พื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม


หมายเหตุ : ข้อมูลตัวเลขพื้นที่น้ำท่วมเป็นการประมาณการจากภาพถ่ายดาวเทียมที่ถ่ายภาพไว้ได้ในช่วงที่เกิดสถานการณ์น้ำท่วมของสำนักพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA)

จากการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่น้ำท่วมโดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม พบว่าในปี 2564 มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 9.61 ล้านไร่ รวม 53 จังหวัด 474 อำเภอ 3,088 ตำบล รายละเอียดดังนี้
1) ภาคเหนือ มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 2.26 ล้านไร่ รวม 8 จังหวัด 60 อำเภอ 429 ตำบล ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ เชียงรายและตาก โดยจังหวัดสุโขทัย มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 543,212 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดพิจิตรและพิษณุโลก ซึ่งมีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 525,250 และ 503,038 ไร่ ตามลำดับ
2) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 3.42 ล้านไร่ รวม 19 จังหวัด 215 อำเภอ 1,311 ตำบล ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ ศรีสะเกษ ขอนแก่น บุรีรัมย์ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ยโสธร อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ อำนาจเจริญ นครพนม สกลนคร หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู บึงกาฬ เลย โดยจังหวัด

นครราชสีมา มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุดประมาณ 1.16 ล้านไร่ รองลงมาคือจังหวัดชัยภูมิและศรีสะเกษ ซึ่งมีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 489,198 และ 331,173 ไร่ ตามลำดับ
3) ภาคกลาง มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 3.03 ล้านไร่ รวม 11 จังหวัด 94 อำเภอ 769 ตำบล ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ชัยนาท อุทัยธานี อ่างทอง สิงห์บุรี นครปฐม สระบุรีและกาญจนบุรี โดยจังหวัดนครสวรรค์ มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 1.10 ล้านไร่ รองลงมาคือจังหวัดสุพรรณบุรีและพระนครศรีอยุธยา มีมีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 505,303 และ 500,679 ไร่ ตามลำดับ
4) ภาคตะวันออก มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 0.45 ล้านไร่ รวม 7 จังหวัด 38 อำเภอ 204 ตำบล ได้แก่ จังหวัดปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ชลบุรี ตราด นครนายกและสระแก้ว โดยจังหวัดปราจีนบุรี มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 250,814 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดฉะเชิงเทราและจันทบุรี ซึ่งมีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 98,947 และ 27,447 ไร่

5) ภาคใต้ มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 0.45 ล้านไร่ รวม 8 จังหวัด 66 อำเภอ 366 ตำบล ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี พัทลุง นราธิวาส สุราษฎร์ธานี ยะลาและชุมพร โดยจังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 206,268 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดสงขลาและปัตตานี ซึ่งมีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 72,750 และ 61,688 ไร่ ตามลำดับ

หากเทียบพื้นที่ถูกน้ำท่วมของปี 2564 กับปีอื่น ๆ ในอดีตย้อนหลังในรอบ 17 ปี (ตั้งแต่ปี 2548 – 2563) จะเห็นได้ว่า ปี 2564 มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากเป็นอันดับที่ 6 รองจากปี 2554 ปี 2553 ปี 2560 ปี 2549 และปี 2556

กราฟเปรียบเทียบพื้นที่น้ำท่วมรายปี ตั้งแต่ปี 2548-2564



เมื่อแจกแจงข้อมูลพื้นที่น้ำท่วมเป็นรายเดือนจะเห็นได้ว่า ในปี 2564 ดาวเทียมตรวจพบพื้นที่น้ำท่วมจำนวน 7 เดือน ได้แก่ เดือน

มกราคมและตั้งแต่เดือนกรกฎาคมจนถึงเดือนธันวาคม โดยเดือนตุลาคมมีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุดประมาณ 5.94 ไร่ รองลงมา

คือเดือนกันยายน 5.59 ล้านไร่ และเดือนพฤศจิกายน 4.36 ล้านไร่ รายละเอียดดังนี้

กราฟเปรียบเทียบพื้นที่น้ำท่วมรายเดือนของปี 2564



เดือนมกราคม ดาวเทียมตรวจพบพื้นที่ถูกน้ำท่วม 94,982 ไร่ รวม 4 จังหวัด ซึ่งเป็นจังหวัดที่อยู่พื้นที่ภาคใต้ทั้งหมด ได้แก่ ปัตตานี นราธิวาส ยะลาและสงขลา รวมทั้งสิ้น 31 อำเภอ 177 ตำบล โดยจังหวัด

ปัตตานี มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 61,688 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดนราธิวาสและยะลา ซึ่งมีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 18,620 ไร่ และ 13,532 ไร่ หากเทียบพื้นที่ถูกน้ำท่วมของเดือนมกราคม 2564 กับข้อมูลในอดีต

ตั้งแต่ปี 2548-2563 จะเห็นได้ว่า ปี 2564 มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับปีอื่น ๆ

เดือนมกราคม


กราฟเปรียบเทียบพื้นที่น้ำท่วมเดือนมกราคม



เดือนกรกฎาคม ดาวเทียมตรวจพบพื้นที่ถูกน้ำท่วม 1,462 ไร่ ที่จังหวัดตาก โดยมีพื้นที่

