การวิเคราะห์ความรุนแรงของสภาวะฝนแล้ง
ด้วยดัชนีฝนมาตรฐาน (Standardized Precipitation Index : SPI)

จากการวิเคราะห์ความรุนแรงของสภาวะฝนแล้งด้วยดัชนีฝนมาตรฐาน (SPI) โดย USDA จะเห็นได้ว่าในภาพรวมทั้งปี 2563 ประเทศไทยประสบสภาวะฝนแล้งในระดับเล็กน้อยถึงปานกลางในพื้นที่ทางตอนบนของภาคเหนือบริเวณจังหวัดเชียงราย รวมทั้งทางด้านตะวันตกของประเทศตั้งแต่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดกำแพงเพชรที่มีสถานการณ์ฝนแล้งรุนแรงในบางพื้นที่ นอกจากนี้ทางด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเกิดสถานการณ์ฝนแล้งด้วยเช่นกัน เช่น บริเวณจังหวัดนครพนม สกลนคร

มุกดาหาร โดยเฉพาะจังหวัดนครพนมที่เกิดฝนแล้งรุนแรงในบางพื้นที่ ซึ่งเมื่อแยกวิเคราะห์เป็น 2 ช่วง จะพบว่าสภาวะฝนแล้งเกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีแรก โดยเฉพาะทางด้านตะวันตกของประเทศและด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เกิดสภาวะฝนแล้งรุนแรงในหลายพื้นที่ แต่พอเข้าสู่ช่วงครึ่งปีหลังสถานการณ์ฝนแล้งได้คลี่ลายลงเกือบทุกพื้นที่ของประเทศ โดยยังคงมีสภาวะฝนแล้งเล็กน้อยในบางพื้นที่เท่านั้น เช่น ที่จังหวัดเชียงราย กำแพงเพชร และนครพนม และเมื่อแบ่งการวิเคราะห์สถานการณ์ออกไป 4 ช่วง ช่วงละ 3 เดือน จะเห็นได้ว่า ช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคมเกิดสภาวะฝนแล้งเกือบทุกพื้นที่ของ

ประเทศ ยกเว้นทางตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีฝนตกมากในบางพื้นที่ ต่อมาในช่วงที่ 2 ระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายน เกิดสภาวะฝนแล้งในทุกพื้นที่ทางตอนบนของประเทศ มีเพียงภาคใต้ที่สถานการณ์ฝนแล้งได้คลี่คลายลงไป หลังจากนั้น 3 เดือนถัดมาระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน ความรุนแรงของสภาวะฝนแล้งลดลงมากในทุกภาค แต่ยังคงมีเกิดขึ้นในบางพื้นที่ทางด้านตะวันตกของประเทศและด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อมาในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปี สภาวะฝนแล้งคลี่คลายลงเกือบทุกภาคยกเว้นภาคเหนือตอนบนที่เกิดสภาวะฝนแล้งรุนแรงในบางพื้นที่

การวิเคราะห์ความรุนแรงของสภาวะฝนแล้งภาพรวมทั้งปี 2563


การวิเคราะห์ความรุนแรงของสภาวะฝนแล้งช่วงครึ่งปีแรกและครึ่งปีหลัง


การวิเคราะห์ความรุนแรงของสภาวะฝนแล้งทุก 3 เดือน