การกระจายตัวของฝนปี 2564
และความผิดปกติของฝนเมื่อเทียบกับค่าปกติ

ปี 2564 ประเทศไทยมีปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งประเทศประมาณ 1,601 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 139 มิลลิเมตร หรือมากกว่าปกติประมาณ 9% พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีฝนตกมากกว่าปกติ โดยเฉพาะทางด้านตะวันตกของประเทศตั้งแต่ภาคเหนือบริเวณจังหวัดตาก กำแพงเพชร ตลอดแนวยาวลงมาถึงทางด้านตะวันตกของภาคกลาง

บริเวณจังหวัดอุทัยธานี กาญจนบุรี นครสวรรค์ จนถึงภาคใต้บริเวณจังหวัดระนองและชุมพร ที่มีฝนตกหนักกว่าปกติค่อนข้างมาก นอกจากนี้ยังเกิดฝนตกหนักมากกว่าปกติเป็นบริเวณกว้างทางด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดเลย เพชรบูรณ์และนครราชสีมา ครอบคลุมไปถึงพื้นที่ทางตอนบนของ

ภาคกลางบริเวณจังหวัดชัยนาท ลพบุรีและสระบุรี รวมถึงภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดนครนายก ระยองและตราด ที่มีฝนตกหนักมากเช่นกัน แต่ถึงแม้ปริมาณฝนในภาพรวมของประเทศจะมากกว่าปกติในทุกภาค แต่กลับมีสถานการณ์ฝนตกน้อยกว่าปกติเกิดขึ้นในทุกภาคเช่นกัน

หมายเหตุ : ประมาณค่าฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา


ภาคเหนือ มีฝนตกเฉลี่ยทั้งภาค 1,356 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 10% โดยเฉพาะที่จังหวัดตาก ที่มีฝนตกมากกว่าปกติเกิน 50% แต่ทั้งนี้ กลับมีอีกหลายจังหวัดที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติเป็นบริเวณกว้าง ประกอบด้วย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนตกตกเฉลี่ยทั้งภาค 1,469 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 6% ซึ่งฝนตกหนักส่วนใหญ่เกิดขึ้นทางด้านฝั่งตะวันตกของภาคบริเวณจังหวัดเลย เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ นครราชสีมาและบุรีรัมย์ ส่วนทางด้านตะวันออกของภาคพื้นที่ส่วนใหญ่มีฝนตกน้อยกว่าปกติ โดยมีฝนตกมากกว่าปกติเกิดขึ้นเป็นหย่อม ๆ เท่านั้น

ภาคตะวันออกมีฝนตกเฉลี่ยทั้งภาค 2,194 มิลลิเมตร มากกว่าปกติถึง 18% ซึ่งเป็นฝนที่ตกมากกว่าปกติมากที่สุดเมื่อเทียบกับภาคอื่น ๆ โดยมีฝนตกมากบริเวณจังหวัดนครนายก ระยอง ตราด แต่ถึงจะมีฝนตกมาก แต่กลับเกิดฝนตกน้อยในหลายพื้นที่ของจังหวัดฉะเชิงทรา ปราจีนบุรี และสระแก้ว

ภาคกลาง ที่มีฝนตกเฉลี่ยทั้งภาค 1,404 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 15% พื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคมีฝนตกมากกว่าปกติทั้งทางด้านตะวันตกบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี อุทัยธานี รวมถึงทางด้านตะวันตกของภาคบริเวณจังหวัดลพบุรี สระบุรี ที่มีฝนตกหนักค่อนข้างมากกว่าพื้นที่อื่น มีเพียงบางพื้นที่ทางตอนล่างของภาคบริเวณจังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา บางพื้นที่ของจังหวัดสระบุรี กรุงเทพมหานคร นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติ

ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนตกเฉลี่ยทั้งภาค 2,083 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 6% โดยเฉพาะจังหวัดชุมพรที่มีฝนตกและเกิดน้ำท่วมหลายครั้ง แต่กลับมีสถานการณ์ฝนตกน้อยกว่าปกติในบางพื้นที่ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ พัทลุง สงขลา ปัตตานีและนราธิวาส

ภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกเฉลี่ยทั้งภาค 2,753 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 9% พื้นที่ส่วนใหญ่มีฝนตกมาก ยกเว้นบริเวณจังหวัดกระบี่ที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติค่อนข้างมาก

ทั้งนี้จังหวัดที่มีฝนตกมากกว่าปกติเกิน 20% ได้แก่ จังหวัดตาก นครนายก ระยอง บึงกาฬ ระนอง ตราด นคราชสีมา ชุมพร ชัยนาท ลำพูน ชลบุรี อุทัยธานี สระบุรี โดยเฉพาะจังหวัดตากที่มีฝนตกมากกว่าปกติเกิน 50% ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติ ได้แก่ จังหวัดกระบี่ น่าน กาฬสินธุ์ พิจิตร ปทุมธานี อุดรธานี มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ศรีสะเกษ นครพนม สกลนคร พระนครศรีอยุธยา นราธิวาส โดยเฉพาะจังหวัดกระบี่ น่าน กาฬสินธุ์ พิจิตร ปทุมธานี ที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติเกิน 5%

หมายเหตุ : ประมาณค่าฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา

ปี 2564 ประเทศไทยมีปริมาณฝนมากกว่าค่าปกติ 9%
ภาค
ฝนปี 2564
ปริมาณฝนที่ต่างจากปกติ
มิลลิเมตร
เปอร์เซ็นต์
 ภาคเหนือ
1,356
+126 
+10
 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
1,469
+84
+6
 ภาคกลาง
1,404
+187
+15
 ภาคตะวันออก
2,194
+336
+18
 ภาคใต้ฝั่งตะวันออก
2,083
+125
+6
 ภาคใต้ฝั่งตะวันตก
2,753
+238
+9
 ทั้งประเทศ
1,601
139
+9


หมายเหตุ : ประมาณค่าฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา


รหัส จังหวัด ฝนตกต่างจากปกติ (%) รหัส จังหวัด ฝนตกต่างจากปกติ (%)
1 กรุงเทพมหานคร 2.06 40 จ.ลำพูน 22.47
2 จ.สมุทรปราการ 15.36 41 จ.ลำปาง 14.53
3 จ.นนทบุรี -0.48 42 จ.อุตรดิตถ์ -0.15
4 จ.ปทุมธานี -4.52 43 จ.แพร่ 1.95
5 จ.พระนครศรีอยุธยา -0.83 44 จ.น่าน -9.29
6 จ.อ่างทอง 11.15 45 จ.พะเยา 0.11
7 จ.ลพบุรี 19.26 46 จ.เชียงราย 3.06
8 จ.สิงห์บุรี 16.29 47 จ.แม่ฮ่องสอน 0.17
9 จ.ชัยนาท 24.12 48 จ.นครสวรรค์ 17.90
10 จ.สระบุรี 20.51 49 จ.อุทัยธานี 21.31
11 จ.ชลบุรี 22.14 50 จ.กำแพงเพชร 15.70
12 จ.ระยอง 33.49 51 จ.ตาก 54.18
13 จ.จันทบุรี 15.89 52 จ.สุโขทัย 19.49
14 จ.ตราด 26.98 53 จ.พิษณุโลก 0.97
15 จ.ฉะเชิงเทรา 0.01 54 จ.พิจิตร -4.76
16 จ.ปราจีนบุรี 20.21 55 จ.เพชรบูรณ์ 11.30
17 จ.นครนายก 48.91 56 จ.ราชบุรี 11.26
18 จ.สระแก้ว 8.63 57 จ.กาญจนบุรี 17.78
19 จ.นครราชสีมา 26.31 58 จ.สุพรรณบุรี 15.26
20 จ.บุรีรัมย์ 9.80 59 จ.นครปฐม 2.28
21 จ.สุรินทร์ -2.44 60 จ.สมุทรสาคร 6.01
22 จ.ศรีสะเกษ -2.31 61 จ.สมุทรสงคราม 0.59
23 จ.อุบลราชธานี 2.09 62 จ.เพชรบุรี 19.10
24 จ.ยโสธร 6.07 63 จ.ประจวบคีรีขันธ์ 10.42
25 จ.ชัยภูมิ 12.64 64 จ.นครศรีธรรมราช 1.68
26 จ.อำนาจเจริญ 10.02 65 จ.กระบี่ -10.99
27 จ.บึงกาฬ 32.61 66 จ.พังงา 12.34
28 จ.หนองบัวลำภู 1.57 67 จ.ภูเก็ต 3.03
29 จ.ขอนแก่น -0.16 68 จ.สุราษฎร์ธานี 2.76
30 จ.อุดรธานี -3.00 69 จ.ระนอง 30.74
31 จ.เลย 18.41 70 จ.ชุมพร 24.79
32 จ.หนองคาย 11.66 71 จ.สงขลา 1.29
33 จ.มหาสารคาม -2.74 72 จ.สตูล 12.18
34 จ.ร้อยเอ็ด -2.64 73 จ.ตรัง 7.01
35 จ.กาฬสินธุ์ -6.12 74 จ.พัทลุง 2.79
36 จ.สกลนคร -1.10 75 จ.ปัตตานี 2.75
37 จ.นครพนม -2.24 76 จ.ยะลา 10.49
38 จ.มุกดาหาร 5.91 77 จ.นราธิวาส -0.60
39 จ.เชียงใหม่ 1.76


เมื่อเปรียบเทียบปริมาณและการกระจายตัวของฝนในปี 2564 กับข้อมูลย้อนหลังในรอบ 10 ปี ตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา

จะเห็นได้ว่า ปี 2564 มีปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งประเทศมากเป็นอันดับที่ 2 รองจากปี 2560 แต่เมื่อพิจารณาดูการกระจายตัว

ของฝนจะเห็นว่าในปี 2564 ทางด้านตะวันตกของประเทศมีฝนตกมากกระจายตัวเป็นบริเวณกว้างกว่าปีอื่น ๆ



หมายเหตุ : ประมาณค่าฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา