พื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม
ข้อมูลน้ำท่วมปี 2566  


หมายเหตุ : ข้อมูลตัวเลขพื้นที่น้ำท่วมเป็นการประมาณการจากภาพถ่ายดาวเทียมที่ถ่ายภาพไว้ได้ในช่วงที่เกิดสถานการณ์น้ำท่วมซึ่งประมาณการโดยสำนักพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA)

จากการวิเคราะห์พื้นที่น้ำท่วมโดยใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม พบว่าในปี 2566 ประเทศไทยมีพื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 4.74 ล้านไร่ กระจายตัวอยู่ในทุกภาคของประเทศ โดยมี 52 จังหวัด 419 อำเภอ 2,621 ตำบล ที่เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ รายละเอียดดังนี้
1) ภาคเหนือ มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 1.09 ล้านไร่ รวม 8 จังหวัด 49 อำเภอ 335 ตำบล ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ตาก อุตรดิตถ์ กำแพงเพชรและลำปาง โดยจังหวัดสุโขทัย มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 343,055 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดพิจิตรและพิษณุโลก ที่มีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 308,208 และ 224,716 ไร่ ตามลำดับ
2) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 1.72 ล้านไร่ รวม 19 จังหวัด 221 อำเภอ 1,260 ตำบล ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด อุดรธานี ยโสธร กาฬสินธุ์ สกลนคร ชัยภูมิ นครพนม อุบลราชธานี ขอนแก่น นครราชสีมา มหาสารคาม บึงกาฬ

หนองคาย บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ สุรินทร์และเลย โดยจังหวัดร้อยเอ็ดมีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุดประมาณ 218,896 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดอุดรธานีและยโสธร ที่มีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 172,346 และ 156,968 ไร่ ตามลำดับ
3) ภาคกลาง มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 1.54 ล้านไร่ รวม 11 จังหวัด 66 อำเภอ 584 ตำบล ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครสวรรค์ ลพบุรี อ่างทอง นครปฐม สิงห์บุรี สระบุรี ชัยนาท อุทัยธานีและนนทบุรี โดยจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 414,669 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดสุพรรณบุรีและนครสวรรค์ ที่มีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 382,082 และ 141,446 ไร่ ตามลำดับ
4) ภาคตะวันออก มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 0.10 ล้านไร่ รวม 4 จังหวัด 15 อำเภอ 61 ตำบล ได้แก่ จังหวัดปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้วและนครนายก โดยจังหวัดปราจีนบุรีมีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด

90,836 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดฉะเชิงเทราและสระแก้ว ซึ่งมีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 12,800 และ 1,135 ไร่
5) ภาคใต้ มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 0.27 ล้านไร่ รวม 10 จังหวัด 66 อำเภอ 369 ตำบล ได้แก่ จังหวัดปัตตานี นราธิวาส พัทลุง ยะลา นครศรีธรรมราช สงขลา สุราษฎร์ธานี ตรัง ชุมพรและระนอง โดยจังหวัดปัตตานีมีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 75,223 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดนราธิวาสและพัทลุง ซึ่งมีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 58,866 และ 41,884 ไร่ ตามลำดับ

หากเทียบพื้นที่ถูกน้ำท่วมของปี 2566 กับปีอื่น ๆ ในอดีตย้อนหลังในรอบ 19 ปี (ตั้งแต่ปี 2548 – 2565) จะเห็นได้ว่า ปี 2566 มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมค่อนข้างน้อย โดยน้อยเป็นอันดับที่ 6 รองจากปี 2558 ปี 2563 ปี 2561 ปี 2557 และปี 2559


กราฟเปรียบเทียบพื้นที่น้ำท่วมรายปี ตั้งแต่ปี 2548-2566



เมื่อแจกแจงข้อมูลพื้นที่น้ำท่วมเป็นรายเดือนจะเห็นได้ว่าในปี 2566 ดาวเทียมตรวจพบพื้นที่น้ำท่วมจำนวน 7 เดือน ได้แก่ เดือน

มกราคม และตั้งแต่เดือนกรกฎาคมจนถึงเดือนธันวาคม โดยเดือนตุลาคมมีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุดประมาณ 3.92 ล้านไร่ รอง

ลงมาคือเดือนพฤศจิกายน 2.00 ล้านไร่ และเดือนกันยายน 1.50 ล้านไร่ รายละเอียดดังกราฟด้านล่าง

กราฟเปรียบเทียบพื้นที่น้ำท่วมรายเดือนของปี 2566



เดือนมกราคม ดาวเทียมตรวจพบพื้นที่ถูกน้ำท่วม 2,782 ไร่ ในบริเวณจังหวัดปัตตานีเพียงจังหวัดเดียว โดยมีน้ำท่วมเกิดขึ้นใน 5 อำเภอ 23 ตำบล หากเทียบพื้นที่ถูกน้ำท่วม

