พื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือประสบภัยน้ำท่วมเป็นระยะ ๆ มาตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม 2567 เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณดังกล่าว รวมทั้งอิทธิพลจากพายุหลายลูกไม่ว่าจะเป็นพายุดีเปรสชัน “03W”
ในเดือนกรกฎาคม และพายุไต้ฝุ่น “ยางิ” ในช่วงต้นเดือนกันยายน 2567 ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วมในช่วงต้นเดือนกันยายนยังไม่คลี่คลาย กลับมีฝนตกหนักต่อเนื่องเกิดขึ้นอีกตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกันยายนจนถึงช่วงต้นเดือนตุลาคม 2567 จาก
อิทธิพลของร่องมรสุมที่พาดผ่านและพายุโซนร้อน “ซูลิก” ส่งผลให้สถานการณ์น้ำท่วมในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือทวีความรุนแรงขึ้นอีกครั้ง
The North and Northeast faced periodic flooding since July 2024, primarily due to the influence of the monsoon troughs lying across these areas, accompanied by various storms, including “Depression 03W”
in July and typhoon “YAGI” in early September 2024. While the flooding situation in early September had not yet been resolved, continuous heavy rain occurred again from mid-September to early-October 2024,
caused by the influence of monsoon troughs and tropical storm “SOULIK”. These conditions caused flooding in the North and Northeast to intensify once again.
ในช่วงเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม 2567 ร่องมรสุมได้พาดผ่านบริเวณตอนบนของประเทศเป็นระยะในช่วงวันที่ 15-18 และ 21-24 กันยายน 2567 รวมถึงช่วงวันที่ 1-2 ตุลาคม 2567 ก่อนที่จะเลื่อนลงไปพาดผ่านบริเวณภาคใต้ ส่วนพายุ “ซูลิก” ได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันบริเวณ
ประเทศลาวก่อนเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณจังหวัดนครพนมในวันที่ 19 กันยายน 2567 แล้วอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงก่อนเคลื่อนตัวเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทยใน
วันถัดมา ซึ่งอิทธิพลของพายุและร่องมรสุมนี้ส่งผลทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากเพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่ของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างเห็นได้ชัดในช่วงวันที่ 19-24 กันยายน 2567 และ 1-3 ตุลาคม 2567
From September to early October 2024, the monsoon troughs periodically lay across the upper part of the country during 15-18, 21-24 September 2024 and 1-2 October 2024 before moving down to lie across the South. Meanwhile, the
storm “SOULIK” weakened into a tropical depression over Laos before arrived Thailand in Nakhon Phanom Province on 19 September 2024 ,then weakened into a strong low-pressure cell to cover the upper part of the Northeast and the lower part
of the North of Thailand the following day. The influence of the storm and monsoon troughs caused a significant increase in heavy to very heavy rain in several areas of the North and Northeast during 19-24 September 2024 and 1-3 October 2024.
ทั้งนี้ จังหวัดที่มีฝนตกหนักมากเกิน 90 มิลลิเมตรต่อวัน ประกอบด้วย ภาคเหนือ 14 จังหวัด ได้แก่ พะเยา ลำปาง เชียงใหม่ แพร่ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร พิษณุโลก ลำพูน เพชรบูรณ์ เชียงราย น่าน แม่ฮ่องสอน สุโขทัย ตาก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 13 จังหวัดได้แก่ เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู มุกดาหาร ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา ขอนแก่น บึงกาฬ
หนองคาย สุรินทร์ ศรีสะเกษ สกลนคร โดยที่สถานีบ้านปางริมกรณ์ ต.แม่กรณ์ อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย ตรวจวัดปริมาณฝนสะสมรายวันได้สูงสุด 195 มิลลิเมตรต่อวันเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2567 รองลงมาคือที่สถานีบ้านรวงผึ้งพัฒนา ต.คลองน้ำไหล อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร ปริมาณฝน 194.9 มิลลิเมตรต่อวันเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2567 สำหรับปริมาณฝนสะสม
