ตำบล 1,556 หมู่บ้าน บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 66,202 ครัวเรือน รายละเอียดดังนี้

1) จ.เชียงราย วันที่ 10 กันยายน 2567 จากอิทธิพลร่องความกดอากาศต่ำที่สลายตัวจากพายุไต้ฝุ่นยางิส่งผลให้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ 17 ตำบล 80 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.แม่สาย อ.เมืองเชียงราย อ.แม่ลาว อ.เวียงป่าเป้า อ.เวียงชัย อ.เชียงแสน เบื้องต้นส่งผลให้บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 1,046 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 14 ราย (จากเหตุดินถล่ม อ.แม่ฟ้าหลวง 4 ราย และน้ำไหลหลาก อ.แม่ฟ้าหลวง 1 ราย อ.แม่สาย 8 ราย อ.เมืองเชียงราย 1 ราย) และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 ราย (จากเหตุดินถล่ม อ.แม่ฟ้าหลวง) โดย สนง.ปภ.จ. อำเภอ หน่วยทหารในพื้นที่ จนท.ตร. อปท. จิตอาสา อส. อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสำรวจความเสียหาย
และให้การช่วยเหลือขนดินโคลนออกจากบ้านเรือนประชาชนและถนนสาธารณะ ปัจจุบันระดับน้ำลดลง (น้ำแม่ลาว อ.แม่ลาว G8 ระดับตลิ่ง 4.00 ม. ระดับน้ำ 2.96 ม. ต่ำกว่าตลิ่ง 1.04 ม. ปริมาณฝนสูงสุด อ.แม่จัน
18.9 มม.)

2) จ.เชียงใหม่ วันที่ 4 ตุลาคม 2567 เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ 33 ตำบล 187 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.แม่วาง อ.ดอยหล่อ อ.หางดง อ.สันป่าตอง อ.แม่แตง อ.เมืองเชียงใหม่ อ.สารภี เบื้องต้นส่งผลให้บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 28,367 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 2 ราย (ผู้เสียชีวิตอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริง) และไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ โดย สนง.ปภ.จ. หน่วยทหารในพื้นที่ อำเภอ จนท.ตร. อปท. จิตอาสา อส. อปพร.อาสาสมัคร มูลนิธิพร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่
ปัจจุบันระดับน้ำลดลง (ลุ่มน้ำปิง อ.เมืองเชียงใหม่ P.1 ระดับตลิ่ง 3.70 ม. ระดับน้ำ 3.63 ม. ตำกว่าตลิ่ง 0.07 ม. ปริมาณฝนสูงสุด อ.สันทราย 39.8 มม.)

3) จ.ลำพูน วันที่ 23 กันยายน 2567 เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ 1 อำเภอ 8 ตำบล 45 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.เมืองลำพูน เบื้องต้นส่งผลให้บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 1,721 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต โดย สนง.ปภ.จ. หน่วยทหารในพื้นที่ อำเภอ จนท.ตร. อปท. จิตอาสา อส. อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือยกสิ่งของขึ้นที่สูงและเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น (แม่น้ำปิง อ.เมืองลำพูน P5 ระดับตลิ่ง 5.00 ม. ระดับน้ำ 4.69 ม. ต่ำกว่าตลิ่ง 0.31 ม. ปริมาณฝนสูงสุด อ.ลี้ 54.0 มม.)

4) จ.ลำปาง วันที่ 2-3 ตุลาคม 2567 เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ 1 อำเภอ 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.เถิน เบื้องต้นส่งผลให้บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 20 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต โดย สนง.ปภ.จ. หน่วยทหารในพื้นที่ อำเภอ จนท.ตร. อปท. จิตอาสา อส. อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือยกสิ่งของขึ้นที่สูงและเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ ปัจจุบันระดับน้ำลดลง (ปริมาณฝนสูงสุด อ.แจ้ห่ม 58.5 มม.)
5) จ.ตาก วันที่ 19-25 กันยายน 2567 เกิดฝนตกหนักทำให้แม่น้ำวังล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ 7 ตำบล 47 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.สามเงา อ.บ้านตาก เบื้องต้นส่งผลให้บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 2,547 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต โดย สนง.ปภ.จ. หน่วยทหารในพื้นที่ อำเภอ จนท.ตร. อปท. จิตอาสา อส. อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิพร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือยกสิ่งของขึ้นที่สูงและเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ ปัจจุบันระดับน้ำลดลง (ปริมาณฝนสูงสุด อ.เมืองตาก 14.5 มม.)

