ฝนแล้งตั้งแต่ปี 2561 2562 ต่อเนื่องถึงช่วงต้นปี 2563





ปริมาณฝนทั้งประเทศ
เปรียบเทียบข้อมูลสถิติฝนรายปีย้อนหลังในรอบ 39 ปี

จากกราฟแสดงปริมาณฝนที่ตกผิดไปจากปกติจะเห็นได้ว่าสถานการณ์ฝนเริ่มตกน้อยกว่าปกติมาตั้งแต่ปี 2561 และเมื่อเข้าสู่ปี 2562 ฝนตกน้อยกว่าปกติมากถึง 17% ซึ่งเป็นปริมาณฝนที่น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับ

ข้อมูลย้อนหลังในรอบ 39 ปี ส่งผลทำให้เกิดภัยแล้งต่อเนื่องมาถึงในช่วงต้นปี 2563 ซึ่งปริมาณฝนปี 2562 ทำลายสถิติฝนตกน้อยที่สุดของปี 2558 ที่ประเทศไทยประสบภับภัยแล้งรุนแรงซึ่งเกิดจากสถานการณ์

ฝนตกน้อยต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2557 ไม่ต่างกันกับภัยแล้งที่เกิดในลุ่มน้ำเจ้าพระยาเมื่อปี 2553 ซึ่งเป็นผลมาจากปริมาณฝนตกน้อยต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2552 ด้วยเช่นกัน



หมายเหตุ : ประมาณค่าฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา




ปริมาณฝนรายภาค
เปรียบเทียบข้อมูลสถิติฝนรายปีย้อนหลัง

เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลปริมาณฝนรายภาคของปี 2562 กับค่าปกติและค่าฝนรายปีย้อนหลังในรอบ 39 ปี จะเห็นได้ว่าปี 2562 ฝนตกน้อยกว่าปกติในทุกภาค โดยภาคเหนือมีฝนตกน้อยกว่าปกติ 20% ซึ่งน้อยเป็นอันดับที่ 2 รองจากปี 2536 รวมถึงน้อยกว่าปี 2553 และ 2558 ที่เกิดภัยแล้งรุนแรงในพื้นที่ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือฝนตกน้อยกว่าปกติ

13% แต่ตกมากกว่าปี 2558 ที่เกิดภัยแล้งรุนแรงในพื้นที่ สำหรับภาคกลางฝนตกน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับข้อมูลในรอบ 39 ปี โดยฝนตกน้อยกว่าปกติถึง 26% และจะเห็นได้ว่าหลังจากปี 2554 เป็นต้นมา มีเพียงปี 2560 เพียงปีเดียวเท่านั้นที่มีฝนตกมาก ส่วนภาคตะวันออกฝนตกน้อยกว่าปกติ 15% โดยปริมาณฝนน้อยกว่าปี 2547 และ 2548 ที่ภาค

ตะวันออกประสบปัญหาภัยแล้งรุนแรง สำหรับภาคใต้ฝั่งตะวันออก ฝนตกน้อยกว่าปกติถึง 18% และจะเห็นได้ว่าตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา ภาคใต้ฝั่งตะวันออกไม่เคยเกิดสถานการณ์ฝนตกน้อยกว่าปกติเลย จนมาถึงปี 2562 ที่เกิดสถานการณ์ขึ้นอีกครั้ง สำหรับภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกน้อยกว่าปกติ 16%













หมายเหตุ : ประมาณค่าฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา






ปริมาณฝนช่วงต้นปี 2563
มกราคม-เมษายน 2563

จากที่กล่าวมาข้างต้นแล้วว่าปริมาณฝนได้ตกน้อยต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงฤดูฝนปี 2561 ต่อเนื่องถึงปี 2562 และในช่วงต้นปี 2563 ปริมาณฝนก็ยังคงตกน้อยต่อเนื่อง โดยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน 2563 มีฝนตกเฉลี่ยทั้งประเทศประมาณ 118 มิลลิเมตร น้อยกว่าปกติ 27% โดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปมีฝนตกน้อยกว่าปกติมากทั้ง ๆ ที่อยู่ในช่วงฤดูฝน โดยภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนตกน้อยกว่าปกติถึง 37% ส่วนฝั่งตะวันตกมีฝน

ตกน้อยกว่าปกติถึง 40% สำหรับพื้นที่ตอนบนของประเทศ ภาคเหนือมีฝนตกน้อยกว่าปกติ 23% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 21% และภาคกลาง 51% โดยมีฝนตกมากกว่าปกติเกิดขึ้นเป็นหย่อมเล็ก ๆ ในบางพื้นที่เท่านั้น ยกเว้นภาคตะวันออกที่พื้นที่ส่วนใหญ่มีฝนตกมากกว่าปกติ ปริมาณโดยเฉลี่ยทั้งภาค ตกมากว่าปกติ 7% และเมื่อวิเคราะห์เป็นรายเดือนพบว่าตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ประเทศไทยมีฝนตกน้อยกว่าปกติทุกเดือน โดยภาคเหนือมีฝนตกน้อยกว่า

ปกติเกือบทุกเดือนยกเว้นเดือนเมษายน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกนอ้ยกว่าปกติเกือบทุกเดือนยกเว้นเดือนมีนาคม ภาคกลางมีฝนตกน้อยกว่าปกติทุกเดือน ภาคตะวันออกมีฝนตกน้อยกว่าปกติในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ ภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนตกน้อยกว่าปกติในเดือนมกราคมและมีนาคม ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกน้อยกว่าปกติทุกเดือน









ที่มา : สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)