ช่วงวันที่ 16 กันยายน ถึง 5 ตุลาคม 2567 ที่สถานีสันทราย ต.แม่แฝก อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ มีปริมาณฝนสะสมมากที่สุดถึง 835.8 มิลลิเมตร รองลงมาคือที่สถานีบ้านป่าเวียง ต.ทุ่งกว๋าว อ.เมืองปาน จ.ลำปาง ปริมาณฝนสะสม 680.5 มิลลิเมตร และสถานีบ้านป่าเผือก ต.ทุ่งยั้ง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ ปริมาณฝนสะสม 583.5 มิลลิเมตร
Provinces experiencing very heavy rain over 90 millimeters per day included 14 provinces in the North, namely Phayao, Lampang, Chiang Mai, Phrae, Uttaradit, Kamphaeng Phet, Phitsanulok, Lamphun, Phetchabun, Chiang Rai, Nan, Mae Hong Son, Sukhothai, Tak; and 13 provinces in the Northeast, namely Loei, Udon Thani, Nong Bua Lam Phu, Mukdahan, Chaiyaphum, Nakhon Phanom, Nakhon Ratchasima, Khon Kaen, Bueng Kan, Nong Khai, Surin,
Si Sa Ket, Sakon Nakhon. The Ban Pang Rim Korn rain Station in Mae Korn Sub-district, Mueang Chiang Rai District, Chiang Rai Province, recorded the highest daily rainfall of 195 millimeters on 1 October 2024, followed by 194.9 millimeters on 2 October 2024 at Ban Ruang Phueng Pattana Station in Klong Nam Lai Sub-district, Klong Lan District, Kam Phaeng Phet Province. For the cumulative rainfall from 16 September to 5 October 2024, the
San Sai Station in Mae Faek Sub-district, San Sai District, Chiang Mai Province had the highest cumulative rainfall of 835.8 millimeters, followed by Ban Pa Wiang Station in Thung Kwao Sub-district, Muang Pan District, Lampang Province at 680.5 millimeters, and Ban Pa Phueak Station in Thung Yang Sub-district, Laplae District, Uttaradit Province at 583.5 millimeters.
ฝนที่ตกหนักได้ส่งผลทำให้ลำน้ำสายหลักเกิดน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมในหลายพื้นที่ของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยที่ภาคเหนือมีน้ำล้นตลิ่งบริเวณ
1) แม่น้ำปิง บริเวณ อ.เมืองเชียงใหม่ โดยที่สถานี P.1-สะพานนวรัฐ ต.วัดเกต อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ ที่เกิด น้ำล้นตลิ่งด้วยระดับน้ำที่สูงถึง 305.77 ม.รทก. เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2567 ซึ่งสูงที่สุดเมื่อเทียบกับข้อมูลย้อนหลังในรอบ 10 ปี
2) แม่น้ำลาว บริเวณ อ.เวียงป่าเป้า อ.แม่สรวย จ.เชียงราย
3) แม่น้ำวัง บริเวณ อ.เกาะคา จ.ลำปาง
4) แม่น้ำสา บริเวณ อ.เวียงสา จ.น่าน
5) แม่น้ำอิง บริเวณ อ.ดอกคำใต้ อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา รวมถึงที่กว๊านพะเยา
6) แม่น้ำทา บริเวณ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน
7) แม่น้ำกวง บริเวณ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน
8) แม่น้ำขาน บริเวณ อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
9) แม่น้ำวังทอง บริเวณ อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก
10) แม่น้ำแควน้อย บริเวณ อ.นครไทย จ.พิษณุโลก
11) คลองท่าสะแก บริเวณ อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก
12) แม่น้ำยม บริเวณคลองผันน้ำยมน่าน อ.สวรรคโลก และ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก อ.เมืองแพร่ จ.แพร่
13) แม่น้ำน่าน บริเวณ อ.เวียงสา จ.น่าน อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ และ
14) แม่น้ำป่าสัก บริเวณ อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์
Heavy rain caused main rivers to overflow their banks in several areas of the North and the Northeast. In the North, rivers overflowed their banks at
1) Ping River in Muang Chiangmai Districts. At P.1-Nawarat Bridge station, Wat Ket Sub-district, Muang Chiangmai District, Chiangmai Province, water overflowed the banks with a high water level of 305.77 meters above mean sea level (m.msl) on 5 October 2024. It was the highest water level when compared to the historical data in the past 10 years.
2) Lao River in Wiang Pa Pao
and Mae Suai districts, Chiang Rai Province
3) Wang River in Ko Kha District, Lampang Province
4) Sa River in Wiang Sa District, Nan Province
5) Ing River in Dok Khamtai and Mueang Phayao districts, Phayao Province; and Kwan Phayao
6) Tha River in Pa Sang District, Lamphun Province
7) Kuang River in Ban Thi District, Lamphun Province
8) Khan River in San Pa Tong District, Chiang Mai Province
9) Wang Thong River in Bang Krathum District, Phitsanulok Province
10) Khwae Noi River in Nakhon Thai District,
Phitsanulok Province
11) Tha Sakae Canal in Chat Trakan District, Phitsanulok Province
12) Yom River at Yom-Nan Diversion Canal in Sawankhalok and Bang Rakam districts, Phitsanulok Province; and Muang Phrae District, Phrae Province
13) Nan River in Wiang Sa District, Nan Province; and Tron District, Uttaradit Province
14) Pasak River in Nong Phai District, Phetchabun Province.
ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือเกิดน้ำล้นตลิ่งบริเวณ
1) ลำน้ำอูน บริเวณ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
2) ห้วยน้ำฮวย บริเวณ อ.สังคม จ.หนองคาย
3) แม่น้ำสงคราม บริเวณ อ.นาทม จ.นครพนม อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร
4) คลองยาม บริเวณ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
5) คลองหลวง บริเวณ อ.บ้านดุง อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี
6) คลองก่ำ บริเวณ อ.วังยาง จ.นครพนม
7) คลองเซบาย บริเวณ อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร
8) คลองน้ำโมง บริเวณ อ.สุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู
9) คลองบังอี่ บริเวณ อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร
10) ลำน้ำเชิญ บริเวณ อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น
11) คลองปาว บริเวณ อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์
12) แม่น้ำเลย บริเวณ อ.เชียงคาน จ.เลย
13) คลองปากแซง บริเวณ อ.นาตาล จ.อุบลราชธานี
In the Northeast, rivers overflowed their banks at
1) Un River in Phanna Nikhom District, Sakon Nakhon Province
2) Nam Huai River in Sangkhom District, Nong Khai Province
3) Songkhram River in Na Thom District, Nakhon Phanom Province; and Ban Muang District, Sakon Nakhon Province
4) Yam Canal in Akat Amnuai District, Sakon Nakhon Province
5) Luang Canal in Ban Dung and Muang Udon Thani districts, Udon Thani Province
6) Kam Canal in Wang Yang District, Nakhon Phanom Province
7) Se Bai Canal in Loeng Nok Tha District, Yasothon Province
8) Nam Mong Canal in Suwannakhuha District, Nong Bua Lam Phu Province
9) Bang-I Canal in Don Tan District, Mukdahan Province
10) Nam Choen River in Nong Ruea District, Khon Kaen Province
11) Pao Canal in Rong Kham District, Kalasin Province
12) Loei River in Chiang Khan District, Loei Province
13) Pak Saeng Canal in Na Tan District, Ubon Ratchathani Province.
สำหรับแม่น้ำโขง ปี 2567 ระดับน้ำเพิ่มขึ้นมากอย่างผิดปกติตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคมจนถึงเดือนกันยายน โดยเกิดขึ้นในทุกจุดตรวจวัดน้ำของลำน้ำในเขตประเทศไทยและประเทศลาว โดยเฉพาะช่วงเดือนกันยายน
ที่ ฝั่งประเทศไทยประสบกับปัญหาน้ำท่วม ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่ระดับน้ำในแม่น้ำโขงเพิ่มขึ้นสูงสุดอย่างผิดปกติ และเกิดน้ำล้นตลิ่งบริเวณสถานีเชียงคาน จ.เลย สถานีเวียงจันทน์ บริเวณ สปป.ลาว สถานี
หนองคาย จ.หนองคาย ซึ่งส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่ริมแม่น้ำโขงในหลายจุด เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลทำให้การระบายน้ำจากลำน้ำในประเทศไทยลงสู่แม่น้ำโขงทำได้ค่อนข้างช้า
For the Mekong River in 2024, water levels increased abnormally from August to September at all monitoring stations along the river in Thailand and Laos. Particularly in September, when Thailand
experienced flooding problems, the Mekong River reached its unusually highest water levels and overflowed its banks at Chiang Khan Station in Loei Province, Vientiane Station in Lao PDR, and Nong Khai Station in
Nong Khai Province, causing flooding in several areas along the Mekong riverbank. This resulted in relatively slow water drainage capacity from Thailand’s waterways into the Mekong River.
