เหตุการณ์น้ำท่วม

1) เหตุการณ์น้ำท่วมบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ช่วงเดือนมกราคม 2564

อิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงที่พัดปกคลุมบริเวณอ่าวไทยและภาคใต้เป็นระยะ ๆ ในช่วงต้นเดือนจนถึงกลางเดือนมกราคม 2564 ส่งผลทำให้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายตัวในหลายพื้นที่ของภาคใต้ตอนล่าง โดยเฉพาะในวันที่ 3, 5 และ 6 มกราคม 2564 ที่มีฝนตกหนักถึงหนักมาก

ในหลายพื้นที่ของจังหวัดปัตตานี ยะลาและนราธิวาส รวมถึงในบางพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและพัทลุง ก่อนที่ปริมาณฝนจะลดลงมากในช่วงวันที่ 7-12 มกราคม 2564 แต่ยังคงมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ของจังหวัดพัทลุง สงขลา รวมถึงนครศรีธรรมราช ทั้งนี้อำเภอที่มีฝนตกหนักมาก ตรวจวัดปริมาณฝนได้

เกิน 90 มิลลิเมตรต่อวัน ประกอบด้วย จังหวัดยะลา 7 อำเภอ ได้แก่ ยะหา บันนังสตา กาบัง กรงปินัง เบตง ธารโต รามัน จังหวัดนราธิวาส 8 อำเภอ ได้แก่ ศรีสาคร แว้ง จะแนะ สุไหงปาดี รือเสาะ เจาะไอร้อง ระแงะ สุไหงโก-ลก และจังหวัดปัตตานีมีเพียงอำเภอเดียวคืออำเภอยะรัง


ซึ่งสถานการณ์ฝนตกหนักครั้งนี้ ส่งผลทำให้เกิดน้ำล้นตลิ่งบริเวณแม่น้ำโก-ลก แม่น้ำสายบุรี และแม่น้ำปัตตานี ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส เช่น สะพานเดชานุชิตและที่บ้านบริดอ อ.เมืองปัตตานี

บ้านลอคอ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี บ้านมูโน๊ะ สะพานลันตู อ.สุไหงโก-ลก บ้านซากอ อ.ศรีสาคร บ้านท่าเรือ อ.รือเสาะ บ้านบูเก๊ะตา อ.แว้ง จ.นราธิวาส บ้านท่าสาป อ.เมืองยะลา จ.ยะลา ส่วนใหญ่สถานการณ์

กลับสู่สภาวะปกติได้โดยเร็ว ยกเว้นที่ บ้านบริดอ อ.เมืองปัตตานี ที่ระดับน้ำล้นตลิ่งมาตั้งแต่ช่วงกลางเดือนธันวาคม 2563

กราฟแสดงระดับน้ำบริเวณ อ.เมืองปัตตานี
น้ำท่วมบริเวณหน้าเทศบาลเมืองปัตตานี (10 ม.ค. 64)

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2564 เวลา 18.00 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้รายงานสถานการณ์ภัยจากอิทธิพลของลมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทยมีกําลังค่อนข้างแรง ประกอบกับ หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งสหพันธรัฐมาเลเซีย ทําให้บริเวณภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่งผลทําให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก ดินสไลด์และวาตภัย ในช่วงวันที่ 4-12 มกราคม 2564 มีพื้นประสบภัยทั้งสิ้น 4 จังหวัด ประกอบด้วย

สงขลา ยะลา นราธิวาส ปัตตานี รวม 32 อำเภอ 193 ตำบล 1,047 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 68,315 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 4 ราย ที่ จ.ยะลา 2 ราย สงขลา 1 ราย ปัตตานี 1 ราย มีผู้บาดเจ็บ 3 ราย ที่ จ.สงขลา 2 ราย จ.ปัตตานี 1 ราย เปิดจุดอพยพ 7 จุด ที่ จ.นราธิวาส 1 จุด ที่ จ.ยะลา 6 จุด มีผู้อพยพ 485 คน รายละเอียด ดังนี้ 1) สถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำไหลหลาก มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 3 จังหวัด ประกอบด้วย ยะลา นราธิวาส และปัตตานี รวม 13 อำเภอ 59 ตำบล 212 หมู่บ้าน

