สถานการณ์น้ำในเขื่อนขนาดใหญ่





ปริมาณน้ำไหลเข้าและปริมาณน้ำระบาย - ปี 2562

เทียบข้อมูลระหว่างปี 2553-2561


จากการที่ประเทศไทยมีฝนตกน้อยกว่าปกติในหลายพื้นที่ของประเทศต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนานตั้งแต่ช่วงฤดูฝนปี 2561 ต่อเนื่องมาจนถึงสิ้นฤดูฝนปี 2562 ส่งผลทำให้มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนค่อนข้างน้อย โดยตลอดปี 2562 เขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 35 แห่งทั่งประเทศมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสมเพียง 29,354 ล้านลูกบาศก์เมตร เท่านั้น แต่มากกว่าปี 2558 และปี 2559 ที่เกิดภัยแล้งรุนแรงในอดีต แต่ถึงแม้ปี 2562 จะมีน้ำไหลลงเขื่อนค่อนข้างน้อยแต่กลับมีการระบายน้ำออกไปมากกว่าน้ำที่ไหลเข้าเขื่อน ซึ่งหมายถึงมีการนำน้ำต้นทุนของปีก่อนหน้าออกมาใช้งานนั่นเอง และเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลเป็นรายเขื่อนจะเห็นได้ว่าปี

2562 มีเขื่อนที่ระบายน้ำแบบขาดทุนถึง 26 เขื่อน ซึ่งถือว่าค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับข้อมูลย้อนหลังในรอบ 10 ปี และมีหลายเขื่อนที่มีตัวเลขทำลายสถิติข้อมูลปริมาณน้ำไหลเข้าและปริมาณน้ำระบาย โดยเขื่อนที่การระบายน้ำมากกว่าปริมาณน้ำไหลเข้ามากที่สุดในรอบ 10 ปี หรือเรียกได้ว่า ขาดทุนมากที่สุดในรอบ 10 ปี หรือหมายถึง การนำน้ำของปีก่อนหน้าออกมาใช้มากที่สุดในรอบ 10 ปี มีทั้งหมด 8 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนคลองสียัด เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนนฤบดินทรจินดา เขื่อนบางพระ เขื่อนประแสร์ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนแม่งัด และเขื่อนรัชชประภา ทั้งนี้เป็นเขื่อนที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกถึง 4 เขื่อน โดยเฉพาะเขื่อนประแสร์ที่ปีนี้เกิดการขาดทุน

เป็นครั้งแรกหลังจากที่เคยได้กำไรมาโดยตลอด นอกจากนี้ยังมีเขื่อนที่มีปริมาณน้ำไหลเข้าน้อยที่สุดในรอบ 10 ปี ได้แก่ เขื่อนกระเสียว เขื่อนคลองสียัด เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนทับเสลา เขื่อนนฤบดินทรจินดา เขื่อนบางพระ เขื่อนประแสร์ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนแม่มอก เขื่อนลำแซะ เขื่อนลำพระเพลิง และเขื่อนอุบลรัตน์ โดยเฉพาะเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนอุบลรัตน์ และเขื่อนจุฬาภรณ์ ที่มีปริมาณน้ำไหลเข้าน้อยที่สุดนับตั้งแต่มีการสร้างเขื่อน ซึ่งส่งผลทำให้เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือและปริมาณน้ำระบายน้อยที่สุดตั้งแต่มีการสร้างเขื่อนอีกด้วย









หมายเหตุ : ข้อมูลจากกรมชลประทาน





ปริมาณน้ำกักเก็บช่วงฤดูแล้ง - ทั้งประเทศ

เปรียบเทียบระหว่างช่วงต้นฤดูกับช่วงสิ้นสุดฤดู


เมื่อน้ำไหลลงเขื่อนมีค่อนข้างน้อย ประกอบกับมีการระบายน้ำขาดทุนเป็นจำนวนมากหลายเขื่อน ส่งผลทำให้มีน้ำกักเก็บคงเหลือเพื่อเป็นต้นทุนในช่วงฤดูแล้งปี 2562/2563 เพียง 47,400 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 23,858 ล้าน

ลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าฤดูแล้งของปีอื่น ๆ เมื่อเทียบกับข้อมูลย้อนหลังในรอบ 10 ปี แต่มากกว่าฤดูแล้งปี 2557/2558 และฤดูแล้งปี 2558/2559 และเนื่องจากมีการระบายน้ำออกไปใช้ในระหว่างฤดูค่อนข้างมากทำให้เมื่อถึงวันสิ้นฤดูแล้งปี

2562/2563 (30 เมษายน 2563) ปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศลดลงเหลือเพียง 13,834 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นน้ำใช้การได้จริง 10,288 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นปริมาณน้ำคงเหลือที่น้อยกว่าทุกฤดูแล้ง ยกเว้นฤดูแล้งปี 2558/2559



ปริมาณน้ำกักเก็บ
ปริมาณน้ำใช้การได้จริง


ปริมาณน้ำกักเก็บช่วงฤดูแล้ง - ลุ่มน้ำเจ้าพระยา

เปรียบเทียบระหว่างช่วงต้นฤดูกับช่วงสิ้นสุดฤดู


สำหรับลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่มีเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนปาสักชลสิทธิ์ เป็นเขื่อนหลักที่ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำ ฤดูแล้งปี 2562/2563 ทั้ง 4 เขื่อนมีปริมาณน้ำต้นทุนในวันต้นฤดู (1 พฤศจิกายน 2562) เพียง

12,072 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริงเพียง 5,377 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นปริมาณน้ำต้นทุนที่น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับฤดูแล้งอื่น ๆ ยกเว้นฤดูแล้งปี 2558/2559 และเมื่อถึงวันสิ้นฤดูแล้งเขื่อนทั้ง 4

มีปริมาณน้ำกักเก็บลดลงเหลือ 8,649 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นน้ำใช้การได้จริง 1,953 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับฤดูแล้งปีอื่น ๆ ยกเว้นช่วงฤดูแล้งปี 2558/2559



ปริมาณน้ำกักเก็บ
ปริมาณน้ำใช้การได้จริง





ปริมาณน้ำกักเก็บช่วงฤดูแล้ง - รายเขื่อน

เปรียบเทียบระหว่างช่วงต้นฤดูกับช่วงสิ้นสุดฤดู


- เขื่อนภูมิพล


ปริมาณน้ำกักเก็บ
ปริมาณน้ำใช้การได้จริง


- เขื่อนสิริกิติ์


ปริมาณน้ำกักเก็บ
ปริมาณน้ำใช้การได้จริง


- เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์


ปริมาณน้ำกักเก็บ
ปริมาณน้ำใช้การได้จริง


- เขื่อนศรีนครินทร์


ปริมาณน้ำกักเก็บ
ปริมาณน้ำใช้การได้จริง


- เขื่อนวชิราลงกรณ


ปริมาณน้ำกักเก็บ
ปริมาณน้ำใช้การได้จริง


- เขื่อนอุบลรัตน์


ปริมาณน้ำกักเก็บ
ปริมาณน้ำใช้การได้จริง


- เขื่อนจุฬาภรณ์


ปริมาณน้ำกักเก็บ
ปริมาณน้ำใช้การได้จริง