ปี 2565 เขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 35 แห่งทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสมรวมกันทั้งปี 54,054 ล้านลูกบาศก์เมตร มากที่สุดเมื่อเทียบกับข้อมูลย้อนหลังในรอบ 10 ปี และมีการระบายน้ำออกไปค่อนข้างมากเช่นกัน โดยระบายไปถึง 45,020
ล้านลูกบาศก์เมตร มากเป็นอันดับที่ 2 รองจากปี 2561 แต่เป็นปริมาณน้ำระบายที่น้อยกว่าปริมาณน้ำไหลเข้า ทำให้ปริมาณน้ำกักเก็บ ณ วันสิ้นปีเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเป็น 56,996 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 80% ของความจุเขื่อน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก
โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 33,459 ล้านลูกบาศก์เมตร หากเทียบกับข้อมูลย้อนหลังในรอบ 10 ปี ( 2556-2565) พบว่าปี 2565 มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือมากเป็นอันดับที่ 2 รองจากปี 2560
เนื่องจากปี 2565 มีฝนตกมากกว่าเกณฑ์ปกติในทุกภาค ส่งผลทำให้มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนขนาดใหญ่ในแต่ละภาคมีค่อนข้างมากตามไปด้วย โดยภาคเหนือมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนทั้งปีสูงถึง 18,541 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งมากที่สุดเมื่อเทียบกับ
ข้อมูลย้อนหลังในรอบ 10 ปี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนทั้งปี 12,071 ล้านลูกบาศก์เมตร มากเป็นอันดับที่ 2 รองจากปี 2560 ภาคกลางมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนทั้งปี 14,967 ล้านลูกบาศก์เมตร มากเป็นอันดับที่ 3 รองจากปี 2564
และ 2561 ภาคตะวันออกมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนทั้งปี 1,763 ล้านลูกบาศก์เมตร มากเป็นอันดับที่ 2 รองจากปี 2561 ภาคใต้มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนทั้งปี 6,713 ล้านลูกบาศก์เมตร มากที่สุดเป็นอันดับที่ 3 รองจากปี 2561 และ 2564
เนื่องจากช่วงต้นปี 2565 เขื่อนขนาดใหญ่มีปริมาณน้ำกักเก็บรวมกันสูงถึง 75% ของความจุ ประกอบกับระหว่างปีมีฝนค่อนข้างมากทำให้มีน้ำไหลเข้าเขื่อนค่อนข้างมาก ทำให้ต้องระบายน้ำออกจากเขื่อนค่อนข้างมากด้วยเช่นกัน โดยภาคเหนือมีปริมาณน้ำระบายรวมทั้งปี 11,609 ล้านลูกบาศก์เมตร
มากเป็นอันดับ 4 รองจากปี 2561 2562 และ 2560 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปริมาณน้ำระบายรวมทั้งปี 9,596 ล้านลูกบาศก์เมตร มากเป็นอันดับที่ 2 รองจากปี 2560 ภาคตะวันออกมีปริมาณน้ำระบายรวมทั้งปี 1,374 ล้านลูกบาศก์เมตร มากเป็น
อันดับที่ 2 รองจากปี 2561 ภาคกลางมีปริมาณน้ำระบายรวมทั้งปี 15,284 ล้านลูกบาศก์เมตร มากที่สุดเมื่อเทียบกับข้อมูลย้อนหลังในรอบ 10 ปี ภาคใต้มีปริมาณน้ำระบายรวมทั้งปี 7,157 ล้านลูกบาศก์เมตร มากเป็นอันดับที่ 2 รองจากปี 2561
ถึงแม้จะมีการระบายน้ำออกไปค่อนข้างมาก แต่เกือบทุกภาคยังคงมีปริมาณน้ำเก็บคงเหลือสิ้นปีอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก (มากกว่า 80% ของความจุเขื่อน) ยกเว้นภาคใต้ที่อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง อีกทั้งปีนี้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกมีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือสิ้นปีมากที่สุดเมื่อเทียบกับข้อมูลย้อนหลังในรอบ 10 ปี รายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้
ภาคเหนือ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือสิ้นปี 19,991 ล้านลูกบาศก์เมตร (81% ของความจุเขื่อน) อยู่ในเกณฑ์น้ำมาก โดยมากเป็นอันดับที่ 2 รองจากปี 2560 ทั้งนี้เป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 13,246 ล้านลูกบาศก์เมตร
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 6,981 ล้านลูกบาศก์เมตร (83% ของความจุเขื่อน) อยู่ในเกณฑ์น้ำมาก โดยมากที่สุดเมื่อเทียบกับข้อมูลย้อนหลังในรอบ 10 ปี ทั้งนี้เป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 5,331 ล้านลูกบาศก์เมตร
