สถานการณ์น้ำประเทศไทย ปี 2564

ปี 2564 ประเทศไทยมีฝนตกเฉลี่ยประมาณ 1,601 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 9% พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีฝนตกมากกว่าปกติ โดยเฉพาะทางด้านตะวันตกของประเทศตั้งแต่ด้านตะวันตกของภาคเหนือบริเวณจังหวัดตาก กำแพงเพชร ตลอดแนวยาวลงมาถึงทางด้านตะวันตก

ของภาคกลางบริเวณจังหวัดอุทัยธานี กาญจนบุรี นครสวรรค์ จนถึงด้านตะวันตกของภาคใต้บริเวณจังหวัดระนองและชุมพร ที่มีฝนตกหนักกว่าปกติค่อนข้างมาก โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดตากที่มีฝนตกหนักมากที่สุดในรอบ 10 ปี นอกจากนี้ยังเกิดฝนตกหนักมากกว่าปกติเป็นบริเวณกว้างทาง

ด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดเลย เพชรบูรณ์และนครราชสีมา ซึ่งครอบคลุมไปถึงพื้นที่ทางตอนบนของภาคกลางบริเวณจังหวัดชัยนาท ลพบุรีและสระบุรี รวมถึงภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดนครนายก ระยองและตราด ที่มีฝนตกหนักมากกว่าปกติเช่นกัน

In 2021, Thailand had an average annual rainfall of 1,601 mm, which was 9% higher than normal. Most areas of the country experienced more rainfall than usual, especially on the west side of the country from the west side of the northern region in Tak and Kamphaeng Phet provinces, down to the west side of the central region in Uthai Thani,

Kanchana Buri, and Nakhon Sawan provinces and down to the west side of the southern region in Ranong and Chumphon provinces which experienced quite much more rainfall than usual, especially in Tak Province, which had the highest annual rainfall in the last 10 years. Moreover, above-normal rainfall occurred in a wide area of the west

part of the northeastern region in Loei, Phetchabun, and Nakhon Ratchasima provinces. It covered upper Central in Chainat, Lop Buri, and Sara Buri provinces, and the eastern region in Nakhon Nayok, Rayong, and Trad provinces where rainfall was higher than normal as well.

แผนที่แสดงปริมาณและการกระจายตัวของฝนที่ต่างไปจากปกติ

หมายเหตุ : ประมาณค่าฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา


ทั้งนี้ ช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่มีฝนตกค่อนข้างมากในหลายพื้นที่ เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากร่องมรสุมที่พาดผ่านประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับอิทธิพลจากพายุโซนร้อนเตี้ยนหมู่ที่ส่งผลกระทบในช่วงปลายเดือนกันยายน อีกทั้งยังได้รับอิทธิพลจากพายุโซนร้อนไลอ้อนร๊อก และพายุโซนร้อนคมปาซุ ที่ถึงแม้จะไม่ได้เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย แต่ส่งผลทำให้มี

ฝนเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนตุลาคม นอกจากนี้จะเห็นว่าในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงฤดูแล้งแต่กลับมีฝนตกมากกว่าปกติในทุกภาคของประเทศ เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากบริเวณความกดอากาศสูง คลื่นกระแสลมตะวันตกและหย่อมความกดอากาศต่ำกําลังแรงในช่วงต้นเดือนจนถึงกลางเดือน เมื่อเทียบกับสถิติในอดีตย้อนหลัง 41 ปี พบว่าปริมาณฝนรายเดือนมากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 รอง

จากปี 2543 หรือถือเป็นปริมาณฝนของเดือนเมษายนที่มากที่สุดในรอบ 20 ปี แต่ถึงแม้ว่าในภาพรวมของประเทศจะมีปริมาณฝนมากกว่าปกติในทุกภาค แต่กลับมีฝนตกน้อยกว่าปกติเกิดขึ้นในทุกภาคเช่นกัน โดยเฉพาะตอนบนของภาคเหนือ ด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตอนกลางของภาคใต้ที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้าง

