อิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำกําลังแรงที่ปกคลุมบริเวณประเทศมาเลเซียและภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย ประกอบกับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ส่งผลทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากทางด้านตะวันออกของภาคใต้ในช่วงวันที่ 24-28 กุมภาพันธ์ 2565 โดยเฉพาะตอนล่างของภาคบริเวณจังหวัดปัตตานี ยะลาและนราธิวาสที่มีฝนตกหนักมาก
ต่อเนื่องหลายวัน ทั้งนี้จังหวัดที่ฝนตกหนักมาก ตรวจวัดปริมาณฝนได้เกิน 90 มิลลิเมตรต่อวัน ประกอบด้วย จังหวัดชุมพร ที่อำเภอ สวี จังหวัดนราธิวาส ที่อำเภอ แว้ง สุคิริน ยี่งอ เมืองนราธิวาส ระแงะ เจาะไอร้อง จะแนะ ศรีสาคร รือเสาะ สุไหง-โกลก สุไหงปาดี จังหวัดปัตตานี ที่อำเภอ ยะรัง สายบุรี ปะนาเระ หนองจิก เมืองปัตตานี โคกโพธิ์ กะพ้อ ทุ่งยางแดง มายอ ไม้แก่น จังหวัดยะลา ที่อำเภอ บันนังสตา รามัน
ธารโต ยะหา เมืองยะลา กรงปินัง เบตง กาบัง จังหวัดพัทลุง ที่อำเภอ ป่าพะยอม ศรีบรรพต ศรีนครินทร์ ตะโหมด กงหรา เขาชัยสน ป่าบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่อำเภอ เมืองนครศรีธรรมราช ลานสกา พรหมคีรี นบพิตำ ท่าศาลา ทุ่งสง จังหวัดสงขลา ที่อำเภอ หาดใหญ่ เทพา สะบ้าย้อย นาหม่อม จังหวัดสตูล ที่อำเภอ มะนัง
สถานการณ์ตกหนักที่เกิดขึ้น ส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้รายงานสถานการณ์สาธารณภัยเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565 เวลา 06.00 น. ระบุว่า ในช่วงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 เกิดน้ำท่วม
ฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่ง ในพื้นที่ 7 จังหวัด ประกอบด้วย นราธิวาส ยะลา นครศรีธรรมราช พัทลุง ปัตตานี สงขลาและตรัง รวม 30 อำเภอ 128 ตำบล 441 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ
12,189 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ ในพื้นที่ 4 จังหวัด ประกอบด้วย นราธิวาส ยะลา พัทลุงและปัตตานี รวม 18 อำเภอ 90 ตำบล 324 หมู่บ้าน 9,930 ครัวเรือน
ทั้งนี้ ในช่วงเวลาดังกล่าว เขื่อนบางลาง จ.ยะลา มีน้ำไหลเข้าเพิ่มขึ้นมาก โดยในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2565 มีน้ำไหลเข้า 58.36 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นน้ำไหลลงเขื่อนรายวันสูงที่สุดที่เกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ หากเทียบกับข้อมูลย้อนหลังในรอบ 42 ปี
(2524-2565) และมีปริมาณน้ำไหลลงสะสมช่วงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2565 สูงถึง 164.34 ล้านลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้ปริมาณน้ำค่อนข้างมากที่ไหลลงเขื่อนส่งผลทำให้ปริมาณน้ำกักเก็บเพิ่มขึ้นจาก 1,131.42 ล้านลูกบาศก์เมตร (78% ของ
ความจุ) ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 เป็น 1,296.68 ล้านลูกบาศก์เมตร (89% ของความจุ) ในวันที่ 1 มีนาคม 2565 หรือเพิ่มจากเกณฑ์น้ำปานกลางเป็นเกณฑ์น้ำมาก
อิทธิพลจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนได้ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย ส่งผลให้มีฝนตกหนักในบางพื้นที่ของภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในช่วงวันที่ 17-18 พฤษภาคม
2565 ซึ่งจากการตรวจวัดปริมาณฝนสะสมรายวันของสำนักการระบายน้ำกรุงเทพมหานคร ในช่วงวันที่ 17 พฤษภาคม 2565 เวลา 07.00 น. ถึงวันที่ 18 พฤษภาคม 2565 เวลา 07.00 น. พบสถานีที่มีฝนตกหนักมากตรวจวัดปริมาณฝนเกิน 90 มิลลิเมตรต่อวัน ทั้งหมด 35 สถานี โดยมีสถานีที่วัดฝนได้เกิน 100 มิลลิเมตรอยู่ถึง 21 สถานี นอกจากนี้ยังมีสถานีที่
ตรวจพบฝนตกหนัก ปริมาณฝนสะสมเกิน 35 มิลลิเมตรต่อวัน อีก 44 สถานี โดยที่ สถานี ซ.สะพานขวา มีฝนตกมากที่สุด 136.0 มิลลิเมตรต่อวัน รองลงมาคือที่สถานีคลองตาอูฐ และจุดวัดศูนย์ราชการ-ถ.แจ้งวัฒนะ วัดปริมาณฝนได้ 125.0 และ 123.5 มิลลิเมตร ตามลำดับ
จากสถานการณ์ฝนตกหนักถึงหนักมากข้างต้น ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลในหลายจุด โดยตั้งแต่ช่วงเย็นวันที่ 17 พฤษภาคม ถึงช่วงเช้าวันที่ 18 พฤษภาคม 2565 มี
รายงานจุดน้ำท่วมบนถนนหลายสายเช่น บริเวณถนนถนนรัชดาภิเษก ถนนประชาสุข ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนประชาชื่น-นนท์ ถนนพหลโยธิน ถนนพระรามหก ถนนอิสรภาพ ถนนสุขุมวิท ถนนศรีอยุธยา ถนน
ประชาราษฎร์สาย 2 ถนนประดิพัทธ์ ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า ถนนสามัคคี ถนนสามเสน ถนนพญาไท ถนนราชวิถี ถนนวิภาวดี-รังสิต ถนนลาดพร้าว ถนนศรีนครินทร์ ถนนงามวงศ์วาน
ช่วงวันที่ 16-18 พฤษภาคม 2565 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ประกอบกับมีมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย และมีกำลังแรงขึ้นในช่วงวันที่ 19-23 พฤษภาคม 2565 นอกจากนี้ ช่วงวันที่ 19-20 พฤษภาคม 2565 มีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณอ่าวมะตะบันตอนบน ซึ่งต่อมาได้เคลื่อนเข้าปกคลุม
บริเวณภาคเหนือของไทยในช่วงวันที่ 21-22 พฤษภาคม 2565 ก่อนที่จะเคลื่อนเข้าสู่ปกคลุมบริเวณประเทศลาวและเวียดนามในวันที่ 23 พฤษภาคม 2565 อีกทั้ง ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2565 มีร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออกตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และได้เลื่อนขึ้นไปพาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงวันที่ 21-23 พฤษภาคม 2565 ซึ่งปัจจัยทั้งหมดดังกล่าวมาข้างต้น ส่งผลทำให้บริเวณประเทศไทยมี
ฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายตัวอยู่ในทุกภาคของประเทศโดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคกลาง ที่มีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ ทั้งนี้ ช่วงวันที่ 16-23 พฤษภาคม 2565 มีจังหวัดที่มีฝนตกหนักมาก ตรวจวัดปริมาณฝนได้เกิน 90 มิลลิเมตรต่อวัน ประกอบด้วย เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน แพร่ อุตรดิตถ์ น่าน สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร ตาก และกาญจนบุรี
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้รายงานสถานการณ์อุทกภัยช่วงวันที่ 15 - 18 พฤษภาคม 2565 พบเหตุการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ แพร่ ลำปาง น่าน อุตรดิตถ์ พะเยา นครราชสีมา รวม 8 อำเภอ 11 ตำบล 21 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 295 ครัวเรือน ไม่มีผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ อีกทั้งในช่วง
วันที่ 14 - 18 พฤษภาคม 2565 ได้เกิดวาตภัย ในพื้นที่ 14 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย พะเยา อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร สุโขทัย นครนายก ขอนแก่น ชัยภูมิ อำนาจเจริญ อุดรธานี สุรินทร์ ตราด รวม 24 อำเภอ 47 ตำบล 78 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย 252 หลัง มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 1 รายที่จังหวัดชัยภูมิ ไม่มีผู้
เสียชีวิต นอกจากนี้ ในช่วงวันที่ 20 - 23 พฤษภาคม 2565 ได้เกิดอุทกภัยในพื้นที่ 8 จังหวัด ประกอบด้วย เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ลําพูน ตาก ลําปาง แม่ฮ่องสอน และกาญจนบุรี รวม 37 อำเภอ 85 ตำบล 323 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 1,212 ครัวเรือน ไม่มีผู้บาดเจ็บและ เสียชีวิต
สถานการณ์ฝนตกหนักที่เกิดขึ้น ไม่เพียงทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่แล้ว แต่ยังส่งผลทำให้เขื่อนขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือและด้านตะวันตกของภาคกลาง มีน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากทุกเขื่อน โดยในช่วงวันที่ 16-25 พฤษภาคม 2565
เขื่อนที่มีปริมาณน้ำไหลลงสะสมเกิน 100 ล้านลูกบาศก์เมตร ได้แก่ เขื่อนภูมิพล ที่มีปริมาณน้ำไหลลงสะสม 476 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ 175 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนวชิราลงกรณ 280 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนศรีนครินทร์ 177 ล้านลูกบาศก์
เมตร โดยเขื่อนภูมิพลมีน้ำไหลลงเขื่อนวันเดียวถึง 121.23 ล้านลูกบาศก์เมตร ในวันที่24 พฤษภาคม 2565 ส่วนเขื่อนวชิราลงกรณ มีน้ำไหลลงมากเช่นกัน โดยในวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 เพียงวันเดียว มีน้ำไหลลงเขื่อนถึง 126.49 ล้านลูกบาศก์เมตร
อิทธิพลจากร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคกลางและภาคตะวันออกในช่วงวันที่ 20-21 กรกฎาคม 2565
รวมถึงอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย ส่งผลทำให้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ของ
ประเทศ รวมถึงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
รายงานการตรวจวัดปริมาณฝนสะสมรายวันจากสถานีตรวจวัดฝนของสำนักการระบายน้ำกรุงเทพมหานคร ช่วงวันที่ 20 กรกฎาคม 2565 เวลา 07.00 น. ถึงวันที่ 21 กรกฎาคม 2565 เวลา 07.00 น. พบฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายตัวเกือบทุก
พื้นที่ โดยมี 70 สถานีตรวจวัดฝนได้เกิน 90 มิลลิเมตรต่อวัน ซึ่งเข้าเกณฑ์ฝนตกหนักมาก ซึ่งมี 47 สถานีวัดฝนได้เกิน 100 มิลลิเมตร นอกจากนี้ยังมีสถานีที่วัดฝนได้มากกว่า 35 มิลลิเมตรต่อวัน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ฝนตกหนัก อีก 40 สถานี ทั้งนี้สถานี
จุดวัด คลองบึงใหญ่-วัดทองสัมฤทธิ์ มีฝนตกหนักมากที่สุดถึง 165.0 มิลลิเมตรต่อวัน รองลงมาคือสถานีคลองแสนแสบ-คลองตัน และสถานีสะพานสูง ที่ตรวจวัดปริมาณฝนได้ 164.5 มิลลิเมตร และ 163.0 มิลลิเมตร ตามลำดับ
หากพิจารณาถึงปริมาณฝนสะสมรายชั่วโมง พบฝนตกหนักเกิน 60 มิลลิเมตรต่อชั่วโมงเกิดขึ้นต่อเนื่องในหลายจุด ซึ่งเกินศักยภาพในการระบายน้ำของกรุงเทพมหานคร จึงทำให้มีน้ำท่วมเกิดขึ้นทั้งในคลองสายหลักและบนพื้นผิวการจราจร โดยคลองที่เกิดน้ำล้นตลิ่ง ได้แก่ คลองบางบัว คลองบางบอน คลองลาดพร้าว คลองประเวศบุรีรมย์ คลองเปรมประชากร คลองแสนแสบ คลองตาพุก คลองตัน คลองทวีวัฒนา เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นลักษณะการเกิดน้ำล้นเป็นระยะเวลาสั้น ๆ สามารถกลับเข้าสู่สภาวะปกติได้โดยเร็ว แต่ก็มีบางจุดที่เกิดน้ำล้น
ค่อนข้างนาน เช่น คลองตาพุกบริเวณถนนลาดกระบัง ที่เกิดน้ำล้นตลิ่งเกิน 24 ชั่วโมง ปตร.คลองลาดพร้าว ปตร.คลองประเวศน์บุรีรมย์ คลองเปรมประชากร ที่น้ำล้นตลิ่งเกิน 10 ชั่วโมง เป็นต้น ในส่วนของน้ำท่วมถนน ศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร ได้รายงานสถานการณ์จุดเร่งระบายน้ำ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2565 เวลา 06.19 น. พบจุดน้ำท่วมถนนทั้งหมด 26 จุด โดยที่ถนนรัชดาภิเษก บริเวณแยกเทียมร่วมมิตร เกิดน้ำท่วมนานที่สุดเกือบ 10 ชั่วโมง โดยเริ่มมีน้ำท่วมตั้งแต่เวลา 19.40 น. และกลับเข้าสู่สภาวะปกติเวลา 05.15 น.
ส่วนถนนที่มีระดับน้ำท่วมสูงเกิน 20 ซ.ม. มีทั้งหมด 4 สาย ได้แก่ 1) ถนนประชาสุข บริเวณปั๊มน้ำมัน-ซ.อินทามระ 45 2) ถนนพัฒนาการ บริเวณหน้าธนาคารกรุงไทย 3) ถนนอโศกมนตรี บริเวณปากซอย-มศว. 4) ถนนสุขุมวิท บริเวณปากซอย 22 - บ่อสูบพระโขนง ส่วนถนนที่ถูกน้ำท่วมเป็นระยะทางยาวที่สุด คือ ถนนสุขุมวิท ช่วงปากซอย 22 - บ่อสูบพระโขนง ที่ถูกน้ำท่วมเป็นระยะทางยาวถึง 2,500 เมตร และช่วงสุขุมวิท 71 - คลองบางมะเขือ ที่ถูกน้ำท่วมเป็นระยะทางยาวถึง 1,500 เมตร
เดือนกันยายน 2565 มีร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนและตอนกลางของประเทศไทยเกือบตลอดทั้งเดือน ส่งผลทำให้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ อีกทั้งพายุไต้ฝุ่น “โนรู” ได้เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณ อ.โขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ในช่วงค่ำของวันที่ 28 กันยายน 2565 ในขณะที่ลดระดับลงเป็นพายุดีเปรสชันแล้ว หลังจากนั้นพายุดังกล่าวได้เคลื่อนตัวผ่านจังหวัดอำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด
มหาสารคาม ขอนแก่น แล้วอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณจังหวัดชัยภูมิในช่วงค่ำของวันที่ 29 กันยายน 2565 ซึ่งอิทธิพลของพายุส่งผลทำให้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากในบริเวณที่พายุเคลื่อนตัวผ่านรวมถึงบริเวณใกล้เคียง นอกจากนี้อิทธิพลของพายุยังส่งผลทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมบริเวณทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย มีกำลังแรง ส่งผลทำให้ภาคใต้มีฝนตกเพิ่มมากขึ้น
โดยเฉพาะทางด้านตะวันตกของภาคที่มีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ และถึงแม้พายุจะสลายตัวไปแล้วตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน 2565 แต่ยังคงมีร่องมรสุมพาดผ่านประเทศไทยอย่างต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2565 ส่งผลให้ยังคงมีฝนตกหนักต่อเนื่องในช่วงต้นเดือนตุลาคม 2565
ทั้งนี้ จังหวัดที่มีฝนตกหนักมากในพื้นที่ ตรวจวัดปริมาณฝนได้เกิน 90 มิลลิเมตรต่อวัน ประกอบด้วย ภาคเหนือ 8 จังหวัด ได้แก่ ตาก เพชรบูรณ์ พิจิตร สุโขทัย ลำปาง แพร่ เชียงใหม่ ลำพูน ภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ 9 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา ชัยภูมิ เลย ภาคกลาง 2 จังหวัด ได้แก่
นครสวรรค์ ลพบุรี ภาคตะวันออก 3 จังหวัด ได้แก่ ปราจีนบุรี นครนายก สระแก้ว ภาคใต้ 3 จังหวัด ได้แก่ สตูล ระนอง พังงา
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้รายงานสถานการณ์อุทกภัยเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2565 เวลา 06.00 น. ระบุว่า
ระหว่างวันที่ 28 กันยายน - 8 ตุลาคม 2565 เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขัง ในพื้นที่ 54
จังหวัด 262 อำเภอ 1,237 ตำบล 7,344 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 240,066 ครัวเรือน
ทั้งนี้ ฝนตกหนักยังส่งผลทำให้มีน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานีเป็นเขื่อนแรกที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากพายุโนรู ซึ่งในช่วงวันที่ 28 กันยายน – 5 ตุลาคม 2565 มีน้ำไหลลงเขื่อนสะสมถึง 452 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนต่อมาคือ เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ที่มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสม 943 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ 249 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนจุฬาภรณ์
จ.ชัยภูมิ 49 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี 788 ล้านลูกบาศก์เมตร นอกจากนี้ยังมีเขื่อนอื่นที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในแนวการเคลื่อนตัวของพายุ แต่กลับมีน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน โดยเขื่อนที่มีน้ำไหลลงเขื่อนสะสมเกิน 100 ล้านลูกบาศก์เมตร ในช่วงวันที่ 28 กันยายน – 5 ตุลาคม 2565 ได้แก่ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนมากที่สุดถึง 1,548 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์
357 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนกิ่วลม จ.ลำปาง 102 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนแควน้อย จ.พิษณุโลก 222 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี 711 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี 289 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนรัชชประภา จ.สุราษฎร์ธานี 146 ล้านลูกบาศก์เมตร
อิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันที่มีกำลังแรงในช่วงกลางเดือนธันวาคม 2565 ส่งผลทำให้มีฝนตกเพิ่มขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะช่วงวันที่ 17-18 ธันวาคม 2565 ที่บริเวณตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป ที่มีฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายตัวในหลาย
พื้นที่ ทั้งทางด้านตะวันออกและตะวันของภาค และถึงแม้ในในวันที่ 19 ธันวาคม 2565 ปริมาณฝนได้ลดลงค่อนข้างมาก แต่ก็ยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายตัวบริเวณจังหวัดสงขลา พัทลุง ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ส่วนในวันที่ 20 ธันวาคม 2565 ปริมาณฝนลดลงค่อนข้างมาก โดยมีฝน
ตกหนักในบางพื้นที่เท่านั้น ทั้งนี้ในช่วงวันที่ 15-20 ธันวาคม 2565 มีจังหวัดที่เกิดฝนตกหนักมากตรวจวัดปริมาณฝนได้เกิน 90 มิลลิเมตรต่อวัน ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ตรัง สตูล กระบี่
ซึ่งฝนที่ตกหนักในหลายพื้นที่ของภาคใต้ ทำให้เกิดน้ำล้นตลิ่งในแม่น้ำและลำคลองต่าง ๆ หลายพื้นที่ เช่น บริเวณแม่น้ำพุนพิน คลองไชยา จ.สุราษฎร์ธานี คลองวังตะเคียน จ.นครศรีธรรมราช คลองบางม่วง
คลองลำป่า จ.พัทลุง คลองอู่ตะเภา คลองปากรอ คลองบางกล่ำ จ.สงขลา คลองประแต จ.ยะลา แม่น้ำปัตตานี คลองกาแลกูโบ คลองสุหงาบารู คลองชลประทานชุมชนบ้านท่าด่าน จ.ปัตตานี แม่น้ำสายบุรี จ.นราธิวาส
คลองฉลุง คลองละงู จ.สตูล แม่น้ำตรัง คลองนางน้อย จ.ตรัง ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นลักษณะของน้ำท่วมฉับพลัน และท่วมขังเป็นระยะเวลาสั้น ๆ สามารถกลับเข้าสู่สภาวะปกติได้โดยเร็ว
ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้รายงานสถานการณ์อุทกภัยเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2565 เวลา 06.00 น. ระบุว่าฝนตกหนักถึงหนักมากตั้งแต่วันที่ 18 - 21 ธันวาคม 2565 ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินสไลด์ และลมกระโชกแรง ในพื้นที่ 9 จังหวัด ประกอบด้วย
สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส รวม 83 อำเภอ 440 ตำบล 2,525 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 205,774 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 7 ราย ประกอบด้วย จ.นราธิวาส 4 ราย จ.พัทลุง 2 ราย จ.ยะลา 1 ราย มีผู้บาดเจ็บ 2 ราย ที่ จ.นราธิวาส ณ
วันที่รายงานยังคงมีสถานการณ์เกิดขึ้นอยู่ในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส รวม 74 อำเภอ 410 ตำบล 2,389 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 200,154 ครัวเรือน
นอกจากนี้ ฝนที่ตกหนักยังส่งผลทำให้เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคใต้มีน้ำไหลลงมากขึ้น โดยเขื่อนรัชชประภา จ.สุราษฎร์ธานี มีน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเพียงวันเดียว คือวันที่ 19 ธันวาคม 2565 ที่มีปริมาณน้ำไหลลง 11.9 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนเขื่อนบางลาง จ.ยะลา มีน้ำไหลลง
เขื่อนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด 2 วัน คือ วันที่ 19 ธันวาคม 2565 ที่มีน้ำไหลลงเขื่อน 70.62 ล้านลูกบาศก์เมตร และวันที่ 20 ธันวาคม 2565 ที่มีน้ำไหลลงเขื่อน 60.83 ล้านลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้ ถึงแม้เขื่อนทั้ง 2 แห่งจะมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มขึ้น แต่
ปริมาณน้ำที่อยู่ในเขื่อนยังคงอยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลางทั้งสองเขื่อน โดยในวันที่ 21 ธันวาคม 2565 เขื่อนรัชชประภามีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ในเขื่อนเพียง 78% ของความจุเขื่อน ส่วนเขื่อนบางลางมีปริมาณน้ำกักเก็บ 67%