ปริมาณฝนรายเดือน
เปรียบเทียบข้อมูลสถิติฝนรายเดือนย้อนหลังในรอบ 40 ปี

ปี 2565 มีเดือนที่ฝนตกมากกว่าปกติถึง 10 เดือน มีเพียงเดือนมกราคมและเดือนมิถุนายนเท่านั้นที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติ ทั้งนี้เดือนกันยายนมีฝนตกมากที่สุด 331

มิลลิเมตร รองลงมาคือเดือนสิงหาคมที่มีฝนตก 271 มิลลิเมตร และเดือนมกราคมมีฝนตกน้อยที่สุดเพียง 17 มิลลิเมตร แต่เดือน

กุมภาพันธ์กลับมีฝนตกมากเป็นประวัติการณ์ ปริมาณฝนสูงถึง 83 มิลลิเมตร มากกว่าปกติถึง 4.6 เท่า

หมายเหตุ : วิเคราะห์ข้อมูลปริมาณฝนรายปีเฉลี่ยทั่งประเทศย้อนหลัง 40 ปี โดยเทียบกับค่าปกติ (ค่าเฉลี่ยฝน 30 ปี ในช่วงปี 2534-2563)
ซึ่งมีการประมาณค่าปริมาณฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา




เดือนมกราคม

ปี 2565 ประเทศไทยมีฝนตก 17 มิลลิเมตร น้อยกว่าปกติ 7 มิลลิเมตร หรือน้อยกว่าปกติ 29% พื้นที่ตอนบนของประเทศทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาคกลางและภาคตะวันออก ส่วนใหญ่มีฝนตกอยู่ในเกณฑ์ปกติและมีฝนตกมากกว่าปกติและฝนตกน้อยกว่าปกติ เกิดขึ้นเป็น

หย่อม ๆ ในบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนตกน้อยกว่าปกติเกือบทุกพื้นที่ของภาค ทั้งนี้ปี 2565 มีฝนตกเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเล็กน้อย


หมายเหตุ : วิเคราะห์ข้อมูลปริมาณฝนรายปีเฉลี่ยทั่งประเทศย้อนหลัง 40 ปี โดยเทียบกับค่าปกติ (ค่าเฉลี่ยฝน 30 ปี ในช่วงปี 2534-2563)
ซึ่งมีการประมาณค่าปริมาณฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา




เดือนกุมภาพันธ์

ปี 2565 ประเทศไทยมีฝนตก 83 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 65 มิลลิเมตร หรือน้อยกว่าปกติประมาณ 361% เมื่อเทียบกับสถิติในอดีตย้อนหลัง 40 ปี จะเห็นได้ว่าปี 2565 มีฝนตกมากที่สุด รวมทั้งเกิดฝนตก

มากกว่าปกติกระจายตัวในทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะภาคใต้ที่มีฝนตกมากกว่าปกติค่อนข้างมาก รวมถึงตอนบนของประเทศ ทั้งภาคเหนือ ภาค

ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกที่มีฝนตกมากกว่าปกติกระจายตัวเป็นบริเวณกว้างและมากกว่าปีอื่น ๆ เมื่อเทียบกับข้อมูลในรอบ 10 ปี




แผนที่แสดงการกระจายตัวของฝนที่ตกผิดปกติในเดือนกุมภาพันธ์ในรอบ 10 ปี
หมายเหตุ : วิเคราะห์ข้อมูลปริมาณฝนรายปีเฉลี่ยทั่งประเทศย้อนหลัง 40 ปี โดยเทียบกับค่าปกติ (ค่าเฉลี่ยฝน 30 ปี ในช่วงปี 2534-2563)
ซึ่งมีการประมาณค่าปริมาณฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา




เดือนมีนาคม

ปี 2565 ประเทศไทยมีฝนตก 95 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 45 มิลลิเมตร หรือมากกว่าปกติประมาณ 90% พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีฝนตกมากกว่าปกติ และมีบริเวณที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติเกิดขึ้นเป็น