However, during September and October, rather high rainfall occurred in many areas. It was caused by the influence of monsoon troughs that continuously lay across Thailand accompanied with the influence of the tropical storm DIANMU in late September. Moreover, it was caused by the tropical storm LIONROCK and the tropical storm KOMPASU. Although they did not move into Thailand, they increased rainfall in

October. Moreover, In April, which is in the dry season, above-normal rainfall occurred in all regions of the country due to the influences of the high-pressure area, the westerly wind waves, and the strong low-pressure cell during the beginning to the middle of the month. Compared to the historical data in the past 41 years, it was found that the April rainfall was the second highest monthly rainfall after the year 2000,

or it was the highest monthly rainfall in April in the last 20 years. Although Thailand had above-normal rainfall in all regions, below-normal rainfall also occurred in all regions, especially in the upper part of northern region, the east side of the northeastern region, and the middle of the southern region which had below-normal rainfall in wide areas.

กราฟแสดงปริมาณฝนรายเดือนของปี 2564

กราฟแสดงปริมาณฝนเดือนเมษายนเปรียบเทียบตั้งแต่ปี 2524-2564

หมายเหตุ : ประมาณค่าฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา



ทั้งนี้ เหตุการณ์ฝนตกหนักที่เกิดขึ้นหลายครั้งในปี 2564 ส่งผลทำให้มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมตลอดทั้งปี 9.6 ล้านไร่ ซึ่งเกิดขึ้นในเดือนมกราคมและช่วงเดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม โดยเดือนตุลาคมมีพื้นที่ถูกน้ำท่วม

มากที่สุดประมาณ 5.9 ล้านไร่ รองลงมาคือเดือนกันยายน 5.6 ล้านไร่ มีจังหวัดที่ถูกน้ำท่วมทั้งหมด 53 จังหวัด รวม 474 อำเภอ 3,088 ตำบล โดยจังหวัดนครราชสีมามีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุดประมาณ 1.16 ไร่

รองลงมาคือจังหวัดนครสวรรค์ ที่มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 1.10 ล้านไร่ (พื้นที่น้ำท่วมได้จากการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียม)

However, several heavy rain events in 2021 caused a total annual flooded area of 9.6 million rai which occurred in January and during July and December. October had the largest flooded area of 5.9 million rai,

followed by 5.6 million rai in September. In total, 53 provinces with 474 districts and 3,088 sub-districts were flooded. Nakhon Ratchasima Province had the largest flooded area of 1.16 million rai

and Nakhon Sawan Province had the second largest flooded area of 1.10 million rai (The flooded areas were analyzed from satellite imagery).



นอกจากนี้ ฝนที่ตกหนักที่เกิดขึ้นในปี 2564 ได้ส่งผลทำให้เขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 35 แห่งทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสมรวมกันทั้งปีมากถึง 46,294 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 2 รองจากปี 2560 ที่ประเทศไทยมีปริมาณฝนทั้งประเทศใกล้เคียงกับปี 2554 ทั้งนี้มีการ

ระบายน้ำออกไปทั้งปีเพียง 31,595 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งถือว่าค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับปริมาณน้ำไหลเข้าทั้งปี ทำให้ ณ วันสิ้นปี มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือสำหรับเป็นต้นทุนในปี 2565 อยู่ถึง 53,248 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 75% ของความจุเขื่อน อยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลางค่อนไปทาง

มากและเป็นน้ำใช้การได้จริง 29,706 ล้านลูกบาศก์เมตร หากเทียบกับข้อมูลย้อนหลังในรอบ 10 ปี ( 2555-2564) พบว่าปี 2564 มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือสิ้นปีมากเป็นอันดับที่ 2 รองจากปี 2560

Furthermore, heavy rain in 2021 caused 35 large dams over the country to have the total annual inflow water of 46,294 million cubic meters (mcm), which was the second highest annual inflow water after the year 2017 that Thailand had an annual rainfall similar to the year

2011. However, water released was only 31,595 mcm, which was quite low when compared with the annual inflow water. This caused stored water at the end of this year used as a water budget in 2022 to have up to 53,248 mcm or 75% of dam capacity, which was the moderate to

high level with 29,706 mcm of available water. The comparison of historical data in the last 10 years (2012-2021) showed that the stored water at the end of the year 2021 was the second highest after the year 2017.



โดยในช่วงปลายปีนี้ มีเขื่อนที่ปริมาณน้ำเกินความจุอยู่ 3 แห่ง และมีเขื่อนที่มีสถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมากถึง 21 แห่ง เนื่องจากเกิดฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ ทำให้มีน้ำไหลลงเขื่อนค่อนข้างมาก ซึ่งปีนี้ เขื่อนแม่มอก จ.ลำปาง มีน้ำ

ไหลลงเขื่อนรายปีมากที่สุดตั้งแต่มีการสร้างเขื่อน และเกิดสถานการณ์น้ำล้นเขื่อนในช่วงปลายเดือนกันยายน นอกจากนี้เขื่อนทับเสลา จ.อุทัยธานี เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี และเขื่อนกระเสียว จ.สุพรรณบุรี ก็มีน้ำไหลลงมากที่สุดในรอบ

10 ปี โดยเฉพาะเขื่อนกระเสียวและเขื่อนทับเสลา ที่เกิดน้ำล้นเขื่อนในช่วงต้นเดือนตุลาคม ซึ่งถือเป็นสถานการณ์ที่ผิดปกติ เนื่องจากสองเขื่อนนี้มักเผชิญกับปัญหาน้ำน้อยอยู่เป็นประจำ

At the end of this year, three dams had overflow water, and 21 dams had a critically high level of stored water because heavy to very heavy rains occurred in several areas that caused quite a lot of water flowing into the dams. This year, Mae Mok Dam in Lampang Province had the highest

annual inflow water since the dam was built, and overflows occurred in late September. Furthermore, Tabsalao Dam in Uthai Thani Province, Srinagarind Dam in Kanchana Buri Province, and Kraseo Dam in Suphan Buri Province had the highest annual inflow water in the

last 10 years, especially Kraseo Dam and Tabsalao Dam that experienced overflow water in early October. This was an unusual situation because both dams always experienced low water level problems.






นอกจากนี้หลายเขื่อนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกก็มีน้ำไหลเข้ามากเช่นกัน โดยเขื่อนนฤบดินทรจินดา จ.ปราจีนบุรี มีน้ำไหลเข้ารายปีมากที่สุดตั้งแต่มีการสร้างเขื่อน เขื่อนจุฬาภรณ์

จ.ชัยภูมิ เขื่อนลำพระเพลิง จ.นครราชสีมา เขื่อนหนองปลาไหล จ.ระยอง ที่มีน้ำไหลลงเขื่อนมากที่สุดในรอบ 10 ปี แต่ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่าถึงแม้ประเทศไทยจะมีฝนตกมากในหลายพื้นที่แต่ก็มีบางพื้นที่

ที่มีฝนตกน้อยเช่นกัน โดยเฉพาะตอนบนของภาคเหนือ ซึ่งส่งผลทำให้เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีน้ำไหลลงรายปีน้อยที่สุดในรอบ 23 ปี

Moreover, many dams in the northeastern region and the eastern region also had a lot of inflow water. Naruebodindrachinda Dam in Prachin Buri Province had the highest annual inflow water since the dam was built. Chulabhorn Dam in Chaiyaphum

Province, Lampraplerng Dam in Nakhon Ratchasima Province, and Nongplalai Dam in Rayong Province had the highest annual inflow in the last 10 years. As mentioned above, although Thailand had above-normal rainfall in many areas, some areas

had below-normal rainfall, especially in the upper North. It caused Sirikit Dam in Uttaradit Province and Mae Ngad Dam in Chiangmai Province to have the lowest annual inflow in the last 10 years.