จากการสังเคราะห์ข้อมูลพื้นที่น้ำท่วมโดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม พบว่าในปี 2563 มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 2.00 ล้านไร่ รวม 42 จังหวัด 297 อำเภอ 1,606 ตำบล รายละเอียดดังนี้
1) ภาคเหนือ มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 320,353 ไร่ รวม 6 จังหวัด 20 อำเภอ 126 ตำบล ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย เพชรบูรณ์ พิษณุโลก น่าน แพร่ และอุตรดิตถ์ โดยจังหวัดสุโขทัย มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 179,838 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดเพชรบูรณ์และพิษณุโลก ซึ่งมีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 68,856 และ 49,406 ล้านไร่ ตามลำดับ
2) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 880,451 ไร่ รวม 17 จังหวัด 154 อำเภอ 790 ตำบล ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด สกลนคร อุบลราชธานี อุดรธานี หนองคาย ชัยภูมิ นครพนม ยโสธร ขอนแก่น บึงกาฬ อำนาจเจริญ กาฬสินธุ์และมหาสารคาม โดยจังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด
317,969 ไร่ รองลงมาคือที่จังหวัดบุรีรัมย์และสุรินทร์ ที่มีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 92,585 และ 64,764 ไร่ ตามลำดับ
3) ภาคกลาง มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 13,093 ไร่ รวม 4 จังหวัด 12 อำเภอ 61 ตำบล ได้แก่ จังหวัดราชบุรี ลพบุรี กาญจนบุรีและนครสวรรค์ โดยจังหวัดราชบุรีมีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 6,033 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดลพบุรีและกาญจนบุรี ที่มีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 3,238 และ 2,760 ไร่ ตามลำดับ
4) ภาคตะวันออก มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 162,616 ไร่ รวม 4 จังหวัด 22 อำเภอ 113 ตำบล ได้แก่ จังหวัดปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรีและฉะเชิงเทรา โดยจังหวัดปราจีนบุรีมีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 102,335 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดสระแก้วและชลบุรี ที่มีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 29,414 และ 21,341 ไร่ ตามลำดับ
5) ภาคใต้ มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 615,558 ไร่ รวม 11 จังหวัด 88 อำเภอ 506 ตำบล ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง เพชรบุรี ปัตตานี
สุราษฎร์ธานี นราธิวาส ตรัง ยะลา สตูลและประจวบคีรีขันธ์ โดยจังหวัดนครศรีธรรมราชมีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 259,053 ไร่ รองลงมาคือที่จังหวัดสงขลาและพัทลุง ที่มีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 106,325 และ 73,215 ไร่
ทั้งนี้ พื้นที่ถูกน้ำท่วมส่วนใหญ่ในปี 2563 อยู่ที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจังหวัดนครราชสีมา เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 320,004 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดนครศรีธรรมราชและสุโขทัย ที่มีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 259,053 และ 182,924 ไร่ ตามลำดับ
หากเทียบพื้นที่ถูกน้ำท่วมของปี 2563 กับปีอื่น ๆ ในอดีตตั้งแต่ปี 2548 - 2562 จะเห็นได้ว่า ปี 2563 มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับปีอื่น ๆ โดยมีพื้นถูกน้ำท่วมน้อยเป็นอันดับ 2 รองจากปี 2558 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศไทยเกิดภัยแล้งรุนแรงในหลายพื้นที่
เมื่อแจกแจงข้อมูลพื้นที่น้ำท่วมเป็นรายเดือนจะเห็นได้ว่า ในปี 2563 ดาวเทียมตรวจพบพื้นที่น้ำท่วมจำนวน 5 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือน
สิงหาคมจนถึงเดือนธันวาคม โดยเดือนตุลาคมมีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด ประมาณ 629,058 ไร่ รองลงมาคือเดือน
พฤศจิกายน 575,750 ไร่ และเดือนธันวาคม 554,944 ไร่ รายละเอียดดังนี้
เดือนสิงหาคม พบพื้นที่น้ำท่วม 314,038 ไร่ รวม 11 จังหวัด ซึ่งเป็นจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ 4 จังหวัด ได้แก่ สุโขทัย พิษณุโลก แพร่ น่าน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 จังหวัด ได้แก่ นครพนม สกลนคร ร้อยเอ็ด บึงกาฬ อุดรธานี หนองคาย และยโสธร