ประชาชนได้รับผลกระทบ 23,107 ครัวเรือน ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2564 ที่ จ.สงขลา เกิดฝนตกหนักน้ำไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ประกอบด้วย อ.สะบ้าย้อย อ.นาทวี และ อ.เทพา รวม 25 ตำบล 122 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 7,549 ครัวเรือน 2) ดินสไลด์มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 2 จังหวัด ประกอบด้วย ยะลาและนราธิวาส รวม 3 อำเภอ 7 ตำบล 22 หมู่บ้าน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิต


นอกจากนี้ จากสถานการณ์ฝนตกหนักที่เกิดขึ้น ยังส่งผลทำให้เขื่อนบางลาง จ.ยะลา มีน้ำไหลเข้าเขื่อนค่อนข้างมาก โดยในวันที่ 4 มกราคม 2564 ซึ่งเป็นวันก่อนเกิดสถานการณ์ฝนตกหนัก เขื่อนบางลางมีน้ำกักเก็บ 95% ของความจุเขื่อน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์น้ำมากวิกฤต แต่หลังจากเกิดฝนตกหนักในพื้นที่ ทำให้มีน้ำไหลลงเขื่อนสะสมช่วงวันที่ 5-8 มกราคม 2564 มากถึง 268 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่งผลทำให้ปริมาณ

น้ำกักเก็บเพิ่มขึ้นมาก โดยในวันที่ 6 มกราคม 2564 เพียงวันเดียวมีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนมากถึง 137.41 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่งผลให้เกิดสถานการณ์น้ำล้นเขื่อน ปริมาณน้ำกักเก็บเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 103.31% ทำให้จำเป็นต้องเพิ่มการระบายน้ำตั้งแต่วันที่ 6-10 มกราคม 2564 โดยมีปริมาณน้ำระบายรวม 259 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นการระบายผ่าน spillway 196.46 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้ในวันที่

10 มกราคม 2564 ปริมาณน้ำกักเก็บลดลงเหลือ 98.61% ของความจุเขื่อน ซึ่งยังคงอยู่ในสถานการณ์น้ำมากวิกฤต ทั้งนี้การระบายน้ำผ่าน spillway ของเขื่อนบางลาง ไม่ได้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยนัก โดยครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อเดือนมกราคมปี 2558 ก่อนที่จะเกิดการระบายน้ำผ่าน spillway อีกครั้งในเหตุการณ์นี้ ซึ่งทิ้งระยะห่างกันถึง 6 ปี

เหตุการณ์ที่เขื่อนบางลางเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2564



2) เหตุการณ์น้ำท่วมจากอิทธิพลของร่องมรสุม มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และพายุโซนร้อน "เจิมปากา" ช่วงวันที่ 17-29 กรกฎาคม 2564

อิทธิพลของร่องมรุสมที่พาดผ่านตอนบนของประเทศพม่า ตอนล่างของประเทศจีน ตอนบนของประเทศลาวและเวียดนาม เข้าสู่พายุ “เจิมปากา” (CEMPAKA) รวมถึงอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่มีกำลังแรงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงกลางเดือน

จนถึงปลายเดือนกรกฎาคม ส่งผลทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นในทุกภาคของประเทศ จังหวัดที่เกิดฝนตกหนักมาก ตรวจวัดปริมาณฝนได้เกิน 90 มิลลิเมตรต่อวัน ประกอบด้วย ภาคเหนือ 5 จังหวัด ได้แก่ ลำปาง น่าน อุตรดิตถ์ เชียงราย ตาก ภาค

ตะวันออกเฉียงเหนือ 3 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ มุกดาหาร ภาคกลาง 1 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ภาคตะวันออก 2 จังหวัด ได้แก่ ปราจีนบุรี ตราด ภาคใต้ 6 จังหวัด ได้แก่ ระนอง ชุมพร พังงา สุราษฎร์ธานี กระบี่ ตรัง


ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้รายงานสถานการณ์สาธารณภัยเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2564 เวลา 18.00 น. ระบุว่าในช่วงวันที่ 23-26 กรกฎาคม 2564

มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 12 จังหวัด ประกอบด้วย แม่ฮ่องสอน พิจิตร พิษณุโลก เลยกาฬสินธุ์ ยโสธร อุบลราชธานี ปราจีนบุรีฉะเชิงเทรา ตราด ราชบุรี ปัตตานี รวม

