จากการวิเคราะห์ความรุนแรงของสภาวะฝนแล้งด้วยดัชนีฝนมาตรฐาน (SPI) โดย USDA จะเห็นได้ว่าในภาพรวมทั้งปี 2565
ทั้งปี 2565 ไม่พบสภาวะฝนแล้งบริเวณประเทศไทย แต่กลับมีฝนค่อนข้างมากในหลายพื้นที่ของภาคเหนือตอนล่างของภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และบางพื้นที่ของภาคกลางและภาคใต้
หากแบ่งการวิเคราะห์สภาวะฝนแล้งเป็นช่วงครึ่งปีแรกและช่วงครึ่งปีหลัง พบว่าไม่มีบริเวณที่เกิดสภาวะภัยแล้งทั้งสองช่วง โดย
ในช่วงครึ่งปีหลังมีฝนมากในหลายพื้นที่ของภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก ต่างจากภาคใต้ที่ช่วงครึ่งปีแรก
มีฝนมากกว่าช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งถือเป็นสถานการณ์ที่ค่อนข้างปกติเป็นไปตามฤดูกาล
แต่หากวิเคราะห์เป็นราย 3 เดือน จะพบว่าช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน 2565 เกิดสภาวะฝนแล้งในบางพื้นที่ทางตอนล่างของภาคเหนือ ด้านตะวันตกของภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือและตอนบนของภาคกลาง ส่วนช่วงเดือนอื่น ๆ สถานการณ์ฝนค่อนข้างปกติไปจนถึงฝนมาก โดยเฉพาะ
ช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคมที่มีฝนค่อนข้างมากกระจายตัวเป็นบริเวณกว้างในทุกภาคของประเทศ
หากวิเคราะห์สภาวะฝนแล้งเป็นรายเดือน พบว่าเดือนมกราคมเกิดสภาะฝนแล้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ โดยเฉพาะภาคใต้ที่เกิดสภาวะฝนแล้งอยู่ในเกณฑ์รุนแรงในหลายพื้นที่ นอกจากนี้ยังเกิดสภาวะฝนแล้งช่วงเดือนเมษายน บริเวณตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และตอนบนของภาคใต้ ต่อมาได้เกิดสภาวะฝนแล้งในเดือนมิถุนายน ซึ่งเกิดขึ้นกระจายตัวในทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะภาคเหนือที่เกิดสภาวะฝนแล้งรุนแรงมากในหลายพื้นที่ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ เกิดสภาวะฝนแล้งรุนแรงมากในบางพื้นที่ ต่อมาได้เกิด
สภาวะฝนแล้งรุนแรงบริเวณภาคใต้ตอนบนในเดือนกันยายน และได้เกิดสภาวะฝนแล้งบริเวณภาคกลางในเดือนตุลาคม ส่วนเดือนธันวาคม เกิดสภาวะภัยแล้งบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และบางพื้นที่ของภาคเหนือ