6) จ.พิษณุโลก วันที่ 25 สิงหาคม 2567 เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำยมล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ 27 ตำบล 104 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.พรหมพิราม อ.บางระกำ อ.เมืองพิษณุโลก อ.บางกระทุ่ม อ.วังทองอ.วัดโบสถ์ อ.นครไทย เบื้องต้นส่งผลให้บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 1,749 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต โดย สนง.ปภ.จ. หน่วยทหารในพื้นที่ อำเภอ จนท.ตร. อปท. จิตอาสา อส. อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิพร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือยกสิ่งของขึ้นที่สูงและเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น (แม่น้ำยม อ.บางระกำ Y64 ระดับตลิ่ง 6.40 ม. ระดับน้ำ 9.40 ม. สูงกว่าตลิ่ง 3.00 ม. ปริมาณฝนสูงสุด อ.เนินมะปราง 64.3 มม.)

7) จ.สุโขทัย วันที่ 24 กันยายน 2567 เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ 20 ตำบล 85 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.สวรรคโลก อ.ศรีสำโรง อ.เมืองสุโขทัย อ.ศรีสัชนาลัย เบื้องต้นส่งผลให้บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 2,239 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต โดย สนง.ปภ.จ. หน่วยทหารในพื้นที่ อำเภอ จนท.ตร. อปท.จิตอาสา อส. อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือยกสิ่งของขึ้นที่สูงและเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ ปัจจุบันระดับน้ำลดลง (แม่น้ำยม อ.เมืองฯ Y4 ระดับตลิ่ง 8.15 ม. ระดับน้ำ 5.31 ม. ต่ำกว่าตลิ่ง 2.84 ม. ปริมาณฝนสูงสุด อ.เมืองสุโขทัย 40.3 มม.)

8) จ.นครสวรรค์ วันที่ 5 ตุลาคม 2567 เกิดน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 1 อำเภอ 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.เมืองนครสวรรค์ เบื้องต้นส่งผลให้บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 70 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต โดย สนง.ปภ.จ.หน่วยทหารในพื้นที่ อำเภอ จนท.ตร. อปท. จิตอาสา อส. อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือยกสิ่งของขึ้นที่สูงและเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ ปัจจุบันระดับน้ำลดลง (แม่น้ำเจ้าพระยา อ.เมืองนครสวรรค์ C.2 ระดับตลิ่ง 25.70 ม. ระดับน้ำ 23.68 ม. ต่ำกว่าตลิ่ง 2.02 ม. ปริมาณฝนสูงสุด อ.แม่วงก์ 2.0 มม.)

9) จ.อุดรธานี วันที่ 23 กันยายน 2567 เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ 8 ตำบล 34 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.เมืองอุดรธานี อ.สร้างคอม เบื้องต้นส่งผลให้บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 225 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต โดย สนง.ปภ.จ. หน่วยทหารในพื้นที่ อำเภอ จนท.ตร. อปท. จิตอาสา อส. อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือยกสิ่งของขึ้นที่สูงและเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ ปัจจุบันระดับน้ำลดลง (ปริมาณฝนสูงสุด อ.นายูง 0.1 มม.)