18 อำเภอ 36 ตำบล 95 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 125 ครัวเรือน ไม่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต


นอกจากนี้ ฝนที่ตกหนักยังทำให้หลายเขื่อนมีน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก โดยในช่วงวันที่ 17-31 กรกฎาคม 2564 เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสมสูงถึง 1,700 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นเขื่อนขนาดใหญ่ที่มีน้ำไหลลงเขื่อนมากที่สุดในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งทำให้ปริมาณน้ำกักเก็บเพิ่มขึ้นจากเกณฑ์น้ำน้อยเป็นเกณฑ์น้ำปานกลาง รองลงมาคือ

เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี มีน้ำไหลลงเขื่อนในช่วงเวลาดังกล่าวสูงถึง 764 ล้านลูกบาศก์เมตร นอกจากนี้ยังมีเขื่อนอื่น ๆ ที่มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนเกิน 100 ล้านลูกบาศก์เมตร ในช่วงเวลาดังกล่าว ได้แก่ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก 349 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ 306 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนรัชชประภา จ.สุราษฎร์ธานี 163

ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนแควน้อย จ.พิษณุโลก 143 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี 134 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น 104 ล้านลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้ถึงแม้จะมีน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณน้ำในเขื่อนส่วนใหญ่ยังอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยวิกฤตถึงน้ำปานกลาง

กราฟแสดงสถานการณ์น้ำในเขื่อนวชิราลงกรณ



3) เหตุการณ์น้ำท่วมบริเวณจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ ช่วงวันที่ 11-19 สิงหาคม 2564

อิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนอย่างต่อเนื่องในช่วงวันที่ 10- 16 สิงหาคม 2564 ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังแรง รวมถึงมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ส่งผลให้ทำให้ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนจนถึงกลางเดือนสิงหาคมมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะ

บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ที่มีฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายตัวในหลายพื้นที่ตกต่อเนื่องหลายวัน สำหรับภาคเหนือที่มีฝนตกหนักและฝนตกหนักมากเกิดขึ้นกระจายตัวอยู่ในทุกจังหวัดในช่วงวันที่ 9-22 สิงหาคม 2564 จนทำให้เกิดน้ำไหลหลาก และน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่มีฝนตกหนักถึงหนักมากเกิดขึ้นต่อเนื่องในช่วงวันที่ 11-15 และ 18-21 สิงหาคม 2564 อำเภอที่มีฝนตกหนักถึงหนักมากประกอบด้วย หางดง

ดอยสะเก็ด แม่ออน แม่อาย พร้าว ฝาง แม่แตง เชียงดาว สะเมิง เมืองเชียงใหม่ เวียงแหง และแม่ริม ส่วนจังหวัดเชียงรายมีฝนตกหนักถึงหนักมากเกิดขึ้นต่อเนื่องในช่วงวันที่ 10-15 และ 17-20 สิงหาคม 2564 อำเภอที่มีฝนตกหนักถึงหนักมากประกอบด้วย เชียงแสน แม่จัน เมืองเชียงราย ดอยหลวง แม่สรวย เชียงของ เวียงแก่น เทิง เวียงชัย แม่ฟ้าหลวง ขุนตาล พระยาเม็งราย เวียงเชียงรุ้ง ป่าแดด พาน เวียงป่าเป้า และแม่ลาว


กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้รายงานสถานการณ์อุทกภัย น้ำป่าไหลหลากและดินถล่ม ดังนี้ วันที่ 11 สิงหาคม 2564 เกิดฝนตกหนักน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก อ.ฝาง และที่ อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ ส่งผลให้พื้นที่ทางการเกษตร เสียหาย 9 ไร่ ถนน 2 สาย ไม่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต และเกิดฝนตกหนักน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 4 อำเภอ 4 ตำบล 9 หมู่บ้าน อ.เชียงของ อ.แม่ฟ้าหลวง

อ.แม่จัน จ.เชียงราย ไม่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต วันที่ 14 สิงหาคม 2564 เกิดเหตุน้ำป่าไหลหลากล้นสปิลเวย์อ่างเก็บน้ำบ้านหลวง เข้าท่วมในพื้นที่ อ.เชียงของ จ.เชียงราย บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 150 ครัวเรือน ไม่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต วันที่ 15 สิงหาคม 2564 เกิดฝนตกหนักน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ อ.ฝาง อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ ไม่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต วันที่ 16 สิงหาคม 2564 เกิดฝนตกหนักน้ำเอ่อ

