สิ้นปี 2563 เขื่อนหลักทั้ง 4 แห่งในลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีน้ำกักเก็บคงเหลือรวมกัน 11,877 ล้านลูกบาศก์เมตร มากกว่าปีที่แล้วเพียง 784 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น ซึ่งถือเป็นปริมาณน้ำที่ค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับข้อมูลย้อนหลังในรอบ 10 ปี พบว่าน้อยเป็นอันดับที่ 3 รองจากปี 2558 และ 2562 ที่บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาประสบกับปัญหา
ภัยแล้ง ส่วนปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนทั้งปี มีอยู่ 8,576 ล้านลูกบาศก์เมตร มากกว่าปีที่แล้วเพียง 829 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยเป็นอันดับ 3 รองจากปี 2558 และ 2562 เมื่อเทียบกับข้อมูลย้อนหลังในรอบ 10 ปี นอกจากนี้ ทั้ง 4 เขื่อนมีการระบายน้ำรวมกันตลอดทั้งปี 6,890 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นการระบายน้ำที่น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับ
ข้อมูลย้อนหลังในรอบ 10 ปี เนื่องจากปริมาณน้ำต้นทุนในช่วงต้นปีมีค่อนข้างน้อย ประกอบกับน้ำไหลลงในช่วงระหว่างปีก็มีน้อย ส่งผลทำให้จำเป็นต้องกักเก็บน้ำสำรองไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง ปริมาณน้ำระบายจึงมีค่อนข้างน้อย
วันที่ 31 ธันวาคม 2563 เขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 5,478 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 41% ของความจุเขื่อน อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย โดยเป็นน้ำใช้การได้จริง 1,678 ล้านลูกบาศก์เมตร น้อยกว่าปีที่แล้ว 70 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่มากกว่าปี 2558 อยู่ 544 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนปริมาณน้ำไหลเข้าสะสมทั้งปีมี 2,522 ล้านลูกบาศก์เมตร น้อยกว่าปีที่แล้ว 297 ล้านลูกบาศก์เมตร และน้อยกว่าค่าเฉลี่ยถึง 3,010 ล้าน
ลูกบาศก์เมตร และจะเห็นได้ว่าเมื่อเทียบกับข้อมูลย้อนหลังในรอบ 10 ปี ตั้งแต่ปี 2011 เป็นต้นมา เกิดสถานการณ์น้ำไหลลงเขื่อนมากกว่าค่าเฉลี่ยเพียง 2 ปี เท่านั้น คือปี 2554 และปี 2560 และหากเทียบกับน้ำไหลเข้าของปี 2558 ที่เกิดภัยแล้งรุนแรง ปี 2563 มีปริมาณน้ำไหลเข้ามากกว่าอยู่ประมาณ 603 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนน้ำระบายสะสมทั้งปีมี 2,155 ล้านลูกบาศก์เมตร ระบายน้ำน้อยกว่าปีที่แล้วถึง 3,480
ล้านลูกบาศก์เมตร แต่เป็นการระบายน้ำน้อยกว่าปริมาณน้ำไหลเข้า 367 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งหมายถึงสามารถเก็บน้ำได้เพิ่มเพื่อใช้เป็นต้นทุนของปี 2564 เพียงเล็กน้อยเท่านั้น และเมื่อเปรียบเทียบข้อมูลย้อนหลังในรอบ 10 ปี จะเห็นได้ว่าเขื่อนภูมิพลมีการระบายน้ำมากกว่าค่าเฉลี่ยเพียง 3 ปี เท่านั้น คือปี 2554 ปี 2555 และปี 2561 อีกทั้งปี 2563 ปริมาณน้ำระบายมีน้อยที่สุดเป็นอันดับที่ 2 รองจากปี 2559
ปี 2563 เขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ ณ วันสิ้นปี 5,331 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 56% ของความจุเขื่อน อยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลางค่อนไปทางน้อย เป็นน้ำใช้การได้จริง 2,481 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นจากปี 2562 เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ประมาณ 506 ล้านลูกบาศก์เมตร และมากกว่าปี 2558 เพียง 585 ล้านลูกบาศก์เมตร หากเทียบกับข้อมูลย้อนหลังในรอบ 10 ปี ปีนี้มีน้ำใช้การได้เหลือน้อยเป็นอันดับ
