การกระจายตัวของฝน ปี 2565
และความผิดปกติของฝนเมื่อเทียบกับค่าปกติ


ปี 2565 ประเทศไทยมีปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งประเทศ 1,848 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 349 มิลลิเมตร หรือมากกว่าปกติประมาณ

23% พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีฝนตกมากกว่าปกติ แต่มีฝนตกน้อยกว่าปกติเกิดขึ้นเป็นหย่อมเล็ก ๆ ในทุกภาค โดยเฉพาะ

บางพื้นที่ทางด้านตะวันออกภาคตะวันออกเฉียงเหนือและตอนกลางของภาคใต้ที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติค่อนข้างมาก

หมายเหตุ : ประมาณค่าฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา

ภาคเหนือ มีฝนตกเฉลี่ยทั้งภาค 1,365 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 25% พื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคมีฝนตกมากกว่าปกติ โดยจังหวัดลำพูนมีฝนตกมากกว่าปกติสูงที่สุดถึง 39.76% รองลงมาคือจังหวัดเชียงใหม่และลำปางที่มีฝนตกมากกว่าปกติ 34.54% และ 32.77% และมีฝนตกน้อยกว่าปกติเกิดขึ้นในบางพื้นที่ของจังหวัดเพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ น่าน เชียงใหม่ ตาก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนตกเฉลี่ยทั้งภาค 1,766 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 27% พื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคมีฝนตกมากกว่าปกติ โดยจังหวัดบุรีรัมย์มีฝนตกมากกว่าปกติสูงที่สุดถึง 56.88% รองลงมาคือจังหวัดนครราชสีมาและบึงกาฬที่มีฝนตกมากกว่าปกติ 43.33% และ 41.02% และมีฝนตกน้อยกว่าปกติเกิดขึ้นในบางพื้นที่ของจังหวัดนครพนม สกลนคร มุกดาหาร อุดรธานี หนองบัวลำภูและสุรินทร์ โดยเฉพาะจังหวัดนครพนมที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติ 10.57% ซึ่งน้อยเป็นอันดับที่สองของประเทศรองจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ภาคกลาง มีฝนตกเฉลี่ยทั้งภาค 1,520 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 24% พื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคมีฝนตกมากกว่าปกติ โดยจังหวัดนนทบุรีมีฝนตกมากกว่าปกติที่สุด 40.72% รองลงมาคือกรุงเทพมหานครและสมุทรปราการที่มีฝนตกมากกว่าปกติ 39.62% และ 39.35% และมีฝนตกน้อยกว่าปกติเกิดขึ้นในบางพื้นที่ของจังหวัดกาญจนบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ราชบุรีและสมุทรสาคร

ภาคตะวันออก มีฝนตกเฉลี่ยทั้งภาค 2,192 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 20% พื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคมีฝนตกมากกว่าปกติ โดยจังหวัดนครนายกมีฝนตกมากกว่าปกติสูงที่สุดถึง 57.68% ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีฝนตกมากกว่าปกติมากที่สุดในประเทศไทยประจำปี 2565 ส่วนฝนตกมากกว่าปกติเป็นลำดับ 2 และ 3 ของภาคตะวันออกคือจังหวัดปราจีนบุรีและระยองที่มีฝนตกมากกว่าปกติ 32.53% และ 31.43% และมีฝนตกน้อยกว่าปกติเกิดขึ้นเป็นหย่อมเล็ก ๆ ในบางพื้นที่ของจังหวัดสระแก้ว ฉะเชิงเทรา จันทบุรีและตราด

ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนตกเฉลี่ยทั้งภาค 2,580 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 19% พื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคมีฝนตกมากกว่าปกติ โดยจังหวัดนราธิวาสมีฝนตกมากกว่าปกติที่สุด 42.48% รองลงมาคือจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และปัตตานีที่มีฝนตกมากกว่าปกติ 41.00% และ 40.12% และมีฝนตกน้อยกว่าปกติเกิดขึ้นในบางพื้นที่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติ 10.83% ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติมากที่สุดในประเทศประจำปี 2565

ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตกเฉลี่ยทั้งภาค 3,026 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 23% พื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคมีฝนตกมากกว่าปกติ โดยจังหวัดพัทลุงมีฝนตกมากกว่าปกติที่สุด 44.12% รองลงมาคือจังหวัดตรังและสตูลที่มีฝนตกมากกว่าปกติ 28.06% และ 21.48% และมีฝนตกน้อยกว่าปกติเกิดขึ้นในบางพื้นที่ของจังหวัดกระบี่ ซึ่งมีฝนตกน้อยกว่าปกติ 5.55% ซึ่งน้อยกว่าปกติที่สุดเป็นอันดับ 3 ของประเทศประจำปี 2565

หมายเหตุ : ประมาณค่าฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา



ปี 2565 ประเทศไทยมีปริมาณฝนมากกว่าค่าปกติ 23%

ภาค  ปริมาณฝน ปี 2565  ปริมาณฝนที่ต่างจากปกติ
มิลลิเมตร เปอร์เซ็นต์
เหนือ 1,565 +318 +25
ตะวันออกเฉียงเหนือ 1,766 +373 +27
กลาง 1,520 +294 +24
ตะวันออก 2,192 +359 +20
ใต้ฝั่งตะวันออก 2,580 +418 +19
ใต้ฝั่งตะวันตก 3,026 +348 +13
ทั้งประเทศ 1,848 +349 +23


หมายเหตุ : ประมาณค่าฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา



รหัสจังหวัด ชื่อจังหวัด  ฝนตกต่างจากปกติ (%)  รหัสจังหวัด ชื่อจังหวัด  ฝนตกต่างจากปกติ (%) 
26 นครนายก      57.68 37 อำนาจเจริญ      26.34
31 บุรีรัมย์      56.88 44 มหาสารคาม      25.79
93 พัทลุง      44.12 13 ปทุมธานี      25.68
30 นครราชสีมา      43.33 42 เลย      25.32
96 นราธิวาส      42.48 27 สระแก้ว      24.00
38 บึงกาฬ      41.02 63 ตาก      23.88
77 ประจวบคีรีขันธ์      41.00 64 สุโขทัย      23.70
12 นนทบุรี      40.72 86 ชุมพร      23.22
94 ปัตตานี      40.12 58 แม่ฮ่องสอน      23.17
51 ลำพูน      39.76 20 ชลบุรี      22.83
10 กรุงเทพมหานคร      39.62 35 ยโสธร      22.69
11 สมุทรปราการ      39.35 91 สตูล      21.48
34 อุบลราชธานี      39.20 67 เพชรบูรณ์      21.06
32 สุรินทร์      38.25 76 เพชรบุรี      21.02
36 ชัยภูมิ      34.73 45 ร้อยเอ็ด      20.06
18 ชัยนาท      34.72 24 ฉะเชิงเทรา      20.00
50 เชียงใหม่      34.54 14 พระนครศรีอยุธยา      19.61
73 นครปฐม      34.24 65 พิษณุโลก      19.20
90 สงขลา      33.49 66 พิจิตร      19.11
60 นครสวรรค์      33.38 55 น่าน      18.68
52 ลำปาง      32.77 80 นครศรีธรรมราช      16.51
25 ปราจีนบุรี      32.53 54 แพร่      15.06
62 กำแพงเพชร      32.42 70 ราชบุรี      14.32
72 สุพรรณบุรี      31.89 39 หนองบัวลำภู      14.06
83 ภูเก็ต      31.71 71 กาญจนบุรี      13.22
19 สระบุรี      31.58 46 กาฬสินธุ์      13.07
21 ระยอง      31.43 85 ระนอง      12.95
33 ศรีสะเกษ      30.95 82 พังงา      12.23
95 ยะลา      30.78 41 อุดรธานี      11.79
40 ขอนแก่น      30.48 53 อุตรดิตถ์      11.57
74 สมุทรสาคร      29.96 22 จันทบุรี        8.37
57 เชียงราย      29.48 49 มุกดาหาร        2.56
43 หนองคาย      28.12 23 ตราด        1.94
92 ตรัง      28.06 75 สมุทรสงคราม        1.91
56 พะเยา      27.72 47 สกลนคร        0.09
17 สิงห์บุรี      26.54 81 กระบี่ -      5.55
16 ลพบุรี      26.52 48 นครพนม -    10.57
15 อ่างทอง      26.39 84 สุราษฎร์ธานี -    10.83
61 อุทัยธานี      26.37      


เมื่อเปรียบเทียบปริมาณและการกระจายตัวของฝนในปี 2565 กับข้อมูลย้อนหลังในรอบ 20 ปี (2546-2564) พบว่าปี 2565 มีฝนตกมากที่สุด ซึ่งหมายรวมถึงมากกว่าปี 2554 ที่ประเทศไทยเกิดอุทกภัยร้ายแรง และมากกว่าปี 2560 ที่มีฝนตกหนักใกล้เคียงกับปี 2554 แต่ทั้งนี้ปี 2560 และปี 2565 ไม่ได้เกิดอุทกภัยร้ายแรงเป็นบริเวณกว้างและท่วมเป็นระยะเวลายาวนานเหมือนกับปี 2554 เนื่องจากลักษณะฝนมีความแตกต่างกัน โดยปี 2554 มีฝนตกหนักมากครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลางตอนบน ทำให้น้ำไหลลงไปสู่ภาคกลางซึ่งเป็น

พื้นที่ลุ่มต่ำ ยากต่อการระบายน้ำจึงทำให้เกิดน้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้างและยาวนาน ต่างจากปี 2560 ที่มีฝนตกหนักในพื้นที่ภาคใต้ซึ่งมีศักยภาพในการระบายน้ำลงทะเลได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงฝนตกหนักบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนที่สามารถระบายลงไปยังแม่น้ำโขงได้ ทำให้ไม่เกิดการท่วมขังเป็นบริเวณกว้างและเป็นระยะเวลายาวนานเหมือนปี 2554 สำหรับปี 2565 มีฝนตกหนักเป็นหย่อมเล็ก ๆ กระจายตัวในหลายพื้นที่ และมีฝนตกหนักกระจุกตัวเป็นบริเวณกว้างในพื้นที่ภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไป รวมถึงตอนบนของ

ภาคเหนือบริเวณจังหวัดเชียงราย ตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดบึงกาฬ ตอนล่างของภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษและอุบลราชธานี ตอนบนของภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดนครนายกและปราจีนบุรี รวมถึงกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีฝนมากกว่าปีอื่น ๆ ด้วยลักษณะการกระจายตัวของฝนที่ตกในปี 2565 ทำให้เกิดน้ำท่วมเป็นหย่อม ๆ ในบางพื้นที่เท่านั้น และไม่ท่วมยาวนานเหมือนปี 2554



หมายเหตุ : ประมาณค่าฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา