เมื่อวิเคราะห์ปริมาณฝนเป็นรายเดือน จะเห็นได้ว่าปี 2563 มีเดือนที่ฝนตกมากกว่าปกติเพียง 3 เดือนเท่านั้นได้แก่ สิงหาคม ตุลาคม และธันวาคม และมีฝนตกน้อยกว่าปกติถึง 9 เดือน โดยตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนกรกฎาคม ฝนตกน้อยกว่าปกติต่อเนื่อง 7 เดือน และเกิดขึ้นอีกครั้งใน
เดือนกันยายนและพฤศจิกายน โดยเฉพาะช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ซึ่งโดยปกติจะเกิดฝนตกหนักบริเวณตอนบนของประเทศและเป็นช่วงเวลาแห่งการกักเก็บน้ำเพื่อเตรียมไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง แต่ปีนี้ฝนตกน้อยกว่าปกติเกือบทุกเดือน มีเพียงเดือนสิงหาคมที่ฝนตก
มากกว่าปกติเพียง 3%และเดือนตุลาคมมีฝนตกมากกว่าปกติ 26% ประกอบกับฝนที่ตกหนักเกิดขึ้นนอกบริเวณพื้นที่รับน้ำของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ส่งผลทำให้กักเก็บน้ำได้น้อยและเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำในปี 2564
เดือนมกราคม ปี 2563 ประเทศไทยมีฝนตกเฉลี่ยประมาณ 4 มิลลิเมตร น้อยกว่าปกติ 10 มิลลิเมตร หรือน้อยกว่าปกติประมาณ 71% พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีฝนตกน้อยกว่าปกติ มีเพียงบางพื้นที่
ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางตอนล่าง ที่มีฝนตกมากกว่าปกติเป็นหย่อม ๆ เมื่อเทียบกับสถิติข้อมูลในอดีตย้อนหลัง 40 ปี จะเห็นได้ว่าในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา เดือนมกราคม
มีแนวโน้มฝนตกเพิ่มมากขึ้น มีเพียงปี 2557 และปี 2563 เท่านั้นที่ฝนตกน้อยกว่าปกติ ทั้งนี้เกิดจากบริเวณภาคใต้มีฝนตกมากกว่าปกติเกิดขึ้นหลายปี
เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2563 ประเทศไทยมีฝนตกเฉลี่ยประมาณ 7 มิลลิเมตร น้อยกว่าปกติ 11 มิลลิเมตร หรือน้อยกว่าปกติประมาณ 61% พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีฝนตกน้อยกว่าปกติ มีเพียงภาคใต้ที่มี
ฝนตกมากกว่าปกติในหลายพื้นที่ ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกมีฝนตกมากกว่าปกติเล็กน้อยที่เกิดขึ้นเป็นหย่อมเล็ก ๆ ในบางพื้นที่ เมื่อเทียบกับสถิติข้อมูลในอดีตย้อนหลัง 40 ปี จะเห็นได้ว่าในรอบ 10 ปี
ที่ผ่านมา เดือนกุมภาพันธ์เกิดสถานการณ์ฝนตกน้อยกว่าปกติบ่อยครั้งมากขึ้น โดยเกิดฝนตกมากกว่าปกติเพียง 3 ปี เท่านั้น คือ ปี 2556 2558 และ 2561
เดือนมีนาคม ปี 2563 ประเทศไทยมีฝนตกเฉลี่ยประมาณ 32 มิลลิเมตร น้อยกว่าปกติ 12 มิลลิเมตร หรือน้อยกว่าปกติประมาณ 27% พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศยังคงมีฝนตกน้อยกว่าปกติ ทั้งนี้มี
ฝนตกมากกว่าปกติกระจุกตัวเป็นบริเวณกว้างทางตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคตะวันออก เมื่อเทียบกับสถิติข้อมูลในอดีตย้อนหลัง 40 ปี จะเห็นได้ว่าในรอบ 10 ปีที่
ผ่านมา เดือนมีนาคมเกิดสถานการณ์ฝนตกน้อยกว่าปกติบ่อยครั้งมากขึ้น โดยเกิดฝนตกมากกว่าปกติเพียง 3 ปีเท่านั้น คือ ปี 2554 2555 และ 2560
เดือนเมษายน ปี 2563 ประเทศไทยมีฝนตกเฉลี่ยประมาณ 74 มิลลิเมตร น้อยกว่าปกติ 10 มิลลิเมตร หรือประมาณ 12% โดยมีฝนตกมากกว่าปกติกระจุกตัวเป็น
หย่อมเล็ก ๆ กระจายตัวอยู่ในทุกภาคของประเทศ โดยภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคยังคงมีฝนตกน้อยกว่าปกติ เมื่อเทียบกับสถิติ
ข้อมูลในอดีตย้อนหลัง 40 ปี จะเห็นได้ว่าในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา เดือนมีนาคมเกิดสถานการณ์ฝนตกมากกว่าปกติเพียง 3 ปีเท่านั้น คือ ปี 2554 2555 และ 2561
เดือนพฤษภาคม เป็นเดือนที่พื้นที่ตอนบนของประเทศไทยทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน ซึ่งในปี 2563 นี้เริ่มต้นฤดูด้วยสถานการณ์ฝนตกน้อยกว่า
ปกติ โดยมีฝนตกเฉลี่ยเพียง 122 มิลลิเมตร น้อยกว่าปกติ 64 มิลลิเมตร หรือประมาณ 34% พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีฝนตกน้อยกว่าปกติ โดยมีฝนตกมากกว่าปกติในบางพื้นที่ของภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้ เมื่อเทียบกับสถิติข้อมูลในอดีตย้อนหลัง 40 ปี จะเห็นได้ว่าในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา เดือนพฤษภาคม 2563 มีฝนตกน้อยเป็นอันดับที่ 2 รองจากปี 2558
เดือนมิถุนายน เป็นเดือนที่ 2 ของการเข้าสู่ฤดูฝน แต่สถานการณ์ฝนยังคงตกน้อยกว่าปกติ โดยมีฝนตกเฉลี่ย 167 มิลลิเมตร น้อยกว่าปกติ 10 มิลลิเมตร หรือประมาณ 6% โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคยังคงมีฝนตกน้อยกว่าปกติ รวมถึงด้านตะวันตกของประเทศตั้งแต่ภาคเหนือ บริเวณจังหวัดเชียงใหม่
แม่ฮ่องสอน ตาก ตลอดแนวยาวลงมาถึงภาคกลางบริเวณจังหวัดอุทัยธานี กาญจนบุรี ที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติเป็นบริเวณกว้าง อีกทั้งพื้นที่ตอนกลางของภาคใต้ บริเวณจังหวัดชุมพร ระนอง และสุราษฎร์ธานี ที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติด้วยเช่นกัน ส่วนบริเวณที่มีฝนตกมากกว่าปกติ ได้แก่ บริเวณภาคเหนือโดยเฉพาะทาง
ด้านตะวันออกของภาค ด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนล่างจนถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรีและระยอง ภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป
เดือนกรกฎาคม สถานการณ์ฝนยังคงตกน้อยกว่าปกติต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 โดยมีฝนตกเฉลี่ย 160 มิลลิเมตร น้อยกว่าปกติ 30 มิลลิเมตร หรือประมาณ 16% พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศยังคงมีฝนตกน้อยกว่าปกติ โดยมีเพียงภาคกลางตอนล่าง
และภาคใต้ตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ที่มีฝนตกมากกว่าปกติเป็นบริเวณกว้าง ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนตกมากกว่าปกติเป็นหย่อม ๆ ในบางพื้นที่ เมื่อเทียบกับปริมาณฝนของเดือนนี้ย้อนหลังในรอบ 40 ปี พบว่าเดือนกรกฎาคม
2563 มีฝนตกน้อยที่สุดเป็นอันดับที่ 4 รองจากปี 2530 2545 และ 2562 และหากเทียบข้อมูลย้อนหลังในรอบ 10 ปี พบว่ามีเพียงปี 2555 2562 และ 2563 ที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติ
เดือนสิงหาคม ตอนบนของประเทศมีฝนตกมากกว่าปกติในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะภาคเหนือที่มีฝนตกมากกว่าปกติเกือบทุกพื้นที่ รวมถึงบางพื้นที่ทางตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากได้รับอิทธิพลของพายุโซนร้อน “ซินลากู” ที่
ลดกำลังเป็นพายุดีเปรสชัน ก่อนเคลื่อนเข้าสู่ภาคเหนือบริเวณจังหวัดน่านในช่วงต้นเดือน ส่งผลทำให้เดือนนี้มีฝนตกเฉลี่ย 239 มิลลิเมตร ซึ่งมากกว่าปกติเพียง 8 มิลลิเมตร หรือประมาณ 3% เท่านั้น เนื่องจากยังมีสถานการณ์ฝนตกน้อยกว่า
ปกติเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะภาคกลางตอนบน ด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคใต้ ซึ่งหาเทียบกับปีที่แล้วจะพบว่าปริมาณฝนลดลงค่อนข้างมาก
เดือนกันยายน ปริมาณฝนกลับมาตกน้อยกว่าปกติอีกครั้ง โดยมีฝนตกน้อยกว่าปกติเป็นบริเวณกว้างในพื้นที่ภาคเหนือ ตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และด้านตะวันออกของภาคกลาง รวมถึงบางพื้นที่ของภาคตะวันตะวันออกและภาคใต้ที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติเกิดขึ้นเป็นหย่อมเล็ก ๆ
ในบางพื้นที่ แต่ทั้งนี้ทางตอนล่างของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกมากกว่าปกติเป็นบริเวณกว้างเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากพายุ “โนอึล” ที่เคลื่อนเข้าสู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงกลางเดือนขณะที่ยังเป็นพายุโซนร้อน นอกจากนี้พื้นที่ส่วนใหญ่ของบภาคใต้ และทางด้าน
ตะวันตกของภาคกลางมีฝนตกมากกว่าปกติในหลายพื้นที่ด้วยเช่นกัน ปริมาณฝนเฉลี่ยของเดือนนี้อยู่ที่ประมาณ 240 มิลลิเมตร น้อยกว่าปกติ 2 มิลลิเมตร หรือประมาณ 0.8% และเมื่อเทียบกับสถิติข้อมูลย้อนหลังในรอบ 10 ปี พบว่า เกิดสถานการณ์ฝนตกน้อยกว่าปกติ 6 ปี
เดือนตุลาคม ประเทศไทยมีฝนตกเฉลี่ย 205 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 43 มิลลิเมตร หรือประมาณ 26% ซึ่งเป็นเดือนที่มีฝนตกมากกว่าปกติสูงที่สุดของปี 2563 พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีฝนตกมากกว่าปกติ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ที่ได้รับอิทธิพลจากร่องมรสุมที่พาดผ่านตอนกลางของประเทศตลอดช่วงครึ่งเดือนแรก
ประกอบกับได้รับอิทธิพลของพายุไต้ฝุ่น “โมลาเบ” ที่ลดกำลังเป็นพายุดีเปรสชัน ก่อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณจังหวัดอุบลราชธานีในช่วงปลายเดือน นอกจากนี้บริเวณภาคใต้มีฝนตกมากกว่าปกติในหลายพื้นที่ด้วยเช่นกันเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากร่องมรสุมที่พาดผ่านตลอดช่วงครึ่งหลังของเดือนตุลาคม แต่ถึงแม้เดือนนี้จะมีฝนตกมากกว่าปกติ และยังคง
มีบริเวณที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติมาก โดยเฉพาะภาคเหนือที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติในเกือบทุกพื้นที่ รวมถึงทางด้านตะวันออกของภาคใต้ที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติในหลายพื้นที่เช่นกัน เมื่อเทียบกับข้อมูลสถิติปริมาณฝนย้อนหลังในรอบ 10 ปี พบว่าเดือนตุลาคมปีนี้ มีฝนตกมากที่สุด
เดือนพฤศจิกายน ฝนกลับมาตกน้อยกว่าปกติอีกครั้ง โดยมีฝนตกเฉลี่ยเพียง 56 มิลลิเมตร น้อยกว่าปกติ 21 มิลลิเมตร หรือประมาณ 27% พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีฝนตกน้อยกว่าปกติ โดยมีฝนตก
มากกว่าปกติเป็นหย่อมเล็ก ๆ ในพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคเหนือ โดยเฉพาะคใต้ที่เป็นช่วงฤดูฝน แต่กลับมีฝนตกน้อยกว่าปกติค่อนข้างมากเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้างครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่
ของภาค หากเทียบกับสถิติข้อมูลย้อนหลังในอดีตจะเห็นได้ว่าเดือนพฤศจิกายนเกิดสถานการณ์ฝนตกน้อยกว่าปกติต่อเนื่อง 3 ปี ตั้งแต่ปี 2561-2563
เดือนธันวาคม มีฝนตกเฉลี่ยทั้งประเทศ 51 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 13 มิลลิเมตร หรือประมาณ 33% โดยมีฝนตกมากกว่าปกติค่อนข้างมากเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้าง
ครอบคลุมเกือบทั้งภาคใต้ เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้เกือบตลอดทั้งเดือน เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลสถิติย้อนหลังในรอบ 10
ปี จะเห็นได้ว่าเดือนธันวาคม เกิดสถานการณ์ฝนตกน้อยกว่าปกติเพียง 2 ปี คือ ปี 2558 และ 2562