ของเดือนมกราคม 2566 กับข้อมูลในอดีตตั้งแต่ปี 2550-2565 จะเห็นได้ว่า ปี 2566 มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับปีอื่น ๆ และตลอด 17 ปี ดาวเทียมตรวจพบ

พื้นที่น้ำท่วม 11 ปี และตรวจไม่พบพื้นที่น้ำท่วม 6 ปี ได้แก่ ปี 2551 ปี 2552 ปี 2553 ปี 2561 ปี2563 และปี 2565

เดือนมกราคม


กราฟเปรียบเทียบพื้นที่น้ำท่วมเดือนมกราคม



เดือนกรกฎาคม  ดาวเทียมตรวจพบพื้นที่ถูกน้ำท่วม 1,368 ไร่ ในบริเวณจังหวัดระนองเพียงจังหวัดเดียว โดยมีน้ำท่วมเกิดขึ้นใน 2 อำเภอ 8 ตำบล หากเทียบพื้นที่ถูกน้ำท่วม

ของเดือนมกราคม 2566 กับข้อมูลในอดีตตั้งแต่ปี 2548-2565 จะเห็นได้ว่า ปี 2566 มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับปีอื่น ๆ และตลอด 19 ปี ดาวเทียมตรวจพบ

พื้นที่น้ำท่วม 12 ปี และตรวจไม่พบพื้นที่น้ำท่วม 7 ปี ได้แก่ ปี 2550 ปี 2553 ปี 2555 ปี 2558 ปี 2559 ปี 2562 และปี 2563

เดือนกรกฎาคม


กราฟเปรียบเทียบพื้นที่น้ำท่วมเดือนกรกฎาคม



เดือนสิงหาคม  ดาวเทียมตรวจพบพื้นที่ถูกน้ำท่วม 60,795 ไร่ ในพื้นที่ 4 จังหวัด ซึ่งเป็นจังหวัดที่อยู่พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งหมด ได้แก่ นครพนม สกลนคร บึงกาฬและอำนาจเจริญ รวมทั้งสิ้น 17

อำเภอ 63 ตำบล โดยจังหวัดนครพนม มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 31,204 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดสกลนครและบึงกาฬ ซึ่งมีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 24,322 ไร่ และ 4,973 ไร่ หากเทียบพื้นที่ถูกน้ำท่วมของเดือนสิงหาคม

2566 กับข้อมูลในอดีตตั้งแต่ปี 2548-2565 จะเห็นได้ว่า ปี 2566 มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมค่อนข้างน้อย และปี 2550 และปี 2560 ดาวเทียมตรวจไม่พบพื้นที่น้ำท่วม

เดือนสิงหาคม


กราฟเปรียบเทียบพื้นที่น้ำท่วมเดือนสิงหาคม



เดือนกันยายน  ดาวเทียมตรวจพบพื้นที่ถูกน้ำท่วม 1,504,238 ไร่ ในพื้นที่ 28 จังหวัด ซึ่งเป็นจังหวัดที่อยู่พื้นที่ภาคเหนือ 5 จังหวัด ได้แก่ สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 17 จังหวัด ได้แก่ อุดรธานี ร้อยเอ็ด สกลนคร ยโสธร นครพนม บึงกาฬ อุบลราชธานี ชัยภูมิ ขอนแก่น หนองคาย มหาสารคาม

กาฬสินธุ์ อำนาจเจริญ หนองบัวลำภู ศรีสะเกษ เลย นครราชสีมา ภาคกลาง 6 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครสวรรค์ สระบุรี ลพบุรี อ่างทอง รวมทั้งสิ้น 187 อำเภอ 978 ตำบล โดยจังหวัดสุโขทัย มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 173,674 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดอุดรธานีและร้อยเอ็ด ซึ่งมีพื้นที่ถูกน้ำท่วม

143,330 ไร่ และ 128,901 ไร่ หากเทียบพื้นที่ถูกน้ำท่วมของเดือนกันยายน 2566 กับข้อมูลในอดีตตั้งแต่ปี 2548-2565 จะเห็นได้ว่า ปี 2566 มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมค่อนข้างน้อย แต่มากกว่าปี 2558 และ 2563 ที่ประเทศไทยเกิดฝนแล้งรุนแรงอยู่ค่อนข้างมาก

เดือนกันยายน


กราฟเปรียบเทียบพื้นที่น้ำท่วมเดือนกันยายน



เดือนตุลาคม  ดาวเทียมตรวจพบพื้นที่ถูกน้ำท่วม 3,919,096 ไร่ ในพื้นที่ 40 จังหวัด ซึ่งเป็นจังหวัดที่อยู่พื้นที่ภาคเหนือ 8 จังหวัด ได้แก่ สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ตาก อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร ลำปาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 18 จังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ยโสธร ชัยภูมิ อุบลราชธานี อุดรธานี นครพนม นครราชสีมา สกลนคร ขอนแก่น มหาสารคาม บึงกาฬ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ หนองคาย สุรินทร์ หนองบัวลำภู