จากเหตุการณ์ฝนตกหนักในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกันยายนจนถึงช่วงต้นเดือนตุลาคม 2567 ส่งผลทำให้เขื่อนขนาดใหญ่มีน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มมากขึ้น โดยช่วงวันที่ 15 กันยายน ถึง 5 ตุลาคม 2567 เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคเหนือมีน้ำไหลลงเขื่อนรวมกันมากถึง 4,622 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีน้ำไหลลงเขื่อนรวมกัน 2,722 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยในช่วงเวลาดังกล่าว เขื่อนที่มีน้ำไหลลงเขื่อนเกิน 100 ล้าน ลูกบาศก์เมตร ประกอบด้วย เขื่อนภูมิพล
จ.ตาก เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ เขื่อนกิ่วลม เขื่อนกิ่วคอหมา จ.ลำปาง เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก เขื่อนน้ำอูน เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี เขื่อนแม่งัด จ.เชียงใหม่ โดยเขื่อนภูมิพล มีน้ำไหลลงเขื่อนมากที่สุด 2,149 ล้านลูกบาศก์เมตร รองลงมาคือเขื่อนสิริกิติ์ 1,342 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนอุบลรัตน์ 1,264 ล้านลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้จากรายงาน สถานการณ์น้ำกักเก็บในเขื่อนเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2567 พบว่าเกิดน้ำล้นเขื่อนที่เขื่อน
แม่งัด ปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ที่ 112.61% โดยน้ำเริ่มล้นเขื่อนตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2567 รวมทั้งเป็นวันที่มีน้ำไหลลงเขื่อนรายวันสูงสุดถึง 22.3 ล้านลูกบาศก์เมตร เมื่อเที่ยบกับข้อมูลย้อนหลังในรอบ 10 ปี และมีเขื่อนที่มีน้ำกักเก็บอยู่ในเกณฑ์น้ำมากถึง 13 แห่ง ได้แก่ เขื่อนกิ่วคอหมา เขื่อนห้วยหลวง เขื่อนประแสร์ เขื่อนน้ำอูน เขื่อนลำปาว เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนขุนด่านปราการชล เขื่อนแม่มอก เขื่อนนฤบดินทรจินดา เขื่อนวชิราลงกรณ เขื่อนกิ่วลม เขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนอุบลรัตน์
Moreover, the heavy rain caused increased water inflow into large dams. From 15 September to 5 October 2024, large dams in the North had a total inflow of 4,622 million cubic meters (mcm), while those in the Northeast had 2,722 mcm. Dams with inflow exceeding 100 mcm included Bhumibol Dam in Tak Province, Sirikit Dam in Uttaradit Province, Ubolratana Dam in Khon Kaen Province, Lampao Dam in Kalasin Province, Kiew Lom Dam and Kiew Kohma Dam in Lampang Province, Sirindhorn Dam in Ubon
Ratchathani Province, Kwae Noi Bamrung Dan Dam in Phitsanulok Province, Nam Un Dam and Huai Luang Dam in Udon Thani Province, and Mae Ngad Dam in Chiang Mai Province. Bhumibol Dam recorded the highest inflow at 2,149 mcm, followed by Sirikit Dam at 1,342 mcm and Ubolratana Dam at 1,264 mcm. According to the report on the water storage situation of large dams on 5 October 2024, Mae Ngad Dam experienced an overflow with 112.61% of stored water. It started to
be overflowed on 25 September 2024 with the higest daily inflow water volume of 22.3 mcm when compared to the historical data in the past 10 years. Additionally, 13 dams were reported to have water storage at high levels, namely Kiew Koma Dam, Huai Luang Dam, Prasae Dam, Nam Un Dam, Lampao Dam, Sirikit Dam, Khundan Prakarnchon Dam, Maemok Dam, Naruebordin Tharachinda Dam, Vajjiralongkorn Dam, Kiewlom Dam, Srinagarind Dam, and Ubolratana Dam.
ทั้งนี้ จากเหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นหลายครั้งในหลายพื้นที่ของประเทศไทย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้รายงานความเสียหายจากอุทกภัย ณ วันที่ 7 ตุลาคม 2567 เวลา 18.00 น. โดยเป็นการรายงานภัยน้ำท่วมที่เกิดในช่วงวันที่ 16 สิงหาคมถึง 7 ตุลาคม 2567 ในพื้นที่ 44 จังหวัด ประกอบด้วย ภาคเหนือ 13 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก พะเยา น่าน ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 13 จังหวัด ได้แก่ เลย อุดรธานี กาฬสินธุ์ หนองคาย นครพนม ขอนแก่น ชัยภูมิ มหาสารคาม นครราชสีมา
บุรีรัมย์ บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุบลราชธานี นอกจากนี้ ยังเกิดอุทกภัยบริเวณจังหวัดปราจีนบุรี ระยอง นครสวรรค์ สิงห์บุรี สุพรรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม ปทุมธานี ชุมพร สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต ยะลา นครศรีธรรมราช พังงา ตรัง สตูล และสงขลา รวมพื้นที่เกิดอุทกภัยทั้งสิ้น 268 อำเภอ 1,162 ตำบล 6,012 หมู่บ้าน บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 241,482 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิตจากอุทกภัย 29 ราย ประกอบด้วย เชียงราย 12 ราย เชียงใหม่ 2 ราย พะเยา 4 ราย ลำปาง 3 ราย น่าน 3 ราย แพร่ 2 ราย สุโขทัย 2 ราย สงขลา 1 ราย นอกจากนี้มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์
ดินถล่ม 23 ราย ประกอบด้วย เชียงราย 4 ราย เชียงใหม่ 6 ราย ภูเก็ต 13 ราย รวมผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 52 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 28 ราย ณ วันที่รายงานยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 19 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก พิษณุโลก นครสวรรค์ สุโขทัย อุดรธานี กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ มหาสารคาม อุบลราชธานี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สงขลา รวมทั้งสิ้น 65 อำเภอ 325 ตำบล 1,556 หมู่บ้าน บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 66,202 ครัวเรือน
Due to multiple flood events that occurred in several areas of Thailand, the Department of Disaster Prevention and Mitigation reported flood damage on 7 October 2024 at 6:00 p.m. The report covered flood disasters occurring from 16 August to 7 October 2024 in 44 affected provinces, including 13 provinces in the North, namely Chiang Rai, Chiang Mai, Mae Hong Son, Tak, Phayao, Nan, Lamphun, Lampang, Phrae, Uttaradit, Sukhothai, Phitsanulok, and Phetchabun. A total of 13 provinces were affected in the Northeast, namely Loei, Udon Thani, Kalasin, Nongkhai, Nakhon Phanom, Khon Kaen, Chaiyaphum, Maha Sarakham, Nakhon Ratchasima, Buriram,
Bueng Kan, Nong Bua Lam Phu, Ubon Ratchathani. Besides, flooding occurred in Prachin Buri, Rayong, Nakhon Sawan, Sing Buri, Suphan Buri, Ang Thong, Phra Nakhon Si Ayutthaya, Nakhon Pathom, Pathum Thani, Chumphon, Surat Thani, Phuket, Yala, Nakhon Si Thammarat, Phang Nga, Trang, Satun, and Songkhla. The total flooded areas were 268 Districts, 1,162 Sub-districts, and 6,012 Villages with 241,482 households affected, 29 fatalities caused by flooding including 12 in Chiang Rai Province, 2 in Chiang Mai Province, 4 in Phayao Province, 3 in Lampang Province, 3 in Nan Province, 2 in Phrae Province, 2 in Sukhothai Province, and 1 in
Songkhla Province. Additionally, there were 23 fatalities caused by landslides, including 4 in Chiang Rai Province, 6 in Chiang Mai Province, and 13 in Phuket Province, bringing the total number of fatalities to 52 with 28 injuries. As of the reporting date, the situation continued in 19 provinces, namely Chiang Rai, Chiang Mai, Lamphun, Lampang, Tak, Phitsanulok, Nakhon Sawan, Sukhothai, Udon Thani, Kalasin, Chaiyaphum, Maha Sarakham, Ubon Ratchathani, Sing Buri, Suphan Buri, Ang Thong, Phra Nakhon Si Ayutthaya, Nakhon Pathom, and Songkhla. In total, 65 districts, 325 sub-districts, and 1,556 villages with 66,202 households were affected.