หย่อม ๆ ในทุกภาค โดยเฉพาะบริเวณตอนล่างของภาคเหนือและตอนบนของภาคใต้ที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้างมากกว่าพื้นที่อื่น ๆ หากเปรียบเทียบข้อมูลปริมาณฝนของปี 2565 กับข้อมูลใน

อดีตย้อนหลัง 40 ปี พบว่าปี 2565 มีฝนตกอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับปีอื่น ๆ โดยมากเป็นอันดับที่ 4 รองจากปี 2554 2544 และ 2537 และปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากปี 2564 ค่อนข้างมาก


หมายเหตุ : วิเคราะห์ข้อมูลปริมาณฝนรายปีเฉลี่ยทั่งประเทศย้อนหลัง 40 ปี โดยเทียบกับค่าปกติ (ค่าเฉลี่ยฝน 30 ปี ในช่วงปี 2534-2563)
ซึ่งมีการประมาณค่าปริมาณฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา




เดือนเมษายน

ปี 2565 ประเทศไทยมีฝนตก 105 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 21 มิลลิเมตร หรือมากกว่าปกติประมาณ 25% พื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคเหนือมีฝนตกมากกว่าปกติและมีฝนตกน้อยกว่าปกติเกิดขึ้นเป็นหย่อมเล็ก ๆ กระจายตัวในหลายจุด ยกเว้นจังหวัดตากที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกน้อย

กว่าปกติเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้างทางตอนบนและตอนกลางของภาค ส่วนตอนล่างของภาคบริเวณจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษและอุบลราชธานีมีฝนตกมากกว่าปกติ ภาคกลางมีฝนตกหนักมากกว่าปกติเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้างและมีฝนตกน้อยกว่าปกติเกิดขึ้นเป็นหย่อม ๆ ในบางพื้นที่ ภาคตะวันออกมีฝนตกมากกว่าปกติทาง

ตอนบนของภาค ส่วนตอนล่างของภาคบริเวณจังหวัดชลบุรี ระยอง ตราดและจันทบุรี มีฝนตกน้อยกว่าปกติ ส่วนภาคใต้มีฝนตกมากกว่าปกติเกิดขึ้นทางด้านตะวันออกของภาคส่วนทางด้านตะวันตกของภาคมีฝนตกน้อยกว่าปกติ ทั้งนี้ปี 2565 มีปริมาณฝนลดลงจากปี 2564 ค่อนข้างมาก


หมายเหตุ : วิเคราะห์ข้อมูลปริมาณฝนรายปีเฉลี่ยทั่งประเทศย้อนหลัง 40 ปี โดยเทียบกับค่าปกติ (ค่าเฉลี่ยฝน 30 ปี ในช่วงปี 2534-2563)
ซึ่งมีการประมาณค่าปริมาณฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา




เดือนพฤษภาคม

ปี 2565 ประเทศไทยมีฝนตก 240 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 57 มิลลิเมตร หรือมากกว่าปกติประมาณ 31% พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีฝนตกมากกว่าปกติยกเว้นบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์และพื้นที่ใกล้เคียง

ใกล้เคียง ด้านตะวันออกของภาคกลางบริเวณจังหวัดลพบุรีและสระบุรี รวมถึงบริเวณภาคตะวันออกที่เกิดฝนตกน้อยกว่าปกติเป็นบริเวณกว้าง หากเปรียบเทียบข้อมูลปริมาณฝนของปี 2565 กับข้อมูลใน

อดีตย้อนหลัง 40 ปี พบว่าปี 2565 มีฝนตกอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับปีอื่น ๆ โดยมากเป็นอันดับที่ 4 รองจากปี 2560 2550 และ 2542 และปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากปี 2564 ค่อนข้างมาก


หมายเหตุ : วิเคราะห์ข้อมูลปริมาณฝนรายปีเฉลี่ยทั่งประเทศย้อนหลัง 40 ปี โดยเทียบกับค่าปกติ (ค่าเฉลี่ยฝน 30 ปี ในช่วงปี 2534-2563)
ซึ่งมีการประมาณค่าปริมาณฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา




เดือนมิถุนายน

ปี 2565 ประเทศไทยมีฝนตก 143 มิลลิเมตร น้อยกว่าปกติ 33 มิลลิเมตร หรือน้อยกว่าปกติ 19% พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีฝนตกน้อยกว่าปกติ และมีฝนตกมากกว่าปกติทางตอนบนของภาคเหนือใน

บางพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ เชียงรายและน่าน ตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่ตอนกลางของประเทศบริเวณภาคกลางรวมถึงบางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก ภาคใต้

บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง ตรังและสตูล ทั้งนี้ปี 2565 มีฝนตกเพิ่มขึ้นจากปีที่ 2564 เพียงเล็กน้อยเท่านั้น


หมายเหตุ : วิเคราะห์ข้อมูลปริมาณฝนรายปีเฉลี่ยทั่งประเทศย้อนหลัง 40 ปี โดยเทียบกับค่าปกติ (ค่าเฉลี่ยฝน 30 ปี ในช่วงปี 2534-2563)
ซึ่งมีการประมาณค่าปริมาณฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา




เดือนกรกฎาคม

ปี 2565 ประเทศไทยมีฝนตก 249 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 46 มิลลิเมตร หรือมากกว่าปกติ 23% พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีฝนตกมากกว่าปกติ แต่ด้านตะวันตกของประเทศตั้งแต่ภาคเหนือตลอดแนว

ยาวลงมาถึงภาคกลางและภาคใต้ตอนบน และบางพื้นที่ทางด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกน้อยกว่าปกติเป็นบริเวณกว้าง หากเปรียบเทียบข้อมูลปริมาณฝนของปี 2565 กับข้อมูลในอดีต

ย้อนหลัง 40 ปี จะเห็นได้ว่าปี 2565 มีฝนตกมากปํนอันดับที่ 4 รองจากปี 2560 2566 และ2538 รวมทั้งปริมาณฝนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2563


หมายเหตุ : วิเคราะห์ข้อมูลปริมาณฝนรายปีเฉลี่ยทั่งประเทศย้อนหลัง 40 ปี โดยเทียบกับค่าปกติ (ค่าเฉลี่ยฝน 30 ปี ในช่วงปี 2534-2563)
ซึ่งมีการประมาณค่าปริมาณฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา




เดือนสิงหาคม

ปี 2565 ประเทศไทยมีฝนตก 239 มิลลิเมตร มากกว่าปกติเพียง 1 มิลลิเมตร เท่านั้น ภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีทั้งบริเวณที่ฝนตกน้อย

กว่าปกติและบริเวณที่ฝนตกมากกว่าปกติ เกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้าง ส่วนภาคตะวันออกพื้นที่ส่วนใหญ่มีฝนตกมากกว่าปกติ ตรงกัน

ข้ามกับภาคใต้ที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติเกือบทุกพื้นที่ ทั้งนี้ปี 2565 มีฝนตกเพิ่มขึ้นจากปี 2564 ค่อนข้างมาก


หมายเหตุ : วิเคราะห์ข้อมูลปริมาณฝนรายปีเฉลี่ยทั่งประเทศย้อนหลัง 40 ปี โดยเทียบกับค่าปกติ (ค่าเฉลี่ยฝน 30 ปี ในช่วงปี 2534-2563)
ซึ่งมีการประมาณค่าปริมาณฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา




เดือนกันยายน

ปี 2565 ประเทศไทยมีฝนตก 331 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 83 มิลลิเมตร หรือมากกว่าปกติประมาณ 33% พื้นที่ตอนบนของประเทศ ทั้งภาคเหนือ ภาค

ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก มีฝนตกมากกว่าปกติเป็นส่วนใหญ่ ตรงกันข้ามกับภาคใต้ที่พื้นที่ส่วนใหญ่ มีฝนตกน้อยกว่าปกติ หากเปรียบเทียบ

ข้อมูลปริมาณฝนของปี 2565 กับข้อมูลในอดีตย้อนหลัง 40 ปี จะเห็นได้ว่าปี 2565 มีปริมาณฝนมากที่สุด


หมายเหตุ : วิเคราะห์ข้อมูลปริมาณฝนรายปีเฉลี่ยทั่งประเทศย้อนหลัง 40 ปี โดยเทียบกับค่าปกติ (ค่าเฉลี่ยฝน 30 ปี ในช่วงปี 2534-2563)
ซึ่งมีการประมาณค่าปริมาณฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา




เดือนตุลาคม

ปี 2565 ประเทศไทยมีฝนตก 163 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 7 มิลลิเมตร หรือมากกว่าปกติประมาณ 4% โดยภาคเหนือมีฝนตกมากกว่าปกติทางด้านตะวันออกของภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกมากกว่าปกติบริเวณจังหวัดเลย

หนองบัวลำภู ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี ภาคกลางมีฝนตกน้อยกว่าปกติเกิดขึ้นเป็นส่วนใหญ่ ภาคตะวันออกมีฝนตกน้อยกว่าปกติเกือบทุกพื้นที่ของภาค ส่วนภาคใต้มีฝนตกมากกว่าปกติเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นบางพื้นที่ของ

จังหวัดสุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราช ที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติเป็นบริเวณกว้าง ทั้งนี้ปี 2565 มีปริมาณฝนลดลงจากปี 2564 ค่อนข้างมาก


หมายเหตุ : วิเคราะห์ข้อมูลปริมาณฝนรายปีเฉลี่ยทั่งประเทศย้อนหลัง 40 ปี โดยเทียบกับค่าปกติ (ค่าเฉลี่ยฝน 30 ปี ในช่วงปี 2534-2563)
ซึ่งมีการประมาณค่าปริมาณฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา




เดือนพฤศจิกายน

ปี 2565 ประเทศไทยมีฝนตก 92 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 20 มิลลิเมตร หรือมากกว่าปกติประมาณ 27% พื้นที่ส่วนใหญ่

ของประเทศมีฝนตกมากกว่าปกติ ยกเว้นทางตอนบนของภาคเหนือและตอนล่างของภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป

ที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้าง ทั้งนี้ปี 2565 มีปริมาณฝนลดลงจากปี 2564 เล็กน้อย


หมายเหตุ : วิเคราะห์ข้อมูลปริมาณฝนรายปีเฉลี่ยทั่งประเทศย้อนหลัง 40 ปี โดยเทียบกับค่าปกติ (ค่าเฉลี่ยฝน 30 ปี ในช่วงปี 2534-2563)
ซึ่งมีการประมาณค่าปริมาณฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา




เดือนธันวาคม

ปี 2565 ประเทศไทยมีฝนตก 58 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 13 มิลลิเมตร หรือมากกว่าปกติประมาณ 29% โดยส่วนใหญ่เกิดฝนตกมากกว่าปกติในบริเวณภาคใต้

โดยเฉพาะภาคใต้ตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปที่มีฝนตกมากกว่าปกติค่อนข้างมาก แต่กลับเกิดฝนตกน้อยกว่าปกติค่อนข้างมากทางตอนกลางของ

ภาคบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี พังงาและกระบี่ ทั้งนี้ปี 2565 มีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากปี 2564 ค่อนข้างมาก


หมายเหตุ : วิเคราะห์ข้อมูลปริมาณฝนรายปีเฉลี่ยทั่งประเทศย้อนหลัง 40 ปี โดยเทียบกับค่าปกติ (ค่าเฉลี่ยฝน 30 ปี ในช่วงปี 2534-2563)
ซึ่งมีการประมาณค่าปริมาณฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา