สถานการณ์น้ำเค็มรุกแม่น้ำเจ้าพระยา

สถานีสูบน้ำดิบสำแล อ.เมือง จ.ปทุมธานี ตรวจวัดค่าความเค็มที่อยู่ในช่วง 0.25 – 2.0 กรัมต่อลิตร ได้หลายครั้งในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้งกว่าในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 รวมทั้งค่าความเค็มที่วัดได้มีค่าสูงกว่าค่อนข้างมาก ทั้งนี้วัดค่าความเค็มได้สูงสุด 2.53 กรัมต่อลิตร ในวันที่ 30 มกราคม 2564 ซึ่งในปี 2563 วัดค่าความ

เค็มสูงสุดได้เพียง 1.35 กรัมต่อลิตร ในวันที่ 13 มกราคม 2563 ซึ่งต่อมาในช่วงกลางเดือนมีนาคมถึงกลางพฤษภาคม 2564 ค่าความเค็มได้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ต่างจากปี 2563 ที่ค่าความเค็มในช่วง 0.25-2.0 กรัมต่อลิตร เกิดขึ้นบ่อยครั้งตั้งแต่ต้นปีต่อเนื่องจนถึงเดือนสิงหาคม ซึ่งโดยภาพรวมจะเห็นว่า ถึงแม้ปี 2564 แม่น้ำเจ้าพระยาจะเกิดน้ำเค็มรุกไม่ยาวนานต่อเนื่องเหมือนปี

2563 แต่ค่าความเค็มสูงกว่ามาก ซึ่งเห็นได้ชัดเจนตั้งแต่คลองพระพิมลเรื่อยลงไปจนถึงปากอ่าวบริเวณโรงไฟฟ้าพระนครใต้ ที่ปี 2564 ค่าความเค็มสูงกว่าและเกิดต่อเนื่องในช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม แต่ช่วงเดือนธันวาคม 2563 ค่าความเค็มสูงเกิน 2.0 กรัมต่อลิตร ได้รุกเข้ามาถึงคลองพระพิมล ต่างจากปี 2564 ที่อยู่แค่คลองลัดโพธิ์

หมายเหตุ :
ช่วง 0.25 ถึง 0.50 กรัมต่อลิตร คือ เกณฑ์เฝ้าระวังคุณภาพน้ำเพื่อการผลิตน้ำประปา
มากว่า 0.50 กรัมต่อลิตร คือ เกินเกณฑ์มาตรฐานน้ำเพื่อการผลิตน้ำประปา
มากกว่า 2.0 กรัมต่อลิตร คือ เกินเกณฑ์มาตรฐานน้ำเพื่อการเกษตร






ค่าความเค็มบริเวณสถานีสำแล ช่วงปี 2563-2564
ที่มา : คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