สถานการณ์น้ำ 4 เขื่อนหลัก ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา
เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

ปี 2566 เขื่อนหลักทั้ง 4 แห่งในลุ่มน้ำเจ้าพระยามีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนรวมกันทั้งปี 13,831 ล้านลูกบาศก์เมตร ลดลงจากปีที่แล้วค่อนข้างมาก เนื่องจากมีฝนตกน้อยลง แต่ทั้งนี้มีการระบายน้ำออกไปมากถึง

15,306 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 2 รองจากปี 2561 และเป็นปริมาณน้ำระบายที่มากกว่าปริมาณน้ำไหลเข้า ทำให้ในวันสิ้นปีมีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือลดลงเป็น 17,329 ล้านลูกบากศ์เมตร

(70% ของความจุเขื่อน) อยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง ทั้งนี้เป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 10,633 ล้านลูกบาศก์เมตร


ปริมาณน้ำกักเก็บและปริมาณน้ำใช้การได้ ณ วันสิ้นปี /ปริมาณน้ำไหลลงอ่างและปริมาณน้ำระบายรวมทั้งปี


หมายเหตุ :
1. ข้อมูลจากกรมชลประทาน
2. เกณฑ์ปริมาณน้ำกักเก็บ >100% = เกินความจุเก็บกัก , >80-100% = น้ำมาก , > 50-80% = น้ำปานกลาง , >30-50% = น้ำน้อย , <= 30% = น้ำน้อยวิกฤต



เขื่อนภูมิพล
อ.สามเงา จ.ตาก

ปี 2566 เขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสมทั้งปี 6,628 ล้านลูกบาศก์เมตร ลดลงจากปีที่แล้ว 1,776 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ยังคงมากกว่าค่าเฉลี่ย และได้ระบายน้ำออกไปมากถึง 8,050 ล้านลูกบาศก์เมตร

ซึ่งมากที่สุดหลังจากมีการระบายน้ำค่อนข้างมากในปี 2555 และเป็นการระบายน้ำมากกว่าปริมาณน้ำไหลเข้า ทำให้ช่วงปลายปีเขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำกักเก็บลดลง

จากปีที่แล้ว โดยมีน้ำเหลืออยู่ 9,974 ล้านลูกบาศก์เมตร (74% ของความจุเขื่อน) อยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 6,174 ล้านลูกบาศก์เมตร





เขื่อนสิริกิติ์
อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์

ปี 2566 เขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนรวมทั้งปี 4,473 ล้านลูกบาศก์เมตร ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย และมีการระบายน้ำออกไป 4,840 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็น

ปริมาณน้ำระบายที่มากกว่าปริมาณน้ำไหลเข้า ทำให้ในช่วงปลายปี เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำลดลงจากปีที่แล้วเล็กน้อยเป็น 5,701 ล้านลูกบาศก์เมตร (60% ของ

ความจุเขื่อน) อยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 2,851 ล้านลูกบาศก์เมตร





เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน
อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก

ปี 2566 เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสมรวมทั้งปี 1,204 ล้านลูกบาศก์เมตร ลดลงจากปีที่แล้วค่อนข้างมาก และเป็นปริมาณน้ำไหลลงที่ต่ำกว่าค่า

เฉลี่ย ทั้งนี้ได้ระบายน้ำออกไป 1,098 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นปริมาณน้ำระบายที่น้อยกว่าปริมาณน้ำไหลเข้า ทำให้ ณ วันสิ้นปี เขื่อนแควน้อยมีปริมาณน้ำกักเก็บ

คงเหลือสิ้นปีเพิ่มขึ้นเป็น 844 ล้านลูกบาศก์เมตร (90% ของความจุเขื่อน) อยู่ในเกณฑ์น้ำมาก โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 801 ล้านลูกบาศก์เมตร





เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี

ปี 2566 เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มีปริมาณไหลลงเขื่อนสะสมรวมทั้งปี 1,526 ล้านลูกบาศก์เมตร ลดลงจากปีที่แล้วค่อนข้างมาก รวมทั้งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยค่อนข้างมาก ทำให้ต้องลด

การระบายน้ำลงไปด้วย โดยระบายไปเพียง 1,318 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้ในวันสิ้นปีเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 810 ล้านลูกบาศก์เมตร (84% ของ

ความจุเขื่อน) อยู่ในเกณฑ์น้ำมาก ทั้งนี้เป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 807 ล้านลูกบาศก์เมตร