ที่ 3 รองจากปี 2558 และ 2562 ส่วนปริมาณน้ำไหลเข้าสะสมทั้งปีมี 4,573 ล้านลูกบาศก์เมตร มากกว่าปีที่แล้ว 700 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมทั้งน้อยกว่าค่าเฉลี่ย 1,077 ล้านลูกบาศก์เมตร หากเทียบกับปี 2558 พบว่าปีนี้มีปริมาณน้ำไหลเข้าทั้งปีมากกว่า 755 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนน้ำระบายสะสมทั้งปีมี 3,813 ล้านลูกบาศก์เมตร น้อยกว่าปี 2562 อยู่ถึง 2,365 ล้านลูกบาศก์เมตร และน้อยกว่าค่าเฉลี่ยอยู่
ประมาณ 2,187 ล้านลูกบาศ์เมตร และหากเทียบกับปี 2558 พบว่าปีนี้มีการระบายน้ำมากกว่าปี 2558 ประมาณ 899 ล้านลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้ในปี 2563 นี้มีการระบายน้ำน้อยกว่าปริมาณน้ำไหลเข้า ซึ่งหมายถึงสามารถเก็บน้ำได้เพิ่มเพื่อใช้เป็นต้นทุนของปี 2564 แต่เก็บเพิ่มได้เพียง 760 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งถือเป็นปริมาณน้ำเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ปี 2563 เขื่อนแควน้อยมีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ ณ วันสิ้นปี 409 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 44% ของความจุเขื่อน อยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง เป็นน้ำใช้การได้จริง 366 ล้านลูกบาศก์เมตร น้อยกว่าปีที่แล้ว 28 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งหากเทียบกับข้อมูลย้อนหลังในรอบ 10 ปี ปริมาณน้ำ
คงเหลือของปีนี้น้อยเป็นอันดับที่ 2 รองจากปี 2558 ที่มีน้ำน้อยกว่าเพียง 23 ล้านลูกบาศก์เมตร เท่านั้น ส่วนปริมาณน้ำไหลเข้าสะสมทั้งปีมี 639 ล้านลูกบาศก์เมตร มากกว่าปีที่แล้วเพียง 40 ล้านลูกบาศก์เมตร และมากกว่าปี 2558 อยู่ประมาณ 103 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนน้ำระบาย
สะสมทั้งปีมี 644 ล้านลูกบาศก์เมตร น้อยกว่าปีที่แล้ว 112 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมถึงน้อยกว่าปี 2558 อยู่ 148 ล้านลูกบาศก์เมตร อีกทั้งปีนี้มีการระบายน้ำมากกว่าน้ำไหลเข้าอยู่ 5 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเท่ากับว่ามีการนำน้ำต้นทุนของปีก่อนหน้าออกมาใช้ 5 ล้านลูกบาศก์เมตร
ปี 2563 เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ ณ วันสิ้นปี 659 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 69% ของความจุเขื่อน อยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง เป็นน้ำใช้การได้จริง 656 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึง 430 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งปีนี้เขื่อนป่าสักเก็บน้ำได้มากกว่าปี 2558 ซึ่งเป็นปีที่เกิดภัยแล้งอยู่ถึง 147 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนปริมาณน้ำไหลเข้าสะสม
ทั้งปีมี 841 ล้านลูกบาศก์เมตร มากกว่าปีที่แล้ว 384 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมถึงมากกว่าปี 2558 อยู่เล็กน้อย ประมาณ 46 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนปริมาณน้ำระบายสะสมทั้งปีมี 277 ล้านลูกบาศก์เมตร น้อยกว่าปีที่แล้ว 270 ล้านลูกบาศก์เมตร และน้อยกว่าปี 2558 อยู่ 569 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมถึงเป็นปริมาณน้ำระบายที่น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับข้อมูลย้อนหลังในรอบ
10 ปี และปีนี้เขื่อนป่าสักมีการระบายน้ำน้อยกว่าปริมาณน้ำไหลเข้าทั้งปีอยู่ถึง 564 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเท่ากับว่าสามารถเก็บน้ำเพื่อใช้เป็นทุนต้นสำหรับปีหน้าได้เพิ่มค่อนข้างมาก เนื่องจากปีที่แล้วปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือสิ้นปีน้อยที่สุดตั้งแต่มีการสร้างเขื่อนทำให้มีความจำเป็นต้องกักเก็บน้ำเพิ่ม