-
บันทึกเหตุการณ์ภัยแล้ง ปี 2563
ระดับน้ำในแม่น้ำสายหลัก - ลุ่มน้ำเจ้าพระยา
ปิง วัง ยม น่าน สะแกกรัง เจ้าพระยา ป่าสัก
ที่มา : ระบบโทรมาตรตรวจวัดระดับน้ำ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)
จากรายงานการตรวจวัดระดับน้ำผ่านระบบโทรมาตรอัตโนมัติของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำที่ติดตั้งในแม่น้ำสำคัญของลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยเปรียบเทียบสถานการณ์ระดับน้ำในช่วงฤดูแล้งปี 2562/2563 กับช่วงที่เกิดภัยแล้งรุนแรงในประเทศไทยเมื่อช่วงปลายปี 2557 จนถึงช่วงต้นปี 2559 รายละเอียดดังนี้
แม่น้ำปิง ที่สถานี PIN003-สะพานลานดอกไม้ อ.เมืองกำแพงเพชร ระดับน้ำในแม่น้ำค่อนข้างต่ำมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2562 ต่อเนื่องถึงช่วงต้นปี 2563 ซึ่งต่ำกว่าปีอื่น ๆ ค่อนข้างมาก ต่างจากสถานี PIN005-เก้าเลี้ยว อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ซึ่งเป็นสถานีตรวจวัดบริเวณตอนปลายของแม่น้ำปิง ที่ในช่วงต้นปี 2563 ระดับน้ำสูงกว่าปี 2557 2558 และ 2559 แต่ต่ำกว่าปี 2562
แม่น้ำปิง [สถานี PIN003-สะพานลานดอกไม้ อ.เมือง จ.กำแพงเพชร ]
แม่น้ำปิง [สถานี PIN005-เก้าเลี้ยว อ.เก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์ ]
แม่น้ำวัง ที่สถานี WAN005-เมืองลำปาง ในช่วงต้นปี 2563 ระดับน้ำสูงกว่าปี 2558 และ 2559 เล็กน้อย แต่ต่ำกว่าปี 2557 และ 2562ต่างกับสถานี WAN003-เถิน อ.เถิน จ.ลำปาง ที่ช่วงต้นปี 2563 ระดับน้ำมากกว่าปีอื่น ๆ อยู่เล็กน้อย
แม่น้ำวัง [สถานี WAN005-เมืองลำปาง อ.เมือง จ.ลำปาง ]
แม่น้ำวัง [สถานี WAN003-เถิน อ.เถิน จ.ลำปาง ]
แม่น้ำยม ที่สถานี YOM007-กงไกรลาศ จ.สุโขทัย ในช่วงต้นปี 2563 ระดับน้ำมากกว่าปี 2559 อยู่เล็กน้อย แต่น้อยกว่าปีอื่น ๆ ค่อนข้างมาก ส่วนที่สถานี YOM009-โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร ระดับน้ำมากกว่าปี 2557 2558 และ 2559 แต่น้อยกว่าช่วงต้นปี 2562
แม่น้ำยม [สถานี YOM007-กงไกรลาศ อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย ]
แม่น้ำยม [สถานี YOM009-โพธิ์ประทับช้าง อ.โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร ]
แม่น้ำน่าน ที่สถานี NAN012-เมืองพิษณุโลก และสถานี NAN008-ชุมแสง จ.นครสวรรค์ ช่วงต้นปี 2563 ทั้งสองจุดระดับน้ำต่ำกว่าปีอื่น
แม่น้ำน่าน [สถานี NAN008-ชุมแสง อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ ]
แม่น้ำน่าน [สถานี NAN012-เมืองพิษณุโลก อ.เมือง จ.พิษณุโลก ]
แม่น้ำเจ้าพระยา ที่สถานี CPY001-สะพานเดชาติวงศ์ อ.เมืองนคสวรรค์ ระดับน้ำช่วงต้นปี 2563 ค่อนข้างต่ำกว่าปีอื่น ๆ แต่ที่สถานี CPY005-สรรพยา จ.ชัยนาท ระดับน้ำใกล้เคียงกับปีอื่น ๆ
แม่น้ำเจ้าพระยา [สถานี CPY001-สะพานเดชาติวงศ์ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ]
แม่น้ำเจ้าพระยา [สถานี CPY005-สรรพยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ]
