สิ้นปี 2562 เขื่อนหลักทั้ง 4 แห่งในลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีน้ำกักเก็บคงเหลือรวมกัน 11,039 ล้านลูกบาศก์เมตร น้อยกว่าปีที่แล้วถึง 6,623 ล้านลูกบาศก์เมตร เมื่อเทียบกับข้อมูลย้อนหลังในรอบ 10 ปี พบว่าปี 2562 มีปริมาณน้ำกักเก็บเหลือน้อยเป็นอันดับที่ 2 รองจากปี 2558 รวมทั้งน้อยกว่าปี 2553 ที่บริเวณ
ลุ่มน้ำเจ้าพระยาประสบกับปัญหาภัยแล้งรุนแรงอยู่ค่อนข้างมาก ส่วนปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนทั้งปี มีอยู่ 7,747 ล้านลูกบาศก์เมตร น้อยกว่าปีที่แล้วเป็นเท่าตัว (7,929 ล้านลูกบาศก์เมตร) และน้อยเป็นอันดับ 2 รองจากปี 2558 เมื่อเทียบกับข้อมูลย้อนหลังในรอบ 10 ปี นอกจากนี้ ทั้ง 4 เขื่อนมีการระบายน้ำรวมกัน
ตลอดทั้งปี 13,116 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นการระบายน้ำที่มากกว่าปริมาณน้ำไหลลง 2,077 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมถึงเป็นปริมาณน้ำระบายที่มากกว่าปี 2553 และ 2558 ที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาประสบปัญหาภัยแล้งรุนแรงอย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
วันที่ 31 ธันวาคม 2562 เขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 5,548 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 41% ของความจุเขื่อน อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย โดยเป็นน้ำใช้การได้จริง 1,748 ล้านลูกบาศก์เมตร น้อยกว่าปีที่แล้วถึง 3,500 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่มากกว่าปี 2548 อยู่เล็กน้อย เพียง 614 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนปริมาณน้ำไหลเข้าสะสมทั้งปีมี 2,819 ล้านลูกบาศก์เมตร น้อยกว่าปีที่แล้ว 2,353 ล้าน
ลูกบาศก์เมตร และน้อยกว่าค่าเฉลี่ยถึง 2,767 ล้านลูกบาศก์เมตร และจะเห็นได้ว่าเมื่อเทียบกับข้อมูลย้อนหลังในรอบ 10 ปี ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา เกิดสถานการณ์น้ำไหลลงเขื่อนมากกว่าค่าเฉลี่ยเพียง 2 ปี เท่านั้น คือปี 2554 และปี 2560 และหากเทียบกับน้ำไหลเข้าของปี 2558 ที่เกิดภัยแล้งรุนแรง ปี 2562 มีปริมาณน้ำไหลเข้ามากกว่าอยู่ประมาณ 900 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนน้ำระบายสะสมทั้งปีมี 5,635
ล้านลูกบาศก์เมตร ระบายน้ำน้อยกว่าปีที่แล้วอยู่เล็กน้อย ประมาณ 526 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่เป็นการระบายน้ำมากกว่าปริมาณน้ำไหลเข้า ซึ่งหมายถึงมีการนำน้ำต้นทุนของปีก่อนออกมาใช้ถึง 2,826 ล้านลูกบาศก์เมตร และเมื่อเปรียบเทียบข้อมูลย้อนหลังในรอบ 10 ปี จะเห็นได้ว่าเขื่อนภูมิพลมีการระบายน้ำมากกว่าค่าเฉลี่ยเพียง 2 ปี เท่านั้น คือปี 2554 และ 2555 ซึ่งเป็นช่วงที่ประสบภัยน้ำท่วมใหญ่
ปี 2562 เขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ ณ วันสิ้นปี 4,825 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 51% ของความจุเขื่อน อยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลางค่อนไปทางน้อย เป็นน้ำใช้การได้จริง 1,975 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยปริมาณน้ำน้อยกว่าปี 2561 อยู่ถึง 2,578 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่มากกว่าปี 2558 อยู่เล็กน้อยเพียง 79 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนปริมาณน้ำไหลเข้าสะสม
