เหตุการณ์น้ำท่วม

1) เหตุการณ์พายุฤดูร้อนช่วงเดือนมีนาคม 2563

เดือนมีนาคม 2563 กรมอุตุนิยมวิทยา ได้มีการประกาศเตือนภัยพายุฤดูร้อน ในช่วง 2 เวลา คือ ในช่วงต้นเดือนระหว่างวันที่ 3-6 มีนาคม และช่วงปลายเดือนระหว่างวันที่ 20-23 มีนาคม นอกจากนี้ยังเกิดสถานการณ์ฝนตกหนักในช่วงกลางเดือนระหว่างวันที่ 14-15 มีนาคม ด้วยเช่นกัน ซึ่งทั้ง 3 เหตุการณ์ส่งผลทำให้มีฝนตกกระจายตัวในหลายพื้นที่ครอบคลุมบริเวณตอนบนของประเทศ ทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก

โดยเฉพาะบริเวณตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และบริเวณภาคตะวันออกที่มีฝนตกมากจนทำให้ค่าปริมาณฝนของเดือนมีนาคมสูงมากกว่าปกติในพื้นที่ดังกล่าว โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกมากกว่าปกติ 27% ส่วนภาคตะวันออกมีฝนตกมากกว่าปกติ 47% ทั้งนี้จากสถานการณ์ฝนที่เกิดขึ้นทั้ง 3 ครั้งในเดือนมีนาคม ไม่ได้ทำให้มีน้ำไหลลงเขื่อนในพื้นที่ตอนบนของประเทศมีเพิ่มขึ้นมากนัก โดยภาคเหนือมีน้ำไหลลงเขื่อนตลอดเดือนเพียง 98 ล้าน

ลูกบาศก์เมตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 67 ล้านลูกบาศก์เมตร ภาคกลาง 82 ล้านลูกบาศก์เมตร และภาคตะวันออก 13 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดในช่วงต้นเดือนส่งผลทำให้มีน้ำไหลลงเขื่อนมากกว่าเหตุการณ์ที่เกิดในช่วงกลางเดือนและปลายเดือน ยกเว้นพื้นที่ภาคกลางที่มีน้ำไหลลงเขื่อนมากจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงกลางเดือน



ทั้งนี้จากเหตุการณ์พายุฤดูร้อนที่เกิดขึ้นกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้รายงานสถานการณ์สาธารณภัย โดยช่วงวันที่ 2-5 มี.ค. 63 ได้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในพื้นที่ 15 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย พะเยา แพร่ พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เลย หนองบัวลำภู หนองคาย อุดรธานี สกลนคร ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด รวม 36 อำเภอ 63 ตำบล 190 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายรวม 1,960 หลัง ผู้ได้รับบาดเจ็บ 1 ราย ที่ จ.อุดรธานี โรงเรียน 6 แห่ง วัด 3 แห่ง เสาไฟฟ้าหัก

โค่น 74 ต้น ยุ้งข้าว 3 หลัง คอกสัตว์ 2 หลัง ส่วนสถานการณ์ช่วงกลางเดือนระหว่างวันที่ 14-16 มีนาคมเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในพื้นที่ 12 จังหวัด ได้แก่ น่าน ยโสธร ร้อยเอ็ด สระบุรี นครนายก ลําปาง อุตรดิตถ์ นครราชสีมา อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี สระแก้ว รวมถึงกรุงเทพมหานคร รวม 17 อำเภอ 25 ตำบล 63 หมู่บ้าน 2 เขต 2 แขวง บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายรวม 211 หลัง วัด 1 แห่ง เสาไฟฟ้า จํานวน 7 ต้น ไม่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ส่วน

สถานการณ์ช่วงปลายเดือน วันที่ 20-23 มี.ค. 63 เกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในพื้นที่ 12 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร นครสวรรค์ เลย หนองบัวลําภู กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด นครพนม ขอนแก่น นครราชสีมา ชลบุรี รวม 31 อำเภอ 74 ตำบล 302 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย รวม 1,355 หลัง วัด 4 แห่ง วัว 2 ตัว หอกระจายข่าว 1 แห่ง ยุ้งข้าว 10 หลัง คอกสัตว์ 41 แห่ง เสียชีวิต 3 ราย ที่ จ.เลย 1 ราย จ.ขอนแก่น 2 ราย สาเหตุจากการถูกฟ้าผ่า



2) เหตุการณ์น้ำท่วมจากอิทธิพลของพายุ "ซินลากู" (SINLAKU) ช่วงเดือนสิงหาคม 2563

อิทธิพลของพายุโซนร้อน “ซินลากู” (SINLAKU) เริ่มส่งผลทำให้เกิดฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้างในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2563 ซึ่งในขณะนั้นพายุยังคงเคลื่อนตัวอยู่บริเวณทะเลจีนใต้ แต่ต่อมาพายุดังกล่าวได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนาม แล้วลดกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันในระหว่างเคลื่อนตัวผ่านประเทศลาวเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณ อ.ปัว จ.น่าน ในช่วงเช้าวันที่ 3 สิงหาคม เวลาประมาณ 04.00 น. ซึ่งพายุดังกล่าวได้สลายตัวไปอย่างรวดเร็วในเวลา 07.00 น. ซึ่งหย่อมความกดอากาศต่ำที่

สลายตัวจากพายุได้เคลื่อนแผ่ปกคลุมในหลายพื้นที่ของภาคเหนือทำให้เกิดฝนตกหนักในช่วงวันที่ 3-5 สิงหาคม 2563 โดยเฉพาะในวันที่ 3 สิงหาคม 2563 ที่มีฝนตกหนักมากในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แต่ทั้งนี้ปริมาณฝนในพื้นที่ได้ลดลงอย่างรวดเร็วในวันที่ 4-5 สิงหาคม 2563 นอกจากนี้ยังพบว่าในช่วงที่พายุเคลื่อนเข้าใกล้ประเทศไทย ยังส่งผลทำให้ด้านตะวันตกของประเทศรวมถึงภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกเพิ่มขึ้น เนื่องจากอิทธิพลของพายุส่งผลทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้นด้วย ทั้งนี้จังหวัดที่มีฝนตกหนักมาก

ตรวจวัดปริมาณฝนได้เกิน 90 มิลลิเมตรต่อวัน ในช่วงวันที่ 2 – 7 สิงหาคม 2563 ประกอบด้วย ภาคเหนือ บริเวณจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา พิษณุโลก แพร่ ลำปางและอุตรดิตถ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณจังหวัดกาฬสินธุ์ นครพนม บึงกาฬ มหาสารคาม ยโสธร เลยและหนองบัวลำภู ภาคกลาง บริเวณจังหวัดกาญจนบุรีและประจวบคีรีขันธ์ ภาคตะวันออก บริเวณจังหวัดสระแก้วและตราด ภาคใต้บริเวณจังหวัดระนอง พังงาและชุมพร


ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2563 เวลา 18.00 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้รายงานความเสียหายจากอิทธิพลพายุ "ซินลากู" (SINLAKU) ซึ่งมีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำไหลป่าหลากทั้งหมด 13 จังหวัด รวม 46 อำเภอ 133 ตำบล 609 หมู่บ้าน ประชาชน

ได้รับผลกระทบ 22,809 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 3 ราย ที่ จ.หนองบัวลำภู จ.พิษณุโลก และ จ.อุดรธานี มีผู้บาดเจ็บ 1 ราย ที่ จ.พิษณุโลก นอกจากนี้ยังมีจังหวัดได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดินสไลด์ 3 จังหวัด รวม 4 อำเภอ 6 ตำบล 6 หมู่บ้าน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต อีกทั้งยัง

เกิดวาตภัย ในพื้นที่ 15 จังหวัดรวม 63 อำเภอ 272 ตำบล 1,075 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย 3,897 หลัง โรงเรียน 1 แห่ง เสียชีวิต 4 ราย ที่ จ.นครศรีธรรมราช 1 ราย จ.ภูเก็ต 1 ราย จ.สุราษฎร์ธานี 2 ราย สูญหาย 3 ราย ที่ จ.สุราษฎร์ธานี