แม่น้ำป่าสัก ที่ต้นน้ำป่าสักบริเวณสถานี PAS001-หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ระดับน้ำช่วงต้นปี 2563 ใกล้เคียงกับช่วงต้นปี 2562 ซึ่งมากกว่าปีอื่น ๆ ส่วนที่สถานี PAS006-วังม่วง จ.สระบุรี ระดับน้ำต่ำกว่าทุกปี
แม่น้ำป่าสัก [สถานี PAS001-หล่มสัก อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ]
แม่น้ำป่าสัก [สถานี PAS006-วังม่วง อ.วังม่วง จ.สระบุรี ]
แม่น้ำสะแกกรัง ที่สถานี SKG001-สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี และสถานี SKG002-เมืองอุทัยธานี ระดับน้ำน้ำต่ำกว่าปีอื่น ๆ ทั้งสองจุด
แม่น้ำสะแกกรัง [สถานี SKG001-สว่างอารมณ์ อ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี ]
แม่น้ำสะแกกรัง [สถานี SKG002-เมืองอุทัยธานี อ.เมือง จ.อุทัยธานี ]
ระดับน้ำในแม่น้ำสายหลัก - ลุ่มน้ำมูล-ชี
ที่มา : ระบบโทรมาตรตรวจวัดระดับน้ำ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)
จากรายงานการตรวจวัดระดับน้ำผ่านระบบโทรมาตรอัตโนมัติของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำที่ติดตั้งในแม่น้ำมูลและแม่น้ำชี โดยเปรียบเทียบสถานการณ์ระดับน้ำในช่วงฤดูแล้งปี 2562/2563 กับช่วงที่เกิดภัยแล้งรุนแรงในประเทศไทยเมื่อช่วงปลายปี 2557 จนถึงช่วงต้นปี 2559 รายละเอียดดังนี้
แม่น้ำมูล ที่สถานี MUN002-เฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นจุดตรวจวัดบริเวณต้นน้ำมูล พบว่าช่วงต้นปี 2563 ระดับน้ำในแม่น้ำน้อยกว่าทุกปี ต่างกับตอนปลายของแม่น้ำมูลที่สถานี MUN006-วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ที่ช่วงต้นปี 2563 ปริมาณน้ำมากกว่าทุกปี เนื่องจากในช่วงปี 2562 บริเวณดังกล่าวมีฝนตกมากและมีน้ำไหลมาจากต้นน้ำทั้งในส่วนของต้นน้ำมูลเองและน้ำที่มาจากแม่น้ำชี
แม่น้ำมูล [สถานี MUN002-เฉลิมพระเกียรติ อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา ]
แม่น้ำมูล [สถานี MUN006-วารินชำราบ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ]
แม่น้ำชี ที่ต้นแม่น้ำชี บริเวณสถานี CHI001-บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ ช่วงต้นปี 2563 ระดับน้ำต่ำกว่าปี 2559 ส่วนที่ปลายแม่น้ำชีบริเวณสถานี CHI011-เขื่องใน จ.อุบลราชธานี ระดับน้ำใกล้เคียงกับปีอื่น
แม่น้ำชี [สถานี CHI001-บ้านเขว้า อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ ]
แม่น้ำชี [สถานี CHI011-เขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี ]
ปริมาณน้ำไหลผ่านในแม่น้ำสายหลัก - ลุ่มน้ำเจ้าพระยา
ที่มา : กรมชลประทาน
รายงานการตรวจวัดปริมาณน้ำไหลผ่านจากสถานีตรวจวัดหลักของกรมชลประทาน บริเวณท้ายแม่น้ำ ปิง ท้ายแม่น้ำน่าน แม่น้ำสะแกกรัง เจ้าพระยา และป่าสัก จะเห็นได้ว่าช่วงต้นปี 2563 ปริมาณน้ำในแม่น้ำมีน้อยมากเมื่อเทียบกับปีอื่น ๆ อีกทั้งบางจุดไม่สามารถตรวจวัดปริมาณน้ำไหลผ่านได้เนื่องจากน้ำน้อยเกินไป รายละเอียดตามกราฟด้านล่าง