ทั้งปีมี 3,873 ล้านลูกบาศก์เมตร น้อยกว่าปีที่แล้วถึง 3,328 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมทั้งน้อยกว่าค่าเฉลี่ย 1,800 ล้านลูกบาศก์เมตร หากเทียบกับปี 2558 พบว่ามีปริมาณน้ำไหลเข้าทั้งปีใกล้เคียงกัน โดยปี 2562 มากกว่าอยู่เล็กน้อย ประมาณ 55 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น ส่วนน้ำระบายสะสมทั้งปีมี 6,178 ล้านลูกบาศก์เมตร น้อยกว่าปี 2561 ถึง 1,272 ล้าน
ลูกบาศก์เมตร แต่มากกว่าค่าเฉลี่ยอยู่เล็กน้อย ประมาณ 130 ล้านลูกบาศ์เมตร และหากเทียบกับปี 2558 พบว่าปีนี้มีการระบายน้ำมากกว่าปี 2558 ค่อนข้างมาก ซึ่งมากกว่าถึง 1,466 ล้านลูกบาศก์เมตร อีกทั้งในปี 2562 นี้มีการระบายน้ำมากกว่าปริมาณน้ำไหลเข้า ซึ่งหมายถึงมีการนำน้ำต้นทุนของปีก่อนออกมาใช้ถึง 2,305 ล้านลูกบาศก์เมตร
ปี 2562 เขื่อนแควน้อยมีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ ณ วันสิ้นปี 437 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 47% ของความจุเขื่อน อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย เป็นน้ำใช้การได้จริง 394 ล้านลูกบาศก์เมตร น้อยกว่าปีที่แล้ว 215 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่มากกว่าปี 2558 อยู่ 51 ล้าน
ลูกบาศก์เมตร ส่วนปริมาณน้ำไหลเข้าสะสมทั้งปีมี 599 ล้านลูกบาศก์เมตร น้อยกว่าปีที่แล้ว 422 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่มากกว่าปี 2558 อยู่เล็กน้อย ประมาณ 63 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนน้ำระบายสะสมทั้งปีมี 756 ล้านลูกบาศก์เมตร น้อยกว่าปีที่แล้ว
407 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมถึงน้อยกว่าปี 2558 อยู่เล็กน้อย ประมาณ 36 ล้านลูกบาศก์เมตร อีกทั้งปีนี้มีการระบายน้ำมากกว่าน้ำไหลเข้าอยู่ 157 ล้านลูกบาศก์เมตร
ปี 2562 เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ ณ วันสิ้นปี 229 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 24% ของความจุเขื่อน อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยวิกฤต เป็นน้ำใช้การได้จริง 226 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยปริมาณน้ำน้อยกว่าปี 2561 ถึง 330 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมถึงน้อยกว่าปี 2558 ซึ่งเป็นปีที่เกิดภัยแล้งอยู่ถึง 280 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนปริมาณน้ำไหลเข้าสะสมทั้งปี
มี 457 ล้านลูกบาศก์เมตร น้อยกว่าปีที่แล้วค่อนข้างมาก โดยน้อยกว่าถึง 1,825 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมถึงน้อยกว่าปี 2558 อยู่ 338 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนปริมาณน้ำระบายสะสมทั้งปีมี 547 ล้านลูกบาศก์เมตร น้อยกว่าปีที่แล้ว 1,750 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมถึงน้อยกว่าปี 2558 อยู่ 299 ล้านลูกบาศก์เมตร และเป็นการระบายน้ำที่มากกว่าปริมาณน้ำไหลเข้าทั้ง
ปี อยู่ 90 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งในปี 2562 นี้ สถานการณ์น้ำของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ถือว่าอยู่ในระดับที่วิกฤตมาก เพราะหากเทียบกับข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่มีการสร้างเขื่อนมา พบว่าปี 2562 เป็นปีที่มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือสิ้นปีน้อยที่สุดตั้งแต่มีการสร้างเขื่อน รวมทั้งมีปริมาณน้ำไหลเข้าทั้งปีและปริมาณน้ำระบายทั้งปีมีน้อยที่สุดด้วยเช่นกัน