นอกจากนี้ เหตุการณ์ฝนตกหนักที่เกิดขึ้น ทำให้น้ำไหลลงเขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น โดยในช่วงวันที่ 2-8 สิงหาคม 2563 เขื่อนที่มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสมมากกว่า 100 ล้านลูกบาศก์เมตร มีทั้งหมด 5 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำไหลเข้ามากที่สุด 527.58 ล้านลูกบาศก์เมตร รองลงมาคือเขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี 252.65 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนภูมิพล จ.ตาก 195.69 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนรัชชประภา จ.สุราษฎร์ธานี 115.71 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี 115.01 ล้านลูกบาศก์เมตร

และถึงแม้จะมีฝนตกเพิ่มขึ้นในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและกลับพบว่าปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่มีค่อนข้างน้อย อีกทั้งฝนที่ตกหนักบริเวณจังหวัดเลย ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของต้นน้ำป่าสัก แต่พบว่าปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี กลับมีน้อยมาก ถึงแม้พายุ “ซินลากู” จะทำให้มีน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณน้ำที่ใช้การได้จริงของแต่ละเขื่อนกลับยังคงมีน้อยมาก โดยจากรายงานสถานการณ์น้ำในเขื่อนวันที่ 9 สิงหาคม 2563 มีอยู่ 19 เขื่อน ที่สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้อยวิกฤต ประกอบด้วย 1) เขื่อนภูมิพล จ.ตาก 2) เขื่อนแควน้อย

จ.พิษณุโลก 3) เขื่อนแม่มอก จ.ลำปาง 4) เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ 5) เขื่อนลำตะคอง จ.นครราชสีมา 6) เขื่อนลำพระเพลิง จ.นครราชสีมา 7) เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น 8) เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี 9) เขื่อนลำนางรอง จ.บุรีรัมย์ 10) เขื่อนมูลบน จ.นครราชสีมา 11) เขื่อนน้ำพุง จ.สกลนคร 12) เขื่อนลำแซะ จ.นครราชสีมา 13) เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี 14) เขื่อนกระเสียว จ.สุพรรณบุรี 15) เขื่อนทับเสลา จ.อุทัยธานี 16) เขื่อนบางพระ จ.ชลบุรี 17) เขื่อนคลองสียัด จ.ฉะเชิงเทรา 18) เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก 19) เขื่อนประแสร์ จ.ระยอง



3) เหตุการณ์น้ำท่วมจากอิทธิพลของพายุ "โนอึล" ช่วงเดือนกันยายน 2563

อิทธิพลของพายุโซนร้อน “โนอึล” (NOUL) เริ่มส่งผลทำให้เกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน 2563 ในขณะที่พายุยังคงเคลื่อนตัวอยู่บริเวณทะเลจีนใต้ หลังจากนั้นพายุได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ผ่านประเทศลาวเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณจังหวัดมุกดาหารในช่วงบ่ายของวันที่ 18 กันยายน 2563 ก่อนเคลื่อนตัวผ่านจังหวัดอำนาจเจริญและจังหวัดร้อยเอ็ดในขณะที่ยังเป็นพายุโซนร้อน ต่อมาในวันที่ 19 กันยายน 2563 เวลาประมาณ 01.00 น. พายุดังกล่าวได้ลดกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันบริเวณจังหวัดขอนแก่น ก่อนเคลื่อนตัวไปยังบริเวณ

จังหวัดเพชรบูรณ์ ในเวลาประมาณ 07.00 น. แล้วสลายตัวเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณจังหวัดพิษณุโลกและพื้นที่ใกล้เคียง ในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน จากสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ ทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือและภาคกลาง ซึ่งหลังจากพายุสลายตัวไปได้เกิดร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ยังคงมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ต่อเนื่องออกไปอีก นอกจากนี้ยังพบว่าในช่วงที่พายุเคลื่อนเข้าใกล้ประเทศไทยได้ส่งผลทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้นด้วยทำให้ด้านตะวันตกของประเทศรวมถึงภาคใต้และ

ภาคตะวันออกมีฝนตกเพิ่มขึ้น ทั้งนี้จังหวัดที่มีฝนตกหนักมาก ตรวจวัดปริมาณฝนได้เกิน 90 มิลลิเมตรต่อวัน ในช่วงวันที่ 17-20 กันยายน 2563 ประกอบด้วย ภาคเหนือ บริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ เชียงราย พิจิตร กำแพงเพชร ตาก เชียงใหม่และแพร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณจังหวัดสุรินทร์ อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ยโสธร นครราชสีมาและชัยภูมิ ภาคกลาง บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรีและสระบุรี ภาคตะวันออก บริเวณจังหวัดจันทบุรี ตราด นครนายก สระแก้วและปราจีนบุรี ภาคใต้ บริเวณจังหวัดระนอง ตรังและชุมพร


ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2563 เวลา 06.00 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้รายงานสถานการณ์ภัยจากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “โนอึล” (NOUL) และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ที่ส่งผลทําให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน

น้ำไหลหลาก วาตภัย และดินสไลด์ ในช่วงวันที่ 18-22 กันยายน 2563 ซึ่งมีจังหวัดที่ประสบภัยทั้งสิ้น 29 จังหวัด ประกอบด้วย ลําปาง แพร่ ลําพูน ตาก เพชรบูรณ์ พิจิตร เลย อุดรธานี ขอนแก่น ชัยภูมิ มุกดาหาร อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา ลพบุรี

ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล รวม 121 อำเภอ 236 ตำบล 439 หมู่บ้าน 1 เขตเทศบาล ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,141 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 1 ราย ที่ จ.ระนอง และผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 ราย ที่ จ.เพชรบูรณ์




สถานการณ์ฝนตกหนักจากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “โนอึล” (NOUL) ทำให้น้ำไหลลงเขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งในช่วงที่ได้รับผลกระทบจากพายุระหว่างวันที่ 17-25 กันยายน 2563 เขื่อนที่มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสมมากกว่า 100 ล้านลูกบาศก์เมตร มีทั้งหมด 8 เขื่อน ประกอบด้วย 1) เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ ที่มีปริมาณน้ำไหลเข้ามากที่สุด 338 ล้านลูกบาศก์เมตร 2) เขื่อนภูมิพล จ.ตาก 301 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่มีปริมาณน้ำไหลเข้ามากเป็นอันดับที่ 2 3) เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี 292 ล้านลูกบาศก์เมตร 4) เขื่อนศรีนครินทร์ 5) เขื่อนวชิราลงกรณ

จ.กาญจนบุรี มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนเท่ากัน เขื่อนละ 250 ล้านลูกบาศก์เมตร 6) เขื่อนรัชชประภา จ.สุราษฎร์ธานี 230 ล้านลูกบาศก์เมตร 7) เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี 226 ล้านลูกบาศก์เมตร 8) เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น 115 ล้านลูกบาศก์เมตร ถึงแม้พายุ “โนอึล” จะทำให้มีน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มขึ้น แต่เขื่อนที่มีปริมาณน้ำกักเก็บเพิ่มขึ้นจนถึงเกณฑ์น้ำมาก (ปริมาณน้ำกักเก็บมากกว่า 80% ของความจุเขื่อน) มีเพียง 2 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนหนองปลาไหล จ.ระยอง และเขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก แต่กลับมีหลายเขื่อนที่ปริมาณน้ำกักเก็บยังคงมีน้อย จากรายงาน

สถานการณ์น้ำในเขื่อนของกรมชลประทานเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2563 มีอยู่ 10 เขื่อน ที่สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้อยวิกฤต (ปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือน้อยกว่า 30% ของความจุเขื่อน) ประกอบด้วย 1) เขื่อนแม่มอก จ.ลำปาง 2) เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี 3) เขื่อนทับเสลา จ.อุทัยธานี 4) เขื่อนกระเสียว จ.สุพรรณบุรี 5) เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น 6) เขื่อนมูลบน จ.นครราชสีมา 7) เขื่อนลำแซะ จ.นครราชสีมา 8) เขื่อนลำนางรอง จ.บุรีรัมย์ 9) เขื่อนบางพระ จ.ชลบุรี 10) เขื่อนคลองสียัด จ.ฉะเชิงเทรา