ภาคกลาง มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 22,987 ล้านลูกบาศก์เมตร (82% ของความจุเขื่อน) อยู่ในเกณฑ์น้ำมาก ทั้งนี้เป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 9,650 ล้านลูกบาศก์เมตร
ภาคตะวันออก มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 1,307 ล้านลูกบาศก์เมตร (86% ของความจุเขื่อน) อยู่ในเกณฑ์น้ำมาก โดยมากที่สุดเมื่อเทียบกับข้อมูลย้อนหลังในรอบ 10 ปี ทั้งนี้เป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 1,213 ล้านลูกบาศก์เมตร
ภาคใต้ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 5,730 ล้านลูกบาศก์เมตร (70% ของความจุเขื่อน) อยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง ทั้งนี้เป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 4,020 ล้านลูกบาศก์เมตร
หากแบ่งเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 35 แห่ง ที่มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 ออกเป็นกลุ่มตามเกณฑ์ปริมาณน้ำกักเก็บของกรมชลประทาน สามารถแบ่งได้ดังนี้
เขื่อนที่มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือเกินความจุเขื่อน (มากกว่า 100% ของความจุเขื่อน มี 4 แห่ง ได้แก่ เขื่อนกิ่วคอหมา (111.02%) เขื่อนลำตะคอง (108.13%) เขื่อนหนองปลาไหล [104.36%) เขื่อนแม่งัด [ 103.52%]
เขื่อนที่มีปริมาณน้ำเก็บกักคงเหลืออยู่ในเกณฑ์น้ำมาก (มากกว่า 80-100% ของความจุเขื่อน) มีทั้งหมด 23 แห่ง ได้แก่ เขื่อนกระเสียว [99.44%] เขื่อนกิ่วลม [98.00%] เขื่อนแม่กวง [94.91%] เขื่อนมูลบน [94.33%] เขื่อนลำพระเพลิง [93.78%] เขื่อนลำแซะ [93.76%]
เขื่อนลำนางรอง [93.21%] เขื่อนบางพระ [92.78%] เขื่อนขุนด่านปราการชล [91.98%] เขื่อนประแสร์ [91.08%] เขื่อนศรีนครินทร์ [89.21%] เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ [88.70%] เขื่อนภูมิพล [88.44%] เขื่อนจุฬาภรณ์ [87.90%] เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน [87.00%] เขื่อนลำปาว [85.86%] เขื่อนนฤบดินทรจินดา [85.60%] เขื่อนแม่มอก [84.85%] เขื่อนบางลาง [84.83%] เขื่อนสิรินธร [82.71%] เขื่อนทับเสลา [82.19%] เขื่อนอุบลรัตน์ [81.68%] เขื่อนห้วยหลวง [81.63%]
เขื่อนที่มีปริมาณน้ำเก็บกักคงเหลืออยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง (มากกว่า 50-80% ของความจุเขื่อน) มีทั้งหมด 8 แห่ง ได้แก่ เขื่อนคลองสียัด [71.52%] เขื่อนแก่งกระจาน [69.48%] เขื่อนสิริกิติ์ [66.86%]
เขื่อนรัชชประภา [66.57%] เขื่อนวชิราลงกรณ [66.34%] เขื่อนน้ำอูน [65.03%] เขื่อนปราณบุรี [63.76%] เขื่อนน้ำพุง [52.98%]
เขื่อนที่มีปริมาณน้ำเก็บกักคงเหลืออยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย (ตั้งแต่ 30-50% ของความจุเขื่อน) ปี 2565 ไม่มีเขื่อนใดที่มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลืออยู่ในเกณฑ์น้อย
เขื่อนที่มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลืออยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยวิกฤต (น้อยกว่า 30% ของความจุเขื่อน) ปี 2565 ไม่มีเขื่อนใดที่มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือน้อยกว่า 30% ของความจุเขื่อน
สถานการณ์น้ำที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2565 ส่งผลทำให้น้ำต้นทุนของเขื่อนขนาดใหญ่สำหรับใช้ในปี 2566 มีค่อนข้างมาก โดยในช่วงปลายปี มีเขื่อนที่ปริมาณน้ำกักเก็บเกินความจุอยู่ 4 แห่ง เขื่อนที่มีปริมาณน้ำ
กักเก็บอยู่ในเกณฑ์น้ำมากสูงถึง 23 แห่ง เกณฑ์น้ำปานกลางอีก 8 แห่ง และไม่มีเขื่อนใดเลยที่มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยและน้ำน้อยวิกฤต เนื่องจากเกิดฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ ส่งผล
ทำให้มีน้ำไหลลงเขื่อนค่อนข้างมาก จนทำให้บางเขื่อนประสบกับสถานการณ์น้ำที่ต่างไปจากปกติที่เคยเป็น รวมถึงมีตัวเลขปริมาณน้ำที่ทำลายสถิติในหลายเขื่อน ดังรายละเอียดต่อไปนี้