ปี 2563 ประเทศไทยมีปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งประเทศประมาณ 1,400 มิลลิเมตร น้อยกว่าปกติ 63 มิลลิเมตร หรือน้อยกว่าปกติประมาณ 4% พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีฝนตกน้อยกว่าปกติ โดยเฉพาะภาคเหนือที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติเกือบทุกพื้นที่ของภาค ครอบคลุมพื้นที่ไปถึงภาคกลางตอนบนรวมถึงบางพื้นที่ทางด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็มีฝนตกน้อยกว่าปกติเป็นบริเวณกว้างด้วยเช่นกัน
สำหรับภาคตะวันออกมีฝนตกน้อยทางตอนบนและด้านตะวันออกของภาค ส่วนภาคใต้มีฝนตกน้อยกว่าปกติทางตอนบนของภาค นอกจากนี้พื้นที่ติดทะเลรอบอ่าวตัว ก บริเวณจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม รวมถึงกรุงเทพมหานครและปริมณฑลก็มีฝนตกน้อยกว่าปกติด้วยเช่นกัน สำหรับบริเวณที่มีฝนที่ตกมากกว่าปกติค่อนข้างมาก ได้แก่ บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีฝนตกกระจายตัวครอบลุมพื้นที่ในหลายจังหวัดเป็นบริเวณกว้าง เช่น จังหวัด
นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ ขอนแก่น หนองคาย อุดรธานี โดยเฉพาะบริเวณเขาใหญ่รอยต่อของจังหวัดนครราชสีมาและปราจีนบุรีที่มีฝนตกมากกว่าบริเวณอื่นค่อนข้างมาก ส่วนภาคตะวันออกมีฝนตกมากกว่าปกติบริเวณจังหวัดชลบุรีและระยอง ภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป โดยเฉพาะจังหวัดที่อยู่ทางด้านตะวันออกของภาคที่มีปริมาณฝนที่ตกมากกว่าปกติสูงกว่าจังหวัดที่อยู่ทางด้านตะวันตกของภาค
เมื่อวิเคราะห์ปริมาณฝนเป็นรายภาค พบว่ามีฝนตกต่ำกว่าปกติในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะภาคเหนือที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติมากที่สุดถึง 17% รองลงมาคือภาคกลางที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติ 8% โดยเฉพาะภาคเหนือที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติเกือบทุกพื้นที่ของภาคครอบคลุมลงมาถึงพื้นที่ภาคกลางตอนบน ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือฝนตกน้อยกว่าปกติเพียง 2% แต่จากแผนที่ฝนจะเห็นได้ว่าบริเวณที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติครอบคลุมเป็นบริเวณ
กว้างมากทางด้านตะวันออกของภาค ส่วนบริเวณที่ฝนตกมากกว่าปกติค่อนข้างมากเป็นเพียงบริเวณแคบ ๆ สำหรับภาคตะวันออกและภาคใต้มีฝนตกมากกว่าปกติ โดยภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนตกมากกว่าปกติมากที่สุด 10% โดยเฉพาะบริเวณสามจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ที่มีฝนตกหนักหลายครั้ง และเกิดน้ำท่วมหนักในพื้นที่ รองลงมาคือ ภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก ที่มีฝนตกมากกว่าปกติเพียงเล็กน้อยแค่ 2% และ 1% ตามลำดับ และหากวิเคราะห์ปริมาณฝนเป็นรายจังหวัดจะ
พบว่ามีจังหวัดที่มีฝนตกมากกว่าปกติ 28 จังหวัด โดยจังหวัดนครนายกมีฝนตกมากกว่าปกติมากที่สุด 32.77% รองลงมาคือจังหวัดยะลาและปัตตานี ที่มีฝนตกมากกว่าปกติ 31.51% และ 29.44% ตามลำดับ ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติ มีทั้งหมด 49 จังหวัด โดยจังหวัดพิจิตร มีฝนตกน้อยกว่าปกติมากที่สุด 33.45% รองลงมาคือจังหวัดกำแพงเพชรและนครพนม ที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติ 33.16% และ 27.54% ตามลำดับ
ภาค |
ฝนปกติ |
ฝนปี 2563 |
ปริมาณฝนที่ต่างจากปกติ |
|
มิลลิเมตร |
เปอร์เซ็นต์ |
|||
ภาคเหนือ | 1,232 |
1,019 |
-213 |
-17 |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 1,384 |
1,352 |
-32 |
-2 |
ภาคกลาง | 1,218 |
1,122 |
-96 |
-8 |
ภาคตะวันออก | 1,848 |
1,874 |
+30 |
+2 |
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก | 1,972 |
2,160 |
+189 |
+10 |
ภาคใต้ฝั่งตะวันตก | 2,535 |
2,547 |
+14 |
+1 |
ทั้งประเทศ | 1,467 |
1,400 |
-63 |
-4 |
รหัส | จังหวัด | ต่างจากปกติ (%) | รหัส | จังหวัด | ต่างจากปกติ (%) |
1 | กรุงเทพมหานคร | -4.01 | 40 | ลำพูน | -8.70 |
2 | สมุทรปราการ | -2.57 | 41 | ลำปาง | -12.06 |
3 | นนทบุรี | 3.38 | 42 | อุตรดิตถ์ | -10.41 |
4 | ปทุมธานี | 0.62 | 43 | แพร่ | 1.96 |
5 | พระนครศรีอยุธยา | -0.19 | 44 | น่าน | -12.85 |
6 | อ่างทอง | -8.64 | 45 | พะเยา | -21.99 |
7 | ลพบุรี | -9.20 | 46 | เชียงราย | -22.66 |
8 | สิงห์บุรี | -17.38 | 47 | แม่ฮ่องสอน | -24.77 |
9 | ชัยนาท | -13.72 | 48 | นครสวรรค์ | -23.97 |
10 | สระบุรี | 11.30 | 49 | อุทัยธานี | -15.07 |
11 | ชลบุรี | 6.76 | 50 | กำแพงเพชร | -33.16 |
12 | ระยอง | 18.39 | 51 | ตาก | -20.32 |
13 | จันทบุรี | -4.51 | 52 | สุโขทัย | -23.30 |
14 | ตราด | -6.38 | 53 | พิษณุโลก | -18.46 |
15 | ฉะเชิงเทรา | -7.20 | 54 | พิจิตร | -33.45 |
16 | ปราจีนบุรี | 7.83 | 55 | เพชรบูรณ์ | -8.85 |
17 | นครนายก | 32.77 | 56 | ราชบุรี | 2.89 |
18 | สระแก้ว | -1.48 | 57 | กาญจนบุรี | -7.00 |
19 | นครราชสีมา | 20.59 | 58 | สุพรรณบุรี | -7.64 |
20 | บุรีรัมย์ | 7.26 | 59 | นครปฐม | 8.43 |
21 | สุรินทร์ | -7.60 | 60 | สมุทรสาคร | -6.48 |
22 | ศรีสะเกษ | -2.53 | 61 | สมุทรสงคราม | -11.54 |
23 | อุบลราชธานี | -7.75 | 62 | เพชรบุรี | 5.80 |
24 | ยโสธร | -10.34 | 63 | ประจวบคีรีขันธ์ | -0.28 |
25 | ชัยภูมิ | -0.11 | 64 | นครศรีธรรมราช | 16.65 |
26 | อำนาจเจริญ | -10.52 | 65 | กระบี่ | -0.32 |
27 | บึงกาฬ | -4.17 | 66 | พังงา | 5.01 |
28 | หนองบัวลำภู | 0.54 | 67 | ภูเก็ต | 16.66 |
29 | ขอนแก่น | 1.57 | 68 | สุราษฎร์ธานี | 2.51 |
30 | อุดรธานี | 8.50 | 69 | ระนอง | -15.26 |
31 | เลย | -6.47 | 70 | ชุมพร | -8.35 |
32 | หนองคาย | 20.31 | 71 | สงขลา | 8.49 |
33 | มหาสารคาม | -2.80 | 72 | สตูล | 3.07 |
34 | ร้อยเอ็ด | -8.90 | 73 | ตรัง | 7.45 |
35 | กาฬสินธุ์ | -13.34 | 74 | พัทลุง | 10.57 |
36 | สกลนคร | -11.18 | 75 | ปัตตานี | 29.44 |
37 | นครพนม | -27.54 | 76 | ยะลา | 31.51 |
38 | มุกดาหาร | -19.96 | 77 | นราธิวาส | 22.87 |
39 | เชียงใหม่ | -12.77 |
เมื่อเปรียบเทียบปริมาณฝนของปี 2563 กับปริมาณฝนปีอื่นย้อนหลัง 10 ปี ตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา จะเห็นได้ว่า ปี 2563 มีปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งประเทศน้อยเป็นอันดับที่ 4 รองจากปี 2562 2558 และ 2557 ซึ่งเมื่อปี 2557 และ 2558 เป็นลักษณะของ
การเกิดภัยแล้งต่อเนื่อง 2 ปี และในครั้งนี้ได้เกิดภัยแล้งต่อเนื่องขึ้นอีกครั้ง ซึ่งจากภาพแผนที่ฝนจะเห็นได้ชัดว่าบริเวณตอนบนของประเทศมีฝนค่อนข้างน้อยมาตั้งแต่ปี 2561 ต่อเนื่องมาถึงปี 2562 และ 2563 ซึ่งหากพิจารณาเฉพาะตัวเลขปริมาณฝน
เฉลี่ยทั้งประเทศจะพบว่าปี 2563 มีฝนตกค่อนข้างมาก หากเทียบกับปีที่เกิดภัยแล้งปีอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นปี 2557 2558 หรือ 2562 เหตุเนื่องจากในปี 2563 บริเวณภาคใต้มีฝนตกมากกว่าปีแล้งอื่น ๆ ค่อนข้างมาก