เมื่อวิเคราะห์ปริมาณฝนที่ตกกับปริมาณน้ำที่ไหลเข้าเขื่อนเฉลี่ยในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีฝนตกปีละประมาณ 771,146 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี คิดเป็นปริมาณน้ำท่าประมาณ 215,150 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งบางส่วนของน้ำท่าที่ไหลลงเขื่อนขนาดใหญ่มีอยู่ประมาณ 41,663 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือประมาณ 5.4% ของฝนที่ตกเท่านั้น ทั้งนี้หากแจกแจงเป็นรายภาค ภาคเหนือมีน้ำไหลลงเขื่อน 6.9% ของปริมาณฝนที่ตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3.4% ภาคกลาง 15.2% ภาคตะวันออก 2.0% และ
ภาคใต้ 3.1% ทั้งนี้เขื่อนขนาดใหญ่ทั้งประเทศมีความจุรวมกันอยู่ที่ประมาณ 70,926 ล้านลูกบาศ์เมตร มีน้ำไหลลงเขื่อนเฉลี่ยปีละประมาณ 41,663 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือมีน้ำไหลลงเขื่อนเพียง 59% ของความจุเขื่อนเท่านั้น นอกจากนี้ปริมาณฝนที่ตกและปริมาณน้ำที่ไหลลงเขื่อนมีความแปรปรวนค่อนข้างสูง ฝนตกไม่สม่ำเสมอ ผิดที่ผิดเวลา ทำให้ปริมาณน้ำที่ไหลลงเขื่อนขนาดใหญ่ที่เป็นโครงสร้างน้ำหลักของประเทศมีความแปรปรวนสูงตามไปด้วย ดังนั้นจึงมี
ความจำเป็นต้องพัฒนาและฟื้นฟูแหล่งกักเก็บน้ำอื่นให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อช่วยเสริมเขื่อนขนาดใหญ่ซึ่งเป็นโครงสร้างหลัก ไม่ว่าจะเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก แก้มลิง ห้วย หนอง คลอง บึง บ่อต่าง ๆ เพื่อช่วยรองรับน้ำฝนกรณีฝนตกผิดที่ รวมถึงยังสามารถช่วยลดน้ำหลากกรณีเกิดฝนตกหนักผิดปกติอีกด้วย รวมถึงเพื่อเป็นการเตรียมรับมือกับสถานการณ์ฝนที่อาจมีความแปรปรวนมากขึ้นในอนาคต
ภาค | ปริมาณฝน (ล้าน ลบ.ม.) |
ปริมาณน้ำท่า (ล้าน ลบ.ม.) |
ความแปรปรวนสูงสุดของฝน | ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อน (ล้าน ลบ.ม.) |
ความจุรวมของเขื่อน (ล้าน ลบ.ม.) |
ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อน (ร้อยละของปริมาณฝน) |
ความแปรปรวนสูงสุด ของปริมาณน้ำไหลลงเขื่อน |
เหนือ | 199,468 | 50,066 | 36% | 13,756 | 24,825 | 6.9% | 118% |
ตะวันออกเฉียงเหนือ | 231,537 | 46,076 | 23% | 7,812 | 8,368 | 3.4% | 76% |
กลางและตะวันตก | 84,871 | 23,170 | 25% | 12,871 | 28,024 | 15.2% | 57% |
ตะวันออก | 67,759 | 26,223 | 21% | 1,342 | 1,515 | 2.0% | 52% |
ใต้ | 191,568 | 76,436 | 29% | 5,882 | 8,194 | 3.1% | 40% |
ค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ | 771,146 | 215,150 | 23% | 41,663 | 70,926 | 5.4% | 73% |