4) เหตุการณ์พายุไต้ฝุ่น "โมลาเบ" และเหตุการณ์น้ำท่วมบริเวณจังหวัดนครราชสีมา ช่วงเดือนตุลาคม 2563

พายุไต้ฝุ่น “โมลาเบ” (MOLAVE) เริ่มก่อตัวเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2563 หลังจากนั้นได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกอย่างต่อเนื่อง และเริ่มส่งผลกระทบทำให้มีฝนตกมากขึ้นบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยในวันที่ 28 ตุลาคม 2563 โดยที่พายุยังคงเคลื่อนตัวอยู่

บริเวณประเทศเวียดนาม ขณะที่ยังเป็นพายุไต้ฝุ่น ระดับ 1 หลังจากนั้นได้ลดกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนในระหว่างเคลื่อนตัวผ่านประเทศลาว แล้วลดกำลังลงต่อเนื่องเป็นพายุดีเปรสชัน ก่อนเคลื่อนตัวเข้าประเทศไทยบริเวณ ต.สะพือ อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี ในวันที่ 29 ตุลาคม 2563 หลังจากนั้นได้อ่อนกำลังลง

เป็นหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมในหลายพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือในวันที่ 30 ตุลาคม 2563 ซึ่งหลังจากพายุได้สลายตัวไป ได้เกิดร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคใต้ อีกทั้งมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องไปอีก


จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด ส่งผลทำให้มีฝนตกเพิ่มขึ้นในภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่หลังจากได้รับอิทธิพลจากพายุแล้ว ต่อมายังได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงที่พัด

ปกคลุมในพื้นที่ ประกอบกับความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้เกิดแนวปะทะของมวลอากาศเย็นและอากาศร้อน ส่งผลให้คืนวันที่ 31 ตุลาคม 2563 เกิดฝนตกหนัก

ติดต่อกันหลายชั่วโมงบริเวณด้านรับลมแนวเขาของอุทยานแห่งชาติทับลานและอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมารวมถึงอุโมงค์เชื่อมพื้นที่ป่าเขาใหญ่-ทับลาน อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี




ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม ถึงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2563 มีจังหวัดที่เกิดฝนตกหนัก ตรวจวัดปริมาณฝนได้ตั้งแต่ 35 -90 มิลลิเมตรต่อวัน ประกอบด้วย ภาคเหนือ 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง ตาก น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12

จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี นครราชสีมา ยโสธร ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ สุรินทร์ มุกดาหาร สกลนคร อำนาจเจริญ นครพนม เลย ภาคกลาง 9 จังหวัด ได้แก่ ลพบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี สระบุรี นครสวรรค์ อุทัยธานี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ภาคตะวันออก 6 จังหวัด

ได้แก่ สระแก้ว ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง ตราด จันทบุรี ภาคใต้ 11 จังหวัด ได้แก่ พังงา ตรัง ระนอง ภูเก็ต กระบี่ สตูล ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ยะลา


เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดน้ำล้นตลิ่งในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างตามแนวแม่น้ำมูล ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมในช่วงวันที่ 28 ตุลาคม – 5 พฤศจิกายน 2563 พบพื้นที่ถูกน้ำท่วมทั้งสิ้น 17 จังหวัด

ประกอบด้วย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 14 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุบลราชธานี สุรินทร์ บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด อุดรธานี หนองคาย ยโสธร สกลนคร ขอนแก่น ชัยภูมิ อำนาจเจริญ บึงกาฬ ภาคตะวันออก 3 จังหวัด ได้แก่ ปราจีนบุรี

สระแก้ว ฉะเชิงเทรา รวมพื้นที่ถูกน้ำท่วมทั้งหมดประมาณ 527,766 ไร่ โดยจังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 130,606 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดปราจีนบุรี 53,127 ไร่ และศรีสะเกษ 51,298 ไร่


นอกจากนี้ อิทธิพลจากพายุไต้ฝุ่น "โมลาเบ" (MOLAVE) ยังส่งผลทำให้มีน้ำไหลลงเขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะเขื่อนที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี ที่ได้รับผลกระทบจากพายุโดยตรงมีน้ำไหลเข้าสะสมในช่วงวันที่ 28-31 ตุลาคม 2563 ถึง 158 ล้านลูกบาศก์

เมตร เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น มีน้ำไหลเข้าสะสม 94 ล้านลูกบาศก์เมตร และจากเหตุการณ์ฝนตกหนักที่เกิดขึ้นบริเวณจังหวัดนครราชสีมา ส่งผลทำให้เขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่ง มีปริมาณน้ำไหลเข้าค่อนข้างมากเช่นกัน โดยเขื่อนลำพระเพลิงและเขื่อนมูลบน มีน้ำไหลเข้ามากจนทำให้เกิดสถานการณ์น้ำล้นเขื่อน ปริมาณน้ำกักเก็บ

วันที่ 31 ตุลาคม 2563 อยู่ที่ 104% และ 100% ของความจุเขื่อน ส่วนเขื่อนลำตะคองที่เกิดสถานการณ์น้ำล้นเขื่อนอยู่ก่อนหน้านั้นแล้ว จากสถานการณ์ฝนตกหนักทำให้มีน้ำไหลเข้าเพิ่มขึ้นอีก ปริมาณน้ำกักเก็บเพิ่มขึ้นเป็น 113% ของความจุเขื่อน ส่วนเขื่อนลำแซะปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นเป็น 75% ของความจุเขื่อน





5) เหตุการณ์น้ำท่วมภาคใต้จากอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และหย่อมความกดอากาศต่ำ ช่วงเดือนธันวาคม 2563

ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม 2563 บริเวณภาคใต้ของประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและหย่อมความกดอากาศต่ำที่เคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณดังกล่าว โดยในช่วงประมาณวันที่ 25-28 พฤศจิกายน 2563 อิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือส่งผลทำให้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายตัวในหลายจังหวัดโดยเฉพาะด้านตะวันออกของภาคตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป ส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ซึ่งต่อมาในช่วงวันที่ 30 พฤศจิกายน ถึง 3 ธันวาคม 2563 อิทธิพลจากหย่อมความกดอากาศต่ำที่เคลื่อนเข้า

ปกคลุมบริเวณภาคใต้ ส่งผลทำให้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากในบริเวณเดิมอีกครั้ง แต่ในครั้งนี้ปริมาณและการกระจายตัวของกลุ่มฝนตกหนักครอบคลุมในหลายจังหวัดมากกว่าช่วงวันที่ 25-28 พฤศจิกายน 2563 ทั้งนี้จังหวัดที่มีฝนตกหนักมาก ตรวจวัดปริมาณฝนได้เกิน 90 มิลลิเมตรต่อวัน ในช่วงวันที่ 25 พฤศจิกายน ถึง 5 ธันวาคม 2563 ประกอบด้วย ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา นราธิวาส ปัตตานี ยะลาและตรัง เมื่อเปรียบเทียบสถานการณ์ฝนตกหนักที่เกิดขึ้นในครั้งนี้กับเหตุการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต จะเห็นว่าในครั้งนี้กลุ่มฝน

ตกหนักถึงหนักมากกระจุกตัวอยู่บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุงและสงขลา ซึ่งการกระจายตัวของกลุ่มฝนตกหนักครอบคลุมพื้นที่มากกว่าเหตุการณ์อุทกภัยภาคใต้ในปี 2560 และ 2562 แต่น้อยกว่าปี 2553 2554 และปี 2559 ค่อนข้างมาก และหากเทียบปริมาณฝนที่วัดได้จากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยาของแต่ละจังหวัด จะพบว่าปริมาณฝนสะสมของเหตุการณ์อุทกภัยในปีนี้ถือว่ายังน้อยกว่าเหตุการณ์อุทกภัยอื่นที่เคยเกิดขึ้นในอดีต



