ปริมาณฝนรายเดือน
เปรียบเทียบข้อมูลสถิติฝนรายเดือนย้อนหลังในรอบ 41 ปี

เมื่อวิเคราะห์ปริมาณฝนเป็นรายเดือน จะเห็นได้ว่าปี 2564 มีเดือนที่ฝนตกมากกว่าปกติเพียง 5 เดือนเท่านั้น ได้แก่ เมษายน กรกฎาคม กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ที่เหลืออีก 7 เดือนมีฝนตกน้อยกว่าปกติ แต่จะเห็นได้ว่าในช่วงฤดูฝนระหว่างเดือน

พฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม มีฝนตกน้อยกว่าปกติเกิดขึ้นถึง 3 เดือน โดยเฉพาะเดือนพฤษภาคมที่เป็นเดือนแรกของการเข้าสู่ฤดูฝน กลับมีฝนตกน้อยกว่าปกติถึง 30% ต่อเนื่องไปถึงเดือนมิถุนายนที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติ 16% แต่สถานการณ์ฝนกลับมาดีขึ้น

ในเดือนกันยายนและเดือนตุลาคมที่มีฝนตกมากกว่าปกติค่อนข้างมากถึง 31% และ 34% นอกจากนี้จะเห็นได้ว่าในเดือนเมษายน 2564 มีฝนตกมากกว่าปกติถึงเท่าตัว (101%) ซึ่งถือเป็นปริมาณฝนที่มากที่สุดในรอบ 20 ปี

หมายเหตุ : ประมาณค่าฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา


เดือนมกราคม

เดือนมกราคม ปี 2564 ประเทศไทยมีฝนตกเฉลี่ยประมาณ 12 มิลลิเมตร น้อยกว่าปกติ 2 มิลลิเมตร หรือน้อยกว่าปกติประมาณ 14% พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ

มีฝนตกอยู่ในช่วงปกติจนถึงน้อยกว่าปกติ มีเพียงพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างตั้งแต่จังหวัดสงขลาลงไปที่มีฝนตกมากกว่าปกติ เมื่อเทียบกับสถิติในอดีตย้อนหลัง 41 ปี จะ

เห็นได้ว่าปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเล็กน้อยหลังจากลดลงอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2561





หมายเหตุ : ประมาณค่าฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา


เดือนกุมภาพันธ์

เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 ประเทศไทยมีฝนตกเฉลี่ยประมาณ 17 มิลลิเมตร น้อยกว่าปกติ 2 มิลลิเมตร หรือน้อยกว่าปกติประมาณ 6% พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ

มีฝนตกอยู่ในช่วงปกติถึงน้อยกว่าปกติ โดยมีฝนตกมากกว่าปกติเกิดขึ้นเล็กน้อยเป็นหย่อม ๆ ทางตอนบนของภาคเหนือ ด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ตอนล่างของภาคกลาง ภาคตะวันออก และตอนบนของภาคใต้ เมื่อเทียบกับสถิติในอดีตย้อนหลัง 41 ปี จะเห็นได้ว่าปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 10%





หมายเหตุ : ประมาณค่าฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา


เดือนมีนาคม

เดือนมีนาคม ปี 2564 ประเทศไทยมีฝนตกเฉลี่ยประมาณ 32 มิลลิเมตร น้อยกว่าปกติ 12 มิลลิเมตร หรือน้อยกว่าปกติประมาณ 27% พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีฝนตกน้อยกว่าปกติ โดยมีฝนตก

มากกว่าปกติเกิดขึ้นทางด้านตะวันตกของประเทศบริเวณจังหวัดกำแพงเพชร ตาก กาญจนบุรี ตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บางพื้นที่ของภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนล่าง เมื่อเทียบกับสถิติใน

อดีตย้อนหลัง 41 ปี จะเห็นได้ว่าปริมาณฝนใกล้เคียงกับปีที่แล้ว และในช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีฝนตกมากกว่าปกติในเดือนมีนาคมเพียง 2 ปี คือ ปี 2555 และ 2560