10) จ.กาฬสินธุ์ วันที่ 3 ตุลาคม 2567 เกิดฝนตกหนักสะสมทำให้น้ำในเขื่อนลำปาวสูงขึ้นเข้าท่วมพื้นที่รอบเขื่อน 5 อำเภอ 12 ตำบล 15 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.ยางตลาด อ.หนองกุงศรีอ.ท่าคันโท อ.สหัสขันธ์ อ.ฆ้องชัย เบื้องต้นส่งผลให้บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 68 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต โดย สนง.ปภ.จ. หน่วยทหารในพื้นที่อำเภอ จนท.ตร. อปท. จิตอาสา อส. อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือแล้ว ปัจจุบันระดับน้ำทรงตัว (เขื่อนลำปาว ความจุ 1,980 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำกักเก็บ 1,858 ล.ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 122 ล.ลบ.ม. ปริมาณฝนสูงสุด อ.ฆ้องชัย 1.5 มม.)

11) จ.ชัยภูมิ วันที่ 22 กันยายน 2567 เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ 15 ตำบล 87 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.คอนสวรรค์ อ.จัตุรัสอ.ซับใหญ่ เบื้องต้นส่งผลให้บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 81 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต โดย สนง.ปภ.จ. หน่วยทหารในพื้นที่ อำเภอ จนท.ตร. อปท. จิตอาสา อส. อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิพร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือยกสิ่งของขึ้นที่สูงและเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ ปัจจุบันระดับน้ำทรงตัว (ปริมาณฝนสูงสุด อ.เกษตรสมบูรณ์ 24.0 มม.)

12) จ.มหาสารคาม วันที่ 14 กันยายน 2567 เกิดฝนตกหนักประกอบกับแม่น้ำชีเอ่อล้นตลิ่ง เข้าท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ 13 ตำบล 118 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.เมืองมหาสารคาม อ.กันทรวิชัย อ.โกสุมพิสัย อ.เชียงยืน อ.นาเชือก เบื้องต้นส่งผลให้บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 39 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต โดย สนง.ปภ.จ. หน่วยทหารในพื้นที่อำเภอ จนท.ตร. อปท. จิตอาสา อส. อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือยกสิ่งของขึ้นที่สูงและเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ ปัจจุบันระดับน้ำลดลง (ลุ่มน้ำชี อ.เมืองมหาสารคาม E8A ระดับตลิ่ง 9.50 ม. ระดับน้ำ 9.29 ม. ต่ำกว่าตลิ่ง 0.21 ม. ปริมาณฝนสูงสุด - มม.)

13) จ.อุบลราชธานี วันที่ 19-25 กันยายน 2567 เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำในแม่น้ำมูล แม่น้ำชี ล้นตลิ่งเข้าท่วม ในพื้นที่ 2 อำเภอ 3 ตำบล 5 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.เมืองอุบลราชธานี อ.สว่างวีระวงศ์ เบื้องต้นส่งผลให้บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 190 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต โดย สนง.ปภ.จ. หน่วยทหารในพื้นที่ อำเภอ จนท.ตร. อปท.จิตอาสา อส. อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือยกสิ่งของขึ้นที่สูงและเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่และจัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว 3 จุด อ.เมืองอุบลราชธานี ปัจจุบันระดับน้ำลดลง (ปริมาณฝนสูงสุด อ.นาตาล 17.6 มม.)

14) จ.สิงห์บุรี วันที่ 3 ตุลาคม 2567 เขื่อนเจ้าพระยามีการระบายน้ำเพิ่มขึ้นทำให้น้ำในแม่น้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ 4 ตำบล 9 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.อินทร์บุรี อ.เมืองสิงห์บุรี อ.พรหมบุรี เบื้องต้นส่งผลให้บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 102 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต โดย สนง.ปภ.จ. อำเภอ หน่วยทหารในพื้นที่ จนท.ตร.อปท. จิตอาสา อส. อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว ปัจจุบันระดับน้ำทรงตัว (แม่น้ำเจ้าพระยา อ.เมืองสิงห์บุรี C.3ระดับตลิ่ง 13.40 ม. ระดับน้ำ 11.65 ม. ต่ำกว่าตลิ่ง 1.75 ม. ปริมาณฝนสูงสุด - มม.)

15) จ.สุพรรณบุรี วันที่ 3 กันยายน 2567 เขื่อนเจ้าพระยามีการระบายน้ำเพิ่มขึ้นทำให้น้ำในแม่น้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ 27 ตำบล 96 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.เดิมบางนางบวช อ.บางปลาม้า อ.สองพี่น้อง อ.ศรีประจันต์ อ.สามชุก อ.เมืองสุพรรณบุรี เบื้องต้นส่งผลให้บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 3,195 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต โดย สนง.ปภ.จ. อำเภอ หน่วยทหารในพื้นที่ จนท.ตร. อปท. จิตอาสา อส. อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว ปัจจุบันระดับน้ำทรงตัว (แม่น้ำท่าจีน อ.เมืองฯ T.10 ระดับตลิ่ง 3.50 ม.ระดับน้ำ 4.92 ม. สูงกว่าตลิ่ง 1.42 ม. ปริมาณฝนสูงสุด อ.สองพี่น้อง 2.6 มม.)

16) จ.อ่างทอง วันที่ 29 กันยายน 2567 เขื่อนเจ้าพระยามีการระบายน้ำเพิ่มขึ้นทำให้น้ำในแม่น้ำน้อยล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ 15 ตำบล 43 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.วิเศษชัยชาญ อ.ไชโย อ.เมืองอ่างทอง เบื้องต้นส่งผลให้บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 653 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต โดย สนง.ปภ.จ. อำเภอ หน่วยทหารในพื้นที่ จนท.ตร. อปท.จิตอาสา อส. อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น (แม่น้ำเจ้าพระยา อ.เมืองฯ C.7A ระดับตลิ่ง 10.00 ม. ระดับน้ำ 8.24 ม. ต่ำกว่าตลิ่ง 1.76 ม.ปริมาณฝนสูงสุด - มม.)

17) จ.พระนครศรีอยุธยา วันที่ 2 กันยายน 2567 เขื่อนเจ้าพระยาปล่อยน้ำมากขึ้นทำให้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ 96 ตำบล 545 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.บางบาล อ.ผักไห่ อ.เสนา อ.พระนครศรีอยุธยา อ.บางปะอิน อ.บางไทร อ.บางปะหัน เบื้องต้นส่งผลให้บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 23,497 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต โดย สนง.ปภ.จ. อำเภอ หน่วยทหารในพื้นที่ จนท.ตร. อปท. จิตอาสา อส.อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น (แม่น้ำเจ้าพระยา อ.พระนครศรีอยุธยา C.35 ระดับตลิ่ง 4.35 ม. ระดับน้ำ 4.52 ม. สูงกว่าตลิ่ง 0.17 ม. ปริมาณฝนสูงสุด อ.บางไทร 1.0 มม.)

18) จ.นครปฐม วันที่ 6 ตุลาคม 2567 เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ 10 ตำบล 21 หมู่บ้าน ได้แก่อ.นครชัยศรีอ.สามพราน เบื้องต้นอยู่ระหว่างการสำรวจความเสียหาย ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต โดย สนง.ปภ.จ. หน่วยทหารในพื้นที่ อำเภอ จนท.ตร. อปท. จิตอาสา อส. อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิพร้อม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ ปัจจุบันระดับน้ำทรงตัว (แม่น้ำท่าจีน อ.นครชัยศรีT.1 ระดับตลิ่ง 1.50 ม. ระดับน้ำ 1.79 ม. สูงกว่าตลิ่ง 0.29 ม. ปริมาณฝนสูงสุด อ.บางเลน 43.6 มม.)

19) จ.สงขลา วันที่ 5 ตุลาคม 2567 เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่1 อำเภอ 7 ตำบล 32 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.สะบ้าย้อยเบื้องต้นส่งผลให้บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 393 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 1 ราย (ผู้เสียชีวิตอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริง) และไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ โดย สนง.ปภ.จ. หน่วยทหารในพื้นที่ อำเภอ จนท.ตร. อปท. จิตอาสา อส. อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิพร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ ปัจจุบันระดับน้ำลดลง (ปริมาณฝนสูงสุด อ.หาดใหญ่ 60.0 มม.)