ทั้งนี้ จากสถานการณ์ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม 2563 ส่งผลทำระดับน้ำในลำน้ำสายสำคัญหลายสายเพิ่มสูงขึ้นจนล้นตลิ่งเข้าท่วมในหลายพื้นที่ เช่น บริเวณแม่น้ำตาปีและคลองอิปัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี คลองท่าดี คลองท่าเลาและคลองกลาย จังหวัดนครศรีธรรมราช

คลองอู่ตะเภา จังหวัดสงขลา แม่น้ำตรังและคลองชี บริเวณจังหวัดตรัง คลองฉลุงและคลองละงู จังหวัดสตูล ซึ่งส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเหตุการณ์น้ำท่วมฉับพลัน ไม่เกิดการท่วมขังเป็นระยะเวลานาน สถานการณ์ระดับน้ำลดลงเข้าสู่สภาวะปกติได้โดยเร็ว และจากการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมในช่วงวันที่ 28 พฤศจิกายน ถึง 5

ธันวาคม 2563 พบพื้นที่ถูกน้ำท่วม 5 จังหวัด ประกอบด้วย สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี พัทลุง รวมพื้นที่ถูกน้ำท่วมทั้งหมดประมาณ 22.8 ล้านไร่ โดยจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 8.2 ล้านไร่ รองลงมาคือจังหวัดนครศรีธรรมราช 6.2 ล้านไร่ และสงขลา 4.8 ล้านไร่


เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2563 เวลา 18.00 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้รายงานสถานการณ์ภัยจากอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและหย่อมความกดอากาศต่ำ ที่ทำให้เกิดฝนตกหนักมากในบางพื้นที่ ซึ่งส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก ดินสไลด์และวาตภัย โดยตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 6

ธันวาคม 2563 มีจังหวัดที่ประสบภัย ทั้งหมด 11 จังหวัด ประกอบด้วย ชุมพร สุราษฎร์ธานี กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส รวมทั้งสิ้น 101 อำเภอ 560 ตำบล 4,127 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 554,947 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 21 ราย ประกอบด้วย ที่ จ.สุราษฎร์ธานี 1 ราย

จ.นครศรีธรรมราช 19 ราย จ.ตรัง 1 ราย โดยในวันที่รายงานยังคงมีน้ำท่วมขัง 5 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง ตรัง รวม 49 อำเภอ 268 ตำบล 1,821 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 291,583 ครัวเรือน





6) เหตุการณ์น้ำท่วมบริเวณจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส ช่วงวันที่ 16-19 ธันวาคม 2563

อิทธิพลของลมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงที่พัดปกคลุมบริเวณอ่าวไทยและภาคใต้ในช่วงกลางเดือนธันวาคม 2563 ส่งผลทำให้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายตัวในหลายพื้นที่ของภาคใต้ โดยเฉพาะตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2563 ที่เริ่มมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ของจังหวัดปัตตานี ยะลาและนราธิวาส ซึ่งต่อมาในช่วงวันที่ 17-18 ธันวาคม

2563 ฝนที่ตกอยู่ในเกณฑ์หนักมาก ได้ตกกระจายตัวเพิ่มมากขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดดังกล่าว ก่อนที่ปริมาณฝนจะเริ่มลดลงในวันที่ 19 ธันวาคม 2563 แต่ยังคงมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ ทั้งนี้อำเภอที่มีฝนตกหนักมาก ตรวจวัดปริมาณฝนได้เกิน 90 มิลลิเมตรต่อวัน ในช่วงวันที่ 15-18 ธันวาคม 2563 ประกอบด้วย จังหวัดปัตตานี 10 อำเภอ ได้แก่

หนองจิก ยะรัง มายอ โคกโพธิ์ กะพ้อ ทุ่งยางแดง เมืองปัตตานี ยะหริ่ง ปะนะเระ ไม้แก่น จังหวัดยะลา 5 อำเภอ ได้แก่ ยะหา เมืองยะลา บันนังสตา เบตง ธารโต จังหวัดนราธิวาส 10 อำเภอ ได้แก่ เจาะไอร้อง เมืองนราธิวาส ยี่งอ ระแงะ สุไหงปาดี จะแนะ บาเจาะ แว้ง ศรีสาคร สุไหงโก-ลก


ทั้งนี้ จากเหตุการณ์ฝนตกหนักถึงหนักมากที่เกิดขึ้น ส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ จากการวิเคราะห์ภาพถ่ายของดาวเทียม COSMO-SkyMed-4 ที่บันทึกภาพไว้เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2563 เวลา 06.08 น. พบพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของ

จังหวัดสงขลา ยะลา ปัตตานีและนราธิวาส รวมพื้นที่ถูกน้ำท่วมทั้งหมด 55,830 ไร่ โดยจังหวัดปัตตานีมีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 27,646 ไร่ ส่วนภาพจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-1 ที่บันทึกภาพไว้เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2563 เวลา 06.13 น.

ผลการวิเคราะห์พบพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดนราธิวาส ปัตตานีและยะลา รวมพื้นที่ถูกน้ำท่วมทั้งหมด 18,582 ไร่ โดยจังหวัดนราธิวาสมีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 12,010 ไร่


ซึ่งเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2563 เวลา 18.00 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้รายงานสถานการณ์ภัยจากอิทธิพลของลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกําลังแรง ทําให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ตอนล่าง และเกิดสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก ดินสไลด์และวาตภัย โดยช่วงวันที่ 16-24 ธันวาคม

2563 มีพื้นที่ประสบภัยทั้งหมด 3 จังหวัด ได้แก่ ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส รวม 28 อำเภอ 165 ตำบล 813 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 42,977 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 3 ราย ที่ จ.ยะลา 1 ราย และ จ.นราธิวาส 2 ราย เปิดจุดอพยพ 3 จุด มีผู้อพยพ 257 คน ประกอบด้วย จ.นราธิวาส 1 จุด จ.ยะลา 2 จุด ทั้งนี้ ในส่วนของสถานการณ์ภัยจาก

น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำไหลหลาก มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 3 จังหวัด ได้แก่ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส รวม 18 อำเภอ 90 ตำบล 508 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 34,713 ครัวเรือน ส่วนภัยจากดินสไลด์ เกิดขึ้นที่ อ.เบตง จ.ยะลา เพียงที่เดียว มีผู้เสียชีวิต 1 ราย


นอกจากนี้ ฝนตกหนักที่เกิดขึ้นยังทำให้มีน้ำไหลลงเขื่อนบางลางค่อนข้างมาก โดยในวันที่ 15 ธันวาคม 2563 ซึ่งเป็นวันก่อนเกิดสถานการณ์ฝนตกหนัก เขื่อนบางลางมีน้ำกักเก็บ 75% ของความจุเขื่อน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง แต่หลังจากเกิดฝนตกหนักในพื้นที่ ทำให้มีน้ำไหลลงเขื่อนสะสมช่วงวันที่ 16-23 ธันวาคม 2563 ประมาณ 244 ล้านลูกบาศก์เมตร

ส่งผลทำให้ปริมาณน้ำกักเก็บเพิ่มขึ้นเป็น 91% ของความจุเขื่อน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก ทั้งนี้ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนได้เริ่มเพิ่มขึ้นมากตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2563 ซึ่งในวันที่ 19 ธันวาคม 2563 เพียงวันเดียว มีน้ำไหลลงเขื่อนมากถึง 65 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ซึ่งเป็นปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสูงสุดในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ ทั้งนี้เขื่อนบางลางได้ปิดการ

ระบายน้ำในช่วงวันที่ 19-21 ธันวาคม 2563 เพื่อลดผลกระทบในพื้นที่ หลังจากนั้นจึงค่อย ๆ ทะยอยระบายเพิ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2563 เป็นต้นไป ซึ่งมีการระบายน้ำสูงสุด 12.42 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ในวันที่ 25 ธันวาคม 2563 แล้วจึงค่อย ๆ ลดการระบายลงอีกครั้ง