รวมทั้งสิ้น 42 อำเภอ 182 ตำบล โดยจังหวัดสุโขทัย มีพื้นที่น้ำท่วมมากที่สุด 145,848 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดพิษณุโลกและนครพนม ซึ่งมีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 32,235 และ 28,262 ไร่ หากเทียบพื้นที่ถูกน้ำท่วมเดือนสิงหาคมของปี 2563 กับปีอื่น ๆ ใน
อดีตตั้งแต่ปี 2548 - 2562 จะเห็นได้ว่า ปี 2563 มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับปีอื่น ๆ โดยมีพื้นถูกน้ำท่วมน้อยเป็นอันดับ 4 รองจากปี 2555 2559 และ 2549
เดือนกันยายน พบพื้นที่น้ำท่วม 291,698 ไร่ รวม 14 จังหวัด ซึ่งเป็นจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ 4 จังหวัด ได้แก่ สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 จังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ ชัยภูมิ ยโสธร ศรีสะเกษ มหาสารคาม นครราชสีมา ภาคกลาง 2 จังหวัด ได้แก่
ลพบุรีและนครสวรรค์ ภาคตะวันออก มีเพียงจังหวัดปราจีนบุรี เพียงจังหวัดเดียว รวมทั้งหมด 48 อำเภอ 184 ตำบล โดยจังหวัดสุโขทัย มีพื้นที่น้ำท่วมมากที่สุด 96,693 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดเพชรบูรณ์และพิษณุโลก ซึ่งมีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 68,888 และ 30,342 ไร่ หากเทียบพื้นที่ถูกน้ำท่วม
เดือนกันยายนของปี 2563 กับปีอื่น ๆ ในอดีตตั้งแต่ปี 2548 - 2562 จะเห็นได้ว่า ปี 2563 มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับปีอื่น ๆ โดยมีพื้นถูกน้ำท่วมน้อยเป็นอันดับ 2 รองจากปี 2558 ที่ประเทศไทยเกิดภัยแล้งรุนแรง
เดือนตุลาคม พบพื้นที่น้ำท่วม 629,058 ไร่ รวม 23 จังหวัด ซึ่งเป็นจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 11 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุดรธานี ขอนแก่น สกลนคร หนองคาย บึงกาฬ กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ ภาคกลาง 4 จังหวัด ได้แก่ เพชรบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี
ประจวบคีรีขันธ์ ภาคตะวันออก 4 จังหวัด ได้แก่ ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ภาคใต้ 4 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี ตรัง สตูล นครศรีธรรมราช รวมทั้งหมด 129 อำเภอ 623 ตำบล โดยจังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่น้ำท่วมมากที่สุด 234,447 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดปราจีนบุรี
และบุรีรัมย์ ซึ่งมีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 72,856 และ 52,964 ไร่ หากเปรียบเทียบพื้นที่ถูกน้ำท่วมเดือนตุลาคมของปี 2563 กับปีอื่น ๆ ในอดีตตั้งแต่ปี 2548 - 2562 จะเห็นได้ว่า ปี 2563 มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับปีอื่น ๆ โดยมีพื้นถูกน้ำท่วมน้อยเป็นอันดับ 4 รองจากปี 2562 2557 2561
เดือนพฤศจิกายน พบพื้นที่น้ำท่วม 575,750 ไร่ รวม 16 จังหวัด ซึ่งเป็นจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 13 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด อุดรธานี ยโสธร หนองคาย ขอนแก่น อำนาจเจริญ สกลนคร ชัยภูมิ
ภาคตะวันออก 3 จังหวัด ได้แก่ ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว รวมทั้งหมด 129 อำเภอ 675 ตำบล โดยจังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่น้ำท่วมมากที่สุด 173,729 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดสุรินทร์และศรีสะเกษ ซึ่งมีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 59,710 และ 56,554 ไร่ หากเปรียบเทียบพื้นที่ถูกน้ำท่วมเดือน
พฤศจิกายนของปี 2563 กับปีอื่น ๆ ในอดีตตั้งแต่ปี 2548 - 2562 จะเห็นได้ว่า ปี 2563 มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับปีอื่น ๆ โดยมีพื้นถูกน้ำท่วมน้อยเป็นอันดับ 5 รองจากปี 2557 2555 2561 และ 2548
เดือนธันวาคม พบพื้นที่น้ำท่วม 544,944 ไร่ รวม 7 จังหวัด ซึ่งเป็นจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ภาคใต้ทั้งหมด ได้แก่ นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง ปัตตานี นราธิวาส สุราษฎร์ธานีและยะลา รวม 68 อำเภอ 399
ตำบล โดยจังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่น้ำท่วมมากที่สุด 257,959 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดสงขลาและพัทลุง ซึ่งมีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 105,393 และ 78,416 ไร่ หากเปรียบเทียบพื้นที่ถูกน้ำท่วมเดือนธันวาคมของปี
2563 กับปีอื่น ๆ ในอดีต (2548 - 2562) จะเห็นได้ว่า ปี 2563 มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับปีอื่น ๆ โดยมีพื้นถูกน้ำท่วมมากเป็นอันดับ 7 รองจากปี 2554 2553 2548 2560 2559 และ 2556