หมายเหตุ : ประมาณค่าฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา


เดือนเมษายน

เดือนเมษายน ปี 2564 ประเทศไทยมีฝนตกเฉลี่ยประมาณ 171 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 87 มิลลิเมตร หรือมากกว่าปกติประมาณ 102% พื้นที่ส่วนใหญ่ของ

ประเทศมีฝนตกมากกว่าปกติ มีเพียงในบางพื้นที่ของภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคใต้ตอนล่าง ที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติ เมื่อเทียบกับ

สถิติในอดีตย้อนหลัง 41 ปี จะเห็นได้ว่าปริมาณฝนมากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 รองจากปี 2543 หรือถือเป็นปริมาณฝนของเดือนเมษายนที่มากที่สุดในรอบ 20 ปี





หมายเหตุ : ประมาณค่าฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา


เดือนพฤษภาคม

เดือนพฤษภาคม ปี 2564 ซึ่งเป็นเดือนแรกของการเข้าสู่ฤดูฝน ประเทศไทยมีฝนตกเฉลี่ยประมาณ 130 มิลลิเมตร น้อยกว่าปกติ 57 มิลลิเมตร หรือน้อยกว่าปกติประมาณ 31% พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ

มีฝนตกน้อยกว่าปกติ โดยเฉพาะตอนบนของประเทศทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก ที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติค่อนข้างมากเป็นบริเวณกว้าง เมื่อเทียบกับสถิติในอดีต

ย้อนหลัง 41 ปี จะเห็นได้ว่าปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเล็กน้อยหลังจากลดลงอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2561





หมายเหตุ : ประมาณค่าฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา


เดือนมิถุนายน

เดือนมิถุนายน ปี 2564 ยังคงมีฝนตกน้อยต่อเนื่องเป็นบริเวณกว้างในทุกภาคของประเทศ มีเพียงตอนบนของภาคเหนือ ตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบนของภาคตะวันออก และบางพื้นที่

ทางตอนล่างของภาคใต้ที่มีฝนตกมากกว่าปกติ ซึ่งทั้งเดือนมีฝนตกเฉลี่ยประมาณ 149 มิลลิเมตร น้อยกว่าปกติ 29 มิลลิเมตร หรือน้อยกว่าปกติประมาณ 16% เมื่อเทียบกับสถิติในอดีตย้อนหลัง

41 ปี จะเห็นได้ว่าปริมาณฝนลดลงอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2560 แล้วเพิ่มขึ้นเพียงครั้งเดียวในปี 2563 แต่ก็ยังคงน้อยกว่าปกติ และหลังจากนั้นปริมาณฝนได้ลดลงอีกครั้งในปี 2564





หมายเหตุ : ประมาณค่าฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา


เดือนกรกฎาคม

เดือนกรกฎาคม ปี 2564 ประเทศไทยมีฝนตกเฉลี่ยประมาณ 233 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 44 มิลลิเมตร หรือมากกว่าปกติประมาณ 23% พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีฝนตกมากกว่าปกติ โดยเฉพาะด้านตะวันตกของประเทศบริเวณจังหวัด

ตากและกาญจนบุรี รวมถึงบริเวณจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดชุมพร ที่มีฝนตกมากกว่าพื้นที่อื่น ๆ แต่ยังคงมีฝนตกน้อยกว่าปกติเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้างทางตอนบนของภาคเหนือ ตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันออก

ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป เมื่อเทียบกับสถิติในอดีตย้อนหลัง 41 ปี จะเห็นได้ว่าปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วค่อนข้างมาก หลังจากฝนตกน้อยกว่าปกติต่อเนื่องในช่วงปี 2562 ถึงปี 2563





หมายเหตุ : ประมาณค่าฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา


เดือนสิงหาคม

เดือนสิงหาคม ปี 2564 ประเทศไทยมีฝนตกน้อยกว่าปกติอีกครั้ง ปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งเดือนประมาณ 201 มิลลิเมตร น้อยกว่าปกติ 29 มิลลิเมตร หรือน้อยกว่าปกติ

ประมาณ 13% โดยมีฝนตกน้อยกว่าปกติเป็นบริเวณกว้างในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนตกน้อยกว่าปกติเกิดขึ้นเป็นหย่อมเล็ก ๆ

ในบางพื้นที่เท่านั้น เมื่อเทียบกับสถิติในอดีตย้อนหลัง 41 ปี จะเห็นได้ว่าปริมาณฝนลดลงต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2563





หมายเหตุ : ประมาณค่าฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา


เดือนกันยายน

เดือนกันยายน ปี 2564 ประเทศไทยมีฝนตกเฉลี่ยทั้งเดือน 317 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 76 มิลลิเมตร หรือมากกว่าปกติประมาณ 31% โดยมีฝนตกมากกว่าปกติเป็นบริเวณกว้างทางตอนล่างของภาค

เหนือ ตอนบนของภาคกลาง พื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่างของภาคตะวันออก และบางพื้นที่ของภาคใต้ เมื่อเทียบกับสถิติในอดีตย้อนหลัง

41 ปี พบว่าปริมาณฝนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2562 โดยเฉพาะปี 2564 ที่ปริมาณฝนมากเป็นอันดับ 2 รองจากปี 2539





หมายเหตุ : ประมาณค่าฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา


เดือนตุลาคม

เดือนตุลาคม ปี 2564 ประเทศไทยมีฝนตกเฉลี่ยทั้งเดือน 218 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 55 มิลลิเมตร หรือมากกว่าปกติประมาณ 34% โดยภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก พื้นที่ส่วนใหญ่มีฝนตกมากกว่าปกติ

และมีฝนตกน้อยกว่าปกติเกิดขึ้นเป็นหย่อมเล็ก ๆ ในบางพื้นที่เท่านั้น มีเพียงภาคใต้ที่บริเวณตอนล่างของภาคตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป ที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้าง ส่วนตอนบน

ของภาคบริเวณจังหวัดชุมพรและระนอง มีฝนตกมากกว่าปกติค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับสถิติในอดีตย้อนหลัง 41 ปี จะเห็นได้ว่าปริมาณฝนมากเป็นอันดับที่ 4 รองจากปี 2526 2553 และ 2533





หมายเหตุ : ประมาณค่าฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา


เดือนพฤศจิกายน

เดือนพฤศจิกายน ปี 2564 มีฝนตกมากกว่าปกติต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งเดือน 96 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 18 มิลลิเมตร หรือมากกว่าปกติประมาณ 23% แต่มีเพียงภาคใต้เท่านั้นที่มีฝนตกมากกว่าปกติเกิดขึ้น

เป็นบริเวณกว้าง โดยมีฝนตกน้อยกว่าปกติเกิดขึ้นเป็นหย่อมเล็ก ๆ ในบางพื้นที่ ส่วนตอนบนของประเทศทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก มีฝนตกน้อยกว่าปกติเกิดขึ้น

เป็นบริเวณกว้างในทุกภาค เมื่อเทียบกับสถิติในอดีตย้อนหลัง 41 ปี จะเห็นได้ว่าปริมาณฝนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2562 หลังจากเกิดสถานการณ์ฝนตกน้อยที่สุดในปี 2561





หมายเหตุ : ประมาณค่าฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา


เดือนธันวาคม

เดือนธันวาคม ปี 2564 มีฝนตกเฉลี่ยทั้งเดือน 25 มิลลิเมตร น้อยกว่าปกติ 14 มิลลิเมตร หรือน้อยกว่าปกติประมาณ

36% โดยเกิดฝนตกน้อยกว่าปกติในทุกภาค โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคใต้ที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติเกิดขึ้นเป็นบริเวณ

กว้าง เมื่อเทียบกับสถิติในอดีตย้อนหลัง 41 ปี จะเห็นได้ว่าปริมาณฝนลดลงจากปีที่แล้วค่อนข้างมาก







หมายเหตุ : 1. ประมาณค่าฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา
                2. คำนวนฝนเฉลี่ยโดยใช้ข้อมูล 30 ปี (2524-2553)