ถูกน้ำท่วมเพียงอำเภอเดียว ครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบล และหากเทียบกับข้อมูลย้อนหลัง

ตั้งแต่ปี 2548-2563 ปี 2564 ตรวจพบพื้นที่น้ำท่วมน้อยที่สุด

เดือนกรกฎาคม


กราฟเปรียบเทียบพื้นที่น้ำท่วมเดือนกรกฎาคม



เดือนสิงหาคม ดาวเทียมตรวจพบพื้นที่ถูกน้ำท่วม 22,544 ไร่ ที่จังหวัดเชียงราย โดย

มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมใน 3 อำเภอ 20 ตำบล และหากเทียบกับข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี

2548-2563 พบว่าปี 2564 ตรวจพบพื้นที่น้ำท่วมน้อยที่สุด

เดือนสิงหาคม


กราฟเปรียบเทียบพื้นที่น้ำท่วมเดือนสิงหาคม



เดือนกันยายน ดาวเทียมตรวจพบพื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 5.58 ล้านไร่ ในพื้นที่ 43 จังหวัด ประกอบด้วย ภาคเหนือ 7 จังหวัด ได้แก่ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ ตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ ของแก่น ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี หนองบัวลำภู

สกลนคร นครพนม หนองคาย อุดรธานี บึงกาฬ กาฬสินธุ์ มหาสารคาม เลย ภาคกลาง 11 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ชัยนาท อุทัยธานี อ่างทอง สิงห์บุรี สระบุรี นครปฐม กาญจนบุรี ภาคตะวันออก 6 จังหวัด ได้แก่ ปราจีนบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ชลบุรี จันทบุรี รวม 342 อำเภอ 2,106 ตำบล โดยจังหวัด

นครราชสีมามีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 993,243 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดนครสวรรค์และสุโขทัย ซึ่งมีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 693,599 และ 487,218 ไร่ และหากเทียบกับข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี 2548-2563 จะเห็นได้ว่า ปี 2564 มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมค่อนข้างมาก

เดือนกันยายน


กราฟเปรียบเทียบพื้นที่น้ำท่วมเดือนกันยายน



เดือนตุลาคม ดาวเทียมตรวจพบพื้นที่น้ำท่วมประมาณ 5.94 ล้านไร่ ในพื้นที่ 43 จังหวัด ประกอบด้วย ภาคเหนือ 7 จังหวัด ได้แก่ พิจิตร สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ ตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 18 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น ศรีสะเกษ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ มหาสารคาม

ยโสธร อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ หนองคาย นครพนม สกลนคร อุดรธานี อำนาจเจริญ บึงกาฬ หนองบัวลำภู ภาคกลาง 11 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ลพบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง อุทัยธานี สระบุรี นครปฐม กาญจนบุรี ภาคตะวันออก 7 จังหวัด ได้แก่ ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ชลบุรี ตราด สระแก้ว

นครนายก รวม 362 อำเภอ 2,318 ตำบล โดยจังหวัดนครสวรรค์ มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 767,381 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดนครราชสีมาและพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 572,598 และ 399,389 ไร่ และหากเทียบกับข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี 2548-2563 จะเห็นได้ว่า ปี 2564 มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมค่อนข้างมาก

เดือนตุลาคม


กราฟเปรียบเทียบพื้นที่น้ำท่วมเดือนตุลาคม



เดือนพฤศจิกายน ดาวเทียมตรวจพบพื้นที่น้ำท่วมประมาณ 4.36 ล้านไร่ ในพื้นที่ 41 จังหวัด ประกอบด้วย ภาคเหนือ 6 จังหวัด ได้แก่ พิจิตร สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 17 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ศรีสะเกษ ชัยภูมิ อุบลราชธานี ยโสธร บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์

นครพนม สกลนคร หนองคาย อุดรธานี อำนาจเจริญ บึงกาฬ ภาคกลาง 10 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี อุทัยธานี ลพบุรี นครปฐม อ่างทอง ชัยนาท สระบุรี สิงห์บุรี ภาคตะวันออก 3 จังหวัด ได้แก่ ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ภาคใต้ 5 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง สุราษฎร์ธานี ชุมพร รวม 321 อำเภอ

2,004 ตำบล โดยจังหวัดนครสวรรค์ มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 570,874 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและสุพรรณบุรี ซึ่งมีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 440,736 และ 421,988 ไร่ และหากเทียบกับข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี 2548-2563 จะเห็นได้ว่า ปี 2564 มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมค่อนข้างมาก

เดือนพฤศจิกายน


กราฟเปรียบเทียบพื้นที่น้ำท่วมเดือนพฤศจิกายน



เดือนธันวาคม ดาวเทียมตรวจพบน้ำท่วมบริเวณภาคใต้ 57,208 ไร่ ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สงขลา พัทลุง ชุมพร รวม 28

อำเภอ 137 ตำบล โดยจังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 41,863 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดสุราษฎร์ธานีและสงขลา ซึ่งมีพื้นที่ถูก

น้ำท่วม 8,477 และ 5,331 ไร่ และหากเทียบกับข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี 2548-2563 จะเห็นได้ว่า ปี 2564 มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมค่อนข้างน้อย

เดือนธันวาคม


กราฟเปรียบเทียบพื้นที่น้ำท่วมเดือนธันวาคม