เมื่อวิเคราะห์ปริมาณฝนที่ตกกับปริมาณน้ำที่ไหลเข้าเขื่อนเฉลี่ยในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา (2555-2564) ประเทศไทยมีฝนตกปีละประมาณ 757,747 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี คิดเป็นปริมาณน้ำท่าประมาณ 211,411 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยน้ำท่าบางส่วนได้ไหลลงเขื่อนขนาดใหญ่เฉลี่ยปีละประมาณ 37,750 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือประมาณ 4.98% ของฝนที่ตกเท่านั้น ทั้งนี้หากแจกแจงเป็นรายภาค ภาคเหนือมีน้ำไหลลงเขื่อน 5.9% ของปริมาณฝนที่ตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3.0% ภาคกลาง 14.6% ภาค
ตะวันออก 2.0% และภาคใต้ 3.1% ทั้งนี้เขื่อนขนาดใหญ่ทั้งประเทศมีความจุรวมกันอยู่ที่ประมาณ 70,926 ล้านลูกบาศ์เมตร มีน้ำไหลลงเขื่อนเฉลี่ยปีละประมาณ 37,750 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือมีน้ำไหลลงเขื่อนเพียง 53% ของความจุเขื่อนเท่านั้น นอกจากนี้ปริมาณฝนที่ตกและปริมาณน้ำที่ไหลลงเขื่อนมีความแปรปรวนค่อนข้างสูง ฝนตกไม่สม่ำเสมอ ผิดที่ผิดเวลา ทำให้ปริมาณน้ำที่ไหลลงเขื่อนขนาดใหญ่ที่เป็นโครงสร้างน้ำหลักของประเทศมีความแปรปรวนสูงตามไปด้วย ดังนั้นจึงมีความ
จำเป็นต้องพัฒนาและฟื้นฟูแหล่งกักเก็บน้ำอื่นให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อช่วยเสริมเขื่อนขนาดใหญ่ซึ่งเป็นโครงสร้างหลัก ไม่ว่าจะเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก แก้มลิง ห้วย หนอง คลอง บึง บ่อต่าง ๆ เพื่อช่วยรองรับน้ำฝนกรณีฝนตกผิดที่ รวมถึงยังสามารถช่วยลดน้ำหลากกรณีเกิดฝนตกหนักผิดปกติอีกด้วย รวมถึงเพื่อเป็นการเตรียมรับมือกับสถานการณ์ฝนที่อาจมีความแปรปรวนมากขึ้นในอนาคต
ภาค | ปริมาณฝน (ล้าน ลบ.ม.) |
ปริมาณน้ำท่า (ล้าน ลบ.ม.) |
ความแปรปรวนสูงสุดของฝน | ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อน (ล้าน ลบ.ม.) |
ความจุรวมของเขื่อน (ล้าน ลบ.ม.) |
ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อน (ร้อยละของปริมาณฝน) |
ความแปรปรวนสูงสุดของปริมาณน้ำไหลลงเขื่อน |
เหนือ | 189,705 | 47,616 | 26% | 11,241 | 24,825 | 5.93% | 51% |
ตะวันออกเฉียงเหนือ | 229,183 | 45,607 | 24% | 6,852 | 8,368 | 2.99% | 100% |
กลางและตะวันตก | 84,137 | 22,969 | 24% | 12,245 | 28,023 | 14.55% | 44% |
ตะวันออก | 68,831 | 26,638 | 19% | 1,339 | 1,515 | 1.95% | 53% |
ใต้ | 192,435 | 76,782 | 29% | 6,046 | 8,194 | 3.14% | 36% |
ค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ | 757,747 | 211,411 | 25% | 37,750 | 70,926 | 4.98% | 40% |