สัดส่วนน้ำไหลเข้ารวมทั้งปีต่อน้ำระบายรวมทั้งปี

ปี 2565 มีน้ำไหลลงเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 35 แห่งทั่วประเทศ 54,054 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่มีการระบายออกไป 45,020 ล้านลูกบาศก์เมตร หากเปรียบปริมาณน้ำไหลเข้ามากกว่าน้ำระบายคือการได้กำไร และปริมาณน้ำระบายมากกว่าน้ำไหลเข้าคือการ

ขาดทุนเท่ากับว่า ปี 2565 ได้กำไร 17% หรือกักเก็บน้ำไว้ได้เพิ่มจากปี 2564 ประมาณ 9,034 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งหากวิเคราะห์เป็นรายภาคจะเห็นว่าปีนี้ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก ได้กำไร ส่วนภาคกลางและ

ภาคใต้ขาดทุน โดยภาคเหนือได้กำไรมากที่สุด 37% รองลงมาคือภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ได้กำไร 22% และ 21% ตามลำดับ ส่วนภาคใต้ขาดทุนถึง 7% ภาคกลางขาดทุน 2%




จากสถิติย้อนหลังในรอบ 10 ปี (2556-2565) แสดงให้เห็นว่าปีที่มีน้ำไหลลงเขื่อนรวมทั้งปีมากกว่าน้ำระบายรวมทั้งปี มีทั้งหมด 7 ปี ได้แก่ ปี 2556 2559 2560 2561 2563 2564 และปี 2565 ส่วนปีที่มีน้ำไหลลงเขื่อนรวมทั้งปีน้อยกว่าน้ำระบายรวมทั้งปี มีทั้งหมด 4 ปี ได้แก่ ปี 2557

2558 และ 2562 หากแจกแจงเป็นรายภาค พบว่าเขื่อนในภาคเหนือมีน้ำไหลเข้ามากกว่าน้ำระบายอยู่ 7 ปี คือ ปี 2556 2559 2560 2563 2564 และ 2565 ส่วนปีที่เหลือมีน้ำไหลลงเขื่อนรวมทั้งปีน้อยกว่าน้ำระบายรวมทั้งปี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีน้ำไหลลงเขื่อนน้อยกว่าน้ำระบาย

เพียง 2 ปี คือปี 2555 และปี 2561 ภาคกลางมีเพียงปี 2557 2562 2563 และ 2565 ที่มีน้ำไหลลงเขื่อนน้อยกว่าน้ำระบาย สำหรับภาคตะวันออก ปี 2562 เป็นเพียงปีเดียวที่น้ำไหลลงเขื่อนน้อยกว่าน้ำระบาย ส่วนภาคใต้มีน้ำไหลลงเขื่อนน้อยกว่าน้ำระบายเพียง 3 ปี ได้แก่ ปี 2558 2562 และ 2565


ทั้งประเทศ



ภาคเหนือ



ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



ภาคกลาง



ภาคตะวันออก



ภาคใต้


ทั้งนี้ในปี 2565 มีเขื่อนที่ระบายน้ำทั้งปีมากกว่าน้ำไหลเข้าทั้งปี อยู่ 7 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนแก่งกระจาน เขื่อนทับเสลา เขื่อนบางพระ เขื่อนปราณบุรี เขื่อนรัชชประภา เขื่อน

ลำพระเพลิงและเขื่อนวชิราลงกรณ ส่วนเขื่อนที่เหลืออีก 28 เขื่อนมีน้ำไหลเข้าสะสมทั้งปีมากกว่าน้ำที่ระบายทั้งปี หรือเป็นเขื่อนที่กักเก็บน้ำไว้ได้เพิ่มขึ้นจากปี 2564 นั่นเอง

โดยเฉพาะเขื่อนภูมิพล เขื่อนแม่กวง เขื่อนแม่งัดและเขื่อนลำปาว ที่น้ำกักเก็บไว้ได้เพิ่มมีปริมาณมากที่สุดหากเทียบกับข้อมูลย้อนหลังในรอบ 10 ปี



หมายเหตุ : ข้อมูลจากกรมชลประทาน