ล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย ไม่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต และได้เกิดดินสไลด์ ในพื้นที่ 3 อำเภอ 3 ตำบล 4 หมู่บ้าน ที่ ต.แม่สลองใน อ.แม่ฟ้าหลวง ต.ดอยฮาง อ.เมืองเชียงราย ต.เวียงพางคํา อ.แม่สาย ทําให้บ้านพักนักเรียนได้รับความเสียหาย 1 หลัง เสาไฟฟ้าล้มทับปิดเส้นทาง ประชาชนไม่สามารถสัญจรผ่านไปมาได้ไม่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต

น้ำท่วมบริเวณ อ.แม่สาย จ.เชียงราย วันที่ 11 สิงหาคม 2564

เหตุการณ์ฝนตกหนักที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของภาคเหนือในช่วงกลางเดือนสิงหาคม 2564 ส่งผลทำให้น้ำไหลของเขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคเหนือมีเพิ่มขึ้นทั้งเขื่อนภูมิพล ที่ จ.ตาก เขื่อนสิริกิติ์ ที่ จ.อุตรดิตถ์ เขื่อนแม่กวงและเขื่อนแม่งัด ที่ จ.เชียงใหม่

เขื่อนกิ่วลม เขื่อนกิ่วคอหมาและเขื่อนแม่มอก ที่ จ.ลำปาง มีเพียงเขื่อนแควน้อย จ.พิษณุโลก ที่สถานการณ์ฝนไม่ส่งผลทำให้น้ำไหลเขื่อนมีเพิ่มขึ้น แต่ถึงแม้จะมีน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มขึ้น แต่เป็นปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ไม่สามารถทำให้ปริมาณน้ำ

กักเก็บเพิ่มขึ้นมากนัก จากรายงานสถานการณ์น้ำกักเก็บในเขื่อนขนาดใหญ่ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2564 จะเห็นได้ว่า เขื่อนขนาดใหญ่ที่อยู่ในพื้นที่ภาคเหนือทั้งหมด สถานการณ์น้ำกักเก็บยังอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยวิกฤต และเกณฑ์น้ำน้อย




4) เหตุการณ์น้ำท่วมบริเวณจังหวัดสมุทรปราการ ช่วงวันที่ 27-30 สิงหาคม 2564

อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดผ่านทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทยรวมถึงร่องมรสุมที่ผ่านพาดบริเวณตอนกลางของประเทศไทยอย่างต่อเนื่องในช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2564 อีกทั้งอิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณตอนล่างของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลทำให้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ของประเทศไทย รวมถึงพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีฝนตกหนักถึงหนักมากกระจุกตัวค่อนข้างต่อเนื่องในช่วงปลายเดือน โดยเฉพาะช่วงวันที่ 27-28 สิงหาคม 2564 ที่ตรวจพบฝน

ตกหนักถึงหนักมาก ในหลายจุด สำหรับบริเวณจังหวัดสมุทรปราการ เกิดฝนตกหนัก (วัดปริมาณฝนได้เกิน 35 มิลลิเมตรต่อวัน) ใน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ บางเสาธง บางพลี พระสมุทรเจดีย์ โดยเฉพาะที่ ต.บางปู อ.เมืองสมุทรปราการ มีฝนตกมากที่สุดถึง 120.60 มิลลิเมตรต่อวัน ในวันที่ 28 สิงหาคม 2564 ซึ่งส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมหนักและสร้างความเสียหายค่อนข้างมากบริเวณนิคมอุตสาหกรรมบางปู ซึ่งเป็นพื้นที่ต่ำ การระบายน้ำทำได้ค่อนข้างยาก และต้องใช้วิธีสูบน้ำที่ท่วมออก ซึ่งส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วม

ต่อเนื่องหลายวัน กว่าสถานการณ์จะเริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติในวันที่ 31 สิงหาคม 2564 ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ได้รายงานความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วมบริเวณจังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2564 โดยมีพื้นที่ได้รับผลกระทบทั้งหมด 4 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองสมุทรปราการ อ.บางพลี อ.บางบ่อ และ อ.บางเสาธง รวม 8 ตำบล 21 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับความเดือดร้อนทั้งหมด 64,659 ครัวเรือน ไม่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต




5) เหตุการณ์น้ำท่วมจากอิทธิพลของพายุโซนร้อน "เตี้ยนหมู่" ช่วงวันที่ 24-27 กันยายน 2564

ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนและตอนกลางของประเทศอย่างต่อเนื่องตลอดเดือนกันยายน 2564 ส่งผลทำให้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายตัวอยู่ในหลายพื้นที่ของประเทศ อีกทั้งในช่วงปลายเดือนพายุ “เตี้ยนหมู่” ได้เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณจังหวัดมุกดาหาร ในวันที่ 24 กันยายน 2564 แล้วสลายตัวลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ

ปกคลุมบริเวณจังหวัดขอนแก่นและเคลื่อนตัวผ่านภาคกลาง ในช่วงวันที่ 25-26 กันยายน 2564 ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากในทุกภาค ทั้งนี้ ช่วงวันที่ 23-26 กันยายน 2564 มีจังหวัดที่ฝนตกหนักมาก ตรวจวัดปริมาณฝนได้เกิน 90 มิลลิเมตรต่อวัน ประกอบด้วย ภาคเหนือ 7 จังหวัด ได้แก่ แพร่ ตาก พะเยา พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ กำแพงเพชร ภาค

ตะวันออกเฉียงเหนือ 6 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ เลย ภาคกลาง 6 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท นครสวรรค์ ลพบุรี อุทัยธานี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ภาคตะวันออก 4 จังหวัด ได้แก่ สระแก้ว ตราด จันทบุรี ปราจีนบุรี ภาคใต้ 2 จังหวัด ได้แก่ พังงาและกระบี่


สถานการณ์ฝนตกหนักที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้รายงานสถานการณ์สาธารณภัยเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2564 เวลา 18.00 น. ระบุว่าช่วงวันที่ 23 กันยายน ถึง 7 ตุลาคม 2564 เกิดน้ำท่วมใน 33 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ ลําพูน ลําปาง ตาก สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร กําแพงเพชร เลย ขอนแก่น มหาสารคาม ชัยภูมิ ยโสธร

นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานีและนครปฐม รวมทั้งสิ้น 225 อำเภอ 1,196 ตำบล 8,192 หมู่บ้าน 1 เขตเทศบาล ประชาชนได้รับผลกระทบ 332,738 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 14 ราย ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 23 จังหวัด และยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่อยู่

อีก 10 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 46 อำเภอ 312 ตำบล 1,717 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 90,507 ครัวเรือน และจากการวิเคราะห์ภาพถ่าวดาวเทียมช่วงวันที่ 24 กันยายน ถึง 12 ตุลาคม 2564 พบพื้นที่ถูกน้ำท่วมทั้งสิ้น 6,653,766 ไร่ โดยจังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 1,051,074 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดนครสวรรค์ 925,514 ไร่ และจังหวัดชัยภูมิ 461,138 ไร่

ภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณจังหวัดนครราชสีมาเปรียบเทียบระหว่างเหตุการณ์ปกติและเหตุการณ์น้ำท่วมในวันที่ 30 กันยายน 2564

นอกจากนี้ ฝนที่ตกหนักยังทำให้มีน้ำไหลลงเขื่อนค่อนข้างมาก โดยในช่วงวันที่ 24 กันยายน ถึง 5 ตุลาคม 2564 เขื่อนภูมิพล เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนอุบลรัตน์ และเขื่อนวชิราลงกรณ แต่ละเขื่อนมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนในช่วงเวลาดังกล่าวมากกว่าพันล้านลูกบาศก์เมตร และจากรายงานของกรมชลประทานเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2564 เกิดน้ำล้นเขื่อน 3 แห่ง ได้แก่ เขื่อน

หนองปลาไหล เขื่อนแม่มอก และเขื่อนทับเสลา ส่วนเขื่อนที่มีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก (80-100% ของความจุเขื่อน) มี 15 แห่ง ได้แก่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนประแสร์ เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนมูลบน เขื่อนขุนด่าน ปราการชล เขื่อนแควน้อย เขื่อนนฤบดินทรจินดา เขื่อนลำพระเพลิง เขื่อนกระเสียว เขื่อนลำแซะ เขื่อนลำตะคอง เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนลำนางรอง เขื่อน

ศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณ ทั้งนี้หากเทียบสถานการณ์น้ำในเขื่อนในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564 กับปี 2554 ที่เกิดมหาอุทกภัย เขื่อนส่วนใหญ่มีสถานการณ์น้ำไม่วิกฤตเท่ากับปี 2554 ยกเว้นเขื่อนกระเสียว ทับเสลา ลำพระเพลิง ลำนางรอง หนองปลาไหล แก่งกระจาน ปราณบุรี ที่สถานการณ์น้ำวิกฤตกว่าปี 2554

ภาพน้ำล้นเขื่อนทับเสลา เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2564
ภาพน้ำล้นเขื่อนกระเสียว เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2564



6) เหตุการณ์น้ำท่วมช่วงเดือนตุลาคม 2564

เดือนตุลาคม 2564 ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากร่องมรสุมที่พาดผ่านเป็นระยะ ๆ ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนไปจนถึงช่วงกลางเดือน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่มีกำลังแรง รวมถึงอิทธิพลจากพายุโซนร้อน “ไลออนร๊อก” (LION ROCK) และพายุ

โซนร้อน “คมปาซุ” (KOMPASU) ที่ถึงแม้จะสลายตัวไปบริเวณประเทศเวียดนาม แต่อิทธิพลของพายุได้ส่งผลทำปริมาณฝนเพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่ในช่วงกลางเดือน นอกจากนี้ในช่วงปลายเดือนบริเวณความกดอากาศสูง จากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุม

ประเทศไทยตอนบนเป็นระยะๆ ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทยอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้มีหย่อมความกดอากาศต่ำจากประเทศกัมพูชาได้เคลื่อนเข้ามาปกคลุมบริเวณภาคตะวันออก


จากปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดในข้างต้น ส่งผลทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในกระจายตัวในทุกภาคของประเทศ ซึ่งจังหวัดที่มีฝนตกหนักมาก ตรวจวัดปริมาณฝนได้เกิน 90 มิลลิเมตรต่อวัน ประกอบด้วย ภาคเหนือ 8 จังหวัด ได้แก่ น่าน ตาก เชียงใหม่ แพร่ พิษณุโลก เชียงราย

เพชรบูรณ์ พะเยา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี บึงกาฬ สกลนคร มุกดาหาร หนองคาย เลย สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ชัยภูมิ ภาคกลาง 12 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี กรุงเทพมหานคร ลพบุรี เพชรบุรี ราชบุรี สมุทรปราการ นครนายก นครสวรรค์

อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ภาคตะวันออก 5 จังหวัด ได้แก่ สระแก้ว ตราด จันทบุรี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ภาคใต้ 11 จังหวัด ได้แก่ พังงา นครศรีธรรมราช พัทลุง ระนอง สตูล ชุมพร สุราษฎร์ธานี สงขลา ยะลา ตรัง นราธิวาส


กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้รายงานสถานการณ์อุทกภัยเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2564 เวลา 18.00 น. ระบุว่าช่วงวันที่ 24 - 31 ต.ค. 64 เกิดน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 8 จังหวัด ประกอบด้วย เชียงใหม่ ลำพูน เพชรบูรณ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ตรัง นครศรีธรรมราช ยะลา รวม 12 อำเภอ 16 ตำบล 22 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผล

กระทบ 189 ครัวเรือน ไม่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2564 สถานการณ์คลี่คลายแล้วทุกจังหวัด นอกจากนี้ ในช่วงวันที่ 20 - 31 ตุลาคม 2564 การระบายน้ำออกเขื่อนส่งผลให้เกิดน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น หนองบัวลำภู บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี ลพบุรี รวมทั้งสิ้น 20 อำเภอ 92 ตำบล

451 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 11,549 ครัวเรือน ไม่มีผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิต ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2564 ยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 5 จังหวัด 13 อำเภอ 44 ตำบล 193 หมู่บ้าน 5,881 ครัวเรือนที่ยังคงได้รับผลกระทบ


สภาพน้ำท่วมบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตร อ.พิมาย จ.นครราชสีมา
วันที่ 4 ต.ค. 64

