ความเสียหาย
ที่มา : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

รายงานเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2566 เวลา 18.00 น.
ที่ จ.ตาก วันที่ 7 ส.ค. 66 เวลา 09.30 น. เกิดฝนตกหนักทำให้แม่น้ำเมยเอ่อล้นเข้าท่วมในพื้นที่ ม.4 ต.แม่จะเรา อ.แม่ระมาด และถนนทรุดตัวบริเวณทางหลวงหมายเลข 105สายแม่สอด-แม่สะเรียงกม.139 -140 บ้านบอลู่โค๊ะ ม.1 ต.ท่าสองยาง, กม.149 ช่วงแม่ตะวอ-บ้านแม่จวาง อ.ท่าสองยาง โดย สนง.ปภ.จ อำเภอ หน่วยทหารในพื้นที่ สภ.แม่เมย ทต.ทุ่งหลวง อบต.ท่าสองยาง จิตอาสา อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือประชาชนขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูงพร้อมอำนวยความสะดวก ด้านการจราจรและติดป้ายแจ้งเตือนประชาชน ปัจจุบันไม่สามารถสัญจรผ่านได้

ที่ จ.น่าน วันที่ 6-7 ส.ค. 66 เกิดฝนตกหนักน้ำท่วมในพื้นที่ บ้านงิ้ว (ม.9) บ้านสบกอน (ม.13) ต.เชียงกลาง อ.เชียงกลาง ส่งผลให้บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 27 ครัวเรือน โดย สนง.ปภ.จ อำเภอจิตอาสา อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือแล้ว ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว



รายงานเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2566 เวลา 18.00 น.
จ.น่าน วันที่ 8 ส.ค. 66 เวลา 06.00 น. เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องทำให้น้ำหลากเข้าท่วมในพื้นที่ ต.ไหล่น่าน (ม.1) ต.กลางเวียง (ม.2,7) อ.เวียงสา ต.ริม (ม.1,4,7) ต.ท่าวังผา (ม.1,3,4,7) ต.ศรีภูมิ (ม.4) ต.ตาลชุม (ม.1,6,12) ต.ป่าคา (ม.4,5,6) อ.ท่าวังผา ต.หมอเมือง (ม.2) อ.แม่จริม บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 197 ครัวเรือน และพื้นที่ ต.บ่อเกลือใต้อ.บ่อเกลือ เกิดคันทางสไลด์ บริเวณถนนทางหลวงหมายเลข 1081-0102 ตอนหลักลาย-บ่อเกลือ กม.78+550-กม.78+575 ซึ่งอยู่ระหว่างการติดตั้งสะพานแบลีย์ และเกิดดินสไลด์ทับเส้นทาง ถนนทางหลวงหมายเลข 1256-0102 ตอนอุทยานแห่งชาติดอยภูคา-บ่อเกลือ กม.35+620-กม.35+640 โดย ผวจ. สนง.ปภ.จ เหล่ากาชาดจังหวัด อำเภอ อปท. หน่วยทหารในพื้นที่ จิตอาสา อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือ พร้อมอำนวยความสะดวกด้านการจราจร และติดป้ายแจ้งเตือนประชาชน ปัจจุบันระดับน้ำทรงตัว ยังไม่สามารถสัญจรผ่านได้ทั้ง 2 เส้นทาง



รายงานเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2566 เวลา 18.00 น.
ที่ จ.ตาก วันที่ 9 ส.ค. 66 เวลา 11.00 น. เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ ต.แม่อุสุ ต.แม่สอง อ.ท่าสองยาง ส่งผลให้แม่น้ำเมยเอ่อล้นตลิ่ง ประชาชนได้รับผลกระทบ 44 ครัวเรือน และถนนสายแม่สลิดหลวง - บ้านแม่ระเมิง หมายเลข 1267 เกิดการทรุดตัว โดย สนง.ปภ.จ สนง.ปภ.สาขาแม่สอด อำเภอ หมวดการทางท่าสองยางอปท. จิตอาสา อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือแล้ว



รายงานเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2566 เวลา 18.00 น.
ที่ จ.นครพนม วันที่ 10 ส.ค. 66 จากสถานการณ์อุทกภัยเนื่องจากฝนตกหนักในพื้นที่และระดับน้้า ในแม่น้้าโขงสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ท้าให้ลำน้้าสาขาสายหลัก ลำน้ำก่ำ ลำน้ำบัง ลำน้ำอูน และลำน้ำสงคราม ระบายไม่ทันทะลักท่วมพื้นที่ ระหว่างวันที่ 27 ก.ค.– 9 ส.ค. 66 ส่งผลให้เกิดอุทกภัย 12 อำเภอ 79 ตำบล 436 หมู่บ้าน ประชาชน ได้รับผลกระทบ 11,655 ครัวเรือน ได้แก่ อำเภอเมือง ท่าอุเทน วังยาง นาหว้า บ้านแพง ปลาปาก นาแก ธาตุพนม โพนสวรรค์ นาทม เรณูนคร ศรีสงคราม บ้านเรือนได้รับความเสียหาย 20 หลัง ถนน 50 สาย ท่อ/ฝาย 1 แห่ง พื้นที่การเกษตร 57,081 ไร่ โดย ผวจ.นครพนม ได้ประชุมศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัดนครพนม เพื่อติดตาม สถานการณ์ และได้เน้นย้้า สั่งการ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้าเนินการตรวจสอบความเสียหายและเร่งให้ความ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ในการนี้ ผวจ. ได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้้าและมอบถุงยังชีพในพื้นที่ อ.ธาตุพนม อ.นาแก จ้านวน 1,000 ชุด

ที่ จ.บึงกาฬ วันที่ 10 ส.ค. 66 จากสถานการณ์อุทกภัยเนื่องจากฝนตกหนักในพื้นที่และระดับน้้า ในแม่น้้าโขงสูงขึ้นระหว่างวันที่ 27 ก.ค. - 9 ส.ค. 66 ส่งผลให้เกิดอุทกภัยในพื้นที่ 7 อำเภอ 33 ตำบล 222 หมู่บ้าน ได้แก่ อ้าเภอพรเจริญ บึงโขงหลง โซ่พิสัย เซกา ศรีวิลัย ปากคาด บุ่งคล้า ถนนเสียหาย 1 แห่ง คอสะพานเสียหาย 1 แห่ง พื้นที่การเกษตร 25,241 ไร่ โดย ผวจ.บึงกาฬ ได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประเมินสถานการณ์น้้า ในพื้นที่ ทั้งนี้ ผวจ. ได้ลงพื้นที่ติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมเร่งรัดการช่วยเหลือผู้ได้รับ ผลกระทบในพื้นที่เสี่ยงตลอดแนวแม่น้้าโขง



รายงานเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566 เวลา 18.00 น.
ที่ จ.บึงกาฬ วันที่ 11 ส.ค. 66 จากสถานการณ์อุทกภัยเนื่องจากฝนตกหนักในพื้นที่และระดับน้้า ในแม่น้้าโขงสูงขึ้นระหว่างวันที่ 27 ก.ค. - 11 ส.ค. 66 ส่งผลให้เกิดอุทกภัยในพื้นที่ 5 อำเภอ 31 ตำบล 220 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับ ผลกระทบ 3,315 ครัวเรือน ได้แก่ อ.พรเจริญ อ.บึงโขงหลง อ.โซ่พิสัย อ.เซกา อ.ศรีวิไล ถนนเสียหาย 1 แห่ง คอสะพาน เสียหาย 1 แห่ง พื้นที่การเกษตร 25,241 ไร่ โดย ผวจ.บึงกาฬ ได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประเมิน สถานการณ์น้้าในพื้นที่ ทั้งนี้ ผวจ. ได้ลงพื้นที่ติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมเร่งรัดการช่วยเหลือ ผู้ได้รับผลกระทบในพื้นที่เสี่ยงตลอดแนวแม่น้้าโขง และจัดท้าสะพานชั่วคราวให้ประชาชนใช้สัญจร ปัจจุบันมีฝนตกเล็กน้อย ระดับน้ำเพิ่มขึ้น