อำนาจเจริญ ภาคกลาง 10 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครสวรรค์ ลพบุรี อ่างทอง นครปฐม สิงห์บุรี สระบุรี ชัยนาท อุทัยธานี ภาคตะวันออก 4 จังหวัด ได้แก่ ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว นครนายก รวมทั้งสิ้น 336 อำเภอ 2,028 ตำบล โดยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 399,810 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดสุพรรณบุรีและสุโขทัย ซึ่งมีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 355,888 ไร่ และ 319,781 ไร่

หากเทียบพื้นที่ถูกน้ำท่วมของเดือนตุลาคม 2566 กับข้อมูลในอดีตตั้งแต่ปี 2548-2565 จะเห็นได้ว่า ปี 2566 มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมน้อยกว่าปี 2565 ค่อนข้างมาก แต่มากกว่าปี 2557-2558 รวมปีช่วงปี 2562-2563 ที่เกิดฝนแล้งรุนแรงอยู่ค่อนข้างมาก ทั้งนี้พื้นที่น้ำท่วมก็น้อยกว่าปีที่เกิดอุทกภัยรุนแรง 2549 หรือ 2554 อยู่ค่อนข้างมาก ซึ่งในเดือนนี้ดาวเทียมตรวจไม่พบพื้นที่น้ำท่วมในปี 2558 เพียงปีเดียว

เดือนตุลาคม


กราฟเปรียบเทียบพื้นที่น้ำท่วมเดือนตุลาคม



เดือนพฤศจิกายน  ดาวเทียมตรวจพบพื้นที่ถูกน้ำท่วม 2,002,552 ไร่ ในพื้นที่ 47 จังหวัด ซึ่งเป็นจังหวัดที่อยู่พื้นที่ภาคเหนือ 8 จังหวัด ได้แก่ สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร ลำปาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 17 จังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ยโสธร มหาสารคาม อุดรธานี ขอนแก่น อุบลราชธานี นครราชสีมา ชัยภูมิ สกลนคร สุรินทร์ นครพนม ศรีสะเกษ หนองคาย บึงกาฬ บุรีรัมย์ อำนาจเจริญ ภาคกลาง

11 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครสวรรค์ ลพบุรี อ่างทอง นครปฐม สิงห์บุรี ชัยนาท สระบุรี อุทัยธานี นนทบุรี ภาคตะวันออก 2 จังหวัด ได้แก่ ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ภาคใต้ 9 จังหวัด ได้แก่ พัทลุง ปัตตานี นครศรีธรรมราช นราธิวาส สงขลา ยะลา สุราษฎร์ธานี ชุมพร ตรัง รวมทั้งสิ้น 308 อำเภอ 1,685 ตำบล โดยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 278,292 ไร่ รองลงมาคือ จังหวัดสุพรรณบุรีและนครสวรรค์ ซึ่งมี

พื้นที่ถูกน้ำท่วม 264,157 ไร่ และ 210,337 ไร่ หากเทียบพื้นที่ถูกน้ำท่วมของเดือนพฤศจิกายน 2566 กับข้อมูลในอดีตตั้งแต่ปี 2548-2565 จะเห็นได้ว่า ปี 2566 มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมลดลงจากปี 2565 ค่อนข้างมาก แต่มากกว่าช่วงปี 2557-2558 และ 2562-2563 ที่ประเทศไทยเกิดฝนแล้งรุนแรงอยู่ค่อนข้างมาก ซึ่งปี 2558 และ 2562 ดาวเทียมตรวจไม่พบพื้นที่น้ำท่วมในบริเวณประเทศไทย

เดือนพฤศจิกายน


กราฟเปรียบเทียบพื้นที่น้ำท่วมเดือนพฤศจิกายน



เดือนธันวาคม  ดาวเทียมตรวจพบพื้นที่ถูกน้ำท่วม 189,492 ไร่ ในพื้นที่ 9 จังหวัด ซึ่งเป็นจังหวัดที่อยู่พื้นที่ภาคใต้ทั้งหมด ได้แก่ ปัตตานี นราธิวาส ยะลา สุราษฎร์ธานี พัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช ตรังและชุมพร รวมทั้งสิ้น 62 อำเภอ 322 ตำบล

โดยจังหวัดปัตตานี มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 66,104 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดนราธิวาสและยะลา ซึ่งมีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 55,773 ไร่ และ 29,520 ไร่ หากเทียบพื้นที่ถูกน้ำท่วมของเดือนธันวาคม 2566

กับข้อมูลในอดีตตั้งแต่ปี 2548-2565 จะเห็นได้ว่า ปี 2566 มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมลดลงจากปี 2565 ค่อนข้างมาก และเดือนนี้ดาวเทียมตรวจไม่พบพื้นที่น้ำท่วมในปี 2549 และปี 2558

เดือนธันวาคม


กราฟเปรียบเทียบพื้นที่น้ำท่วมเดือนธันวาคม