สภาพน้ำท่วมบริเวณ จ.จันทบุรี
13 ต.ค. 64

สภาพน้ำท่วมบริเวณ อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ
16 ต.ค. 64

สภาพน้ำท่วมบริเวณ จ.ขอนแก่น
18 ต.ค. 64

สถานการณ์ฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ของประเทศในช่วงเดือนตุลาคม 2564 ยังส่งผลทำให้เขื่อนขนาดใหญ่หลายเขื่อนมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มขึ้นมาก โดยตลอดทั้งเดือน เขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 35 แห่งมีน้ำไหลลงเขี่อนรวมกันสูงถึง 11,998 ล้านลูกบาศก์เมตร มากเป็นอันดับที่ 3 รองจากปี 2554 ที่เกิดมหาอุทกภัย และปี 2560 ที่มีปริมาณฝนใกล้เคียงกับปี 2554 และมีเขื่อนอยู่ 10 แห่ง ที่มีปริมาณน้ำไหลลงสะสมเดือนตุลาคมมากที่สุด หากเทียบกับข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี 2554-2564 ซึ่ง

หมายถึง มีน้ำไหลลงเขื่อนมากกว่าปี 2554 ที่เกิดอุทกภัยรุนแรง ประกอบด้วย เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนขุนด่านปราการชล เขื่อนกระเสียว เขื่อนทับเสลา เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนวชิราลงกรณ เขื่อนแก่งกระจาน เขื่อนนฤบดินทรจินดา และเขื่อนแม่มอก ซึ่งจะเห็นได้ว่าเขื่อนที่ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของภาคกลาง ทั้ง 4 เขื่อน มีน้ำไหลลงเขื่อนมากที่สุดทำลายสถิติทุกเขื่อน ได้แก่ เขื่อนวชิราลงกรณ เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนกระเสียว และเขื่อนทับเสลา ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2564

เขื่อนทั้ง 35 แห่งทั่วประเทศมีปริมาณน้ำกักเก็บรวม 53,885 ล้านลูกบาศก์เมตร (76% ของความจุเขื่อน) ซึ่งอยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง โดยยังมีเขื่อนที่เกิดสถานการณ์น้ำล้นเขื่อนอยู่ถึง 10 แห่ง ได้แก่ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนหนองปลาไหล เขื่อนนฤบดินทรจินดา เขื่อนลำตะคอง เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนแม่มอก เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนทับเสลา เขื่อนแควน้อย และเขื่อนขุนด่านปราการชล และมีเขื่อนที่มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก 13 เขื่อน




7) เหตุการณ์น้ำท่วมภาคใต้ช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงช่วงต้นเดือนธันวาคม 2564

เดือนพฤศจิกายน 2564 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ตลอดทั้งเดือน ประกอบกับในช่วงต้นเดือนลมตะวันออกและหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศมาเลเซียในช่วงวันที่ 2-5 พฤศจิกายน 2564 อีกทั้งในช่วงกลางเดือนได้มีหย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณตอนกลางของภาค ในช่วงวันที่ 12-14 และ 17-18 พฤศจิกายน 2564 นอกจากนี้ในช่วงปลายเดือนมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่างของไทยและประเทศมาเลเซีย โดยพาดเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง

ซึ่งต่อมาหย่อมความกดอากาศต่ำดังกล่าวได้เคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณภาคใต้ของไทยในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 ก่อนเคลื่อนตัวลงทะเลอันดามันและทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลน “ญะวาด” ในเวลาต่อมา ทั้งนี้ ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคใต้และประเทศมาเลเซียยังคงพาดผ่านอย่างต่อเนื่องไปจนถึงช่วงต้นเดือนธันวาคม 2564 ซึ่งอิทธิพลจากปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น ส่งผลทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากเกือบตลอดทั้งเดือนพฤศจิกายนต่อเนื่องไปถึงช่วงต้นเดือนธันวาคม 2564 โดยเฉพาะทางด้านตะวันออกของภาค ได้แก่บริเวณ

จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สงขลา พัทลุง ยะลา นราธิวาส ปัตตานี ที่มีฝนตกหนักมากตรวจวัดปริมาณฝนได้เกิน 90 มิลลิเมตรต่อวันต่อเนื่องในหลายวัน นอกจากนี้ทางด้านตะวันตกของภาคก็มีฝนตกหนักมากในหลายพื้นที่เช่นกัน ได้แก่ กระบี่ ตรัง สตูล ภูเก็ต ระนอง พังงา ส่วนช่วงมีฝนตกหนักมากติดต่อกันหลายวันในหลายพื้นที่ประกอบด้วย ช่วงวันที่ 10-19, 22-25 พฤศจิกายน และ 28 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคม 2564

บริเวณที่ตรวจพบฝนตกหนักในช่วงวันที่ 28 พ.ย. - 2 ธ.ค. 2564

จากการวิเคราะห์พื้นที่น้ำท่วมจากภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณภาคใต้ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564 พบพื้นที่ถูกน้ำท่วมทั้งหมด 5 จังหวัด ประกอบด้วย นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง

สุราษฎร์ธานีและชุมพร รวมพื้นที่น้ำท่วมประมาณ 347,418 ไร่ โดยจังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่น้ำท่วมมากที่สุด 204,268 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดสงขลา 71,598 ไร่ และจังหวัดพัทลุง 51,756 ไร่

ซึ่งจากการเปรียบเทียบกับข้อมูลน้ำท่วมย้อนหลังตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน พบว่าเดือนพฤศจิกายน 2564 มีพื้นที่น้ำท่วมค่อนข้างน้อย

ภาพน้ำท่วมบริเวณจังหวัดชุมพร เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564

สถานการณ์ฝนที่ตกหนักในพื้นที่ภาคใต้ตลอดเดือนพฤศจิกายนจนถึงต้นเดือนธันวาคม 2564 ยังส่งผลทำให้ปริมาณน้ำไหลเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่ง ในพื้นที่ภาคใต้มีเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก โดยมี

ปริมาณน้ำไหลงเขื่อนรวมกันประมาณ 963 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีการระบายออกไป 629 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้มีปริมาณน้ำกักเก็บเพิ่มขึ้นจากช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนประมาณ 314 ล้านลูกบาศก์เมตร

ทั้งนี้ ณ วันที่ 5 ธันวาคม 2564 เขื่อนแก่งกระจานและเขื่อนปราณบุรีมีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก ส่วนเขื่อนรัชชประภาและเขื่อนบางลางมีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง




8) เหตุการณ์น้ำท่วมภาคใต้ตอนล่างช่วงกลางเดือนธันวาคม 2564

ช่วงกลางเดือนธันวาคม 2564 ภาคใต้ของไทยได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนืออย่างต่อเนื่อง อีกทั้งในช่วงวันที่ 16-18 ธันวาคม 2564 อิทธิพลจากพายุ

ดีเปรสชัน 29W ส่งผลทำให้ด้านตะวันออกของภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดสงขลาลงไปมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ โดยจังหวัดที่มีฝนตกหนักถึงหนักมาก วัดปริมาณฝนได้

เกิน 35 มิลลิเมตรต่อวัน ประกอบด้วย สงขลา พัทลุง นราธิวาส ปัตตานี และยะลา


กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้รายงานสถานการณ์อุทกภัยเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564 เวลา 06.00 น.

ระบุว่าช่วงวันที่ 17 - 20 ธันวาคม 2564 เกิดอุทกภัยบริเวณจังหวัดยะลา นราธิวาส และสงขลา รวม 12 อำเภอ

28 ตำบล 68 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,053 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต


นอกจากนี้ สถานการณ์ฝนตกหนักดังกล่าว ยังส่งผลทำให้เขื่อนบางลาง จ.ยะลา มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มขึ้นมากตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม จนถึงวันที่ 21 ธันวาคม 2564 โดยมีปริมาณน้ำไหลลง

รายวันสูงสุด 31.94 ล้านลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 18 ธันวาคม 2564 และมีปริมาณน้ำไหลลงรวมกันทั้ง 3 วัน 96.50 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีการงดระบายน้ำในช่วงวันที่ 19-21 ธันวาคม 2564 ทำให้ ณ

วันที่ 21 ธันวาคม 2564 เขื่อนบางลางมีปริมาณน้ำกักเก็บเพิ่มขึ้นเป็น 968.36 ล้านลูกบาศก์เมตร อยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง