ช่วงกลางถึงปลายเดือนกรกฎาคม 2566 มีหลายปัจจัยทางสภาพอากาศที่ส่งผลทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ปัจจัยแรกคือมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงปลายเดือนที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังค่อนข้างแรง ปัจจัยที่สองคือร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือตอนบน
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในช่วงกลางเดือน และหลังจากนั้นได้เลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยร่องมรสุมดังกล่าวได้พาดเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยที่สามคือการได้รับอิทธิพลจากพายุโซนร้อน “ตาลิม (TALIM)” บริเวณทะเลจีนใต้
ตอนบนที่ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งที่เมืองจั้นเจียง มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน ในวันที่ 17 กรกฎาคม 2566 แล้วเคลื่อนผ่านชายฝั่งประเทศจีนตอนใต้และเข้าสู่ประเทศเวียดนามตอนบนพร้อมทั้งอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน ในวันที่ 18 กรฎาคม 2566 จากนั้นได้สลายตัวไปในวันที่ 19 กรกฎาคม 2566
ทั้งนี้ ปัจจัยทั้งหมดดังกล่าวได้ส่งผลทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ ในหลายพื้นที่ของภาคใต้ โดยจังหวัดที่มีฝนตกหนักมาก มีปริมาณฝนเกิน 90 มิลลิเมตรต่อวัน ประกอบด้วย ระนอง ชุมพร พังงา สตูล สงขลา ภูเก็ต กระบี่และสุราษฎร์ธานี นอกจากนี้ ฝนที่ตกหนัก
ทำให้เขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2566 ต่อเนื่องไปจนถึงช่วงปลายเดือน ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสมตั้งแต่วันที่ 16 -31 กรกฎาคม 2566 รวมทั้งสิ้น 356 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยในวันที่ 26 กรกฎาคม
2566 มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสูงสุด 42 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ส่วนปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2566 อยู่ที่ 3,381 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 60% ของความจุเขื่อนซึ่งอยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้รายงานสถานการณ์พื้นที่ประสบภัย โดยเมื่อวันที่ 18 ก.ค. 66 ที่จังหวัดชุมพรเกิดน้ำป่าไหลหลาก ใน 3 อำเภอ 12 ตำบล
45 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.เมืองชุมพร อ.สวี อ.พะโต๊ะ และที่ จ.ระนอง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ 26 ตำบล 86 หมู่บ้าน
ได้แก่ อ.เมืองระนอง อ.กระบุรี อ.ละอุ่น อ.กะเปอร์ อ.สุขสำราญ บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 2,850 ครัวเรือน
อิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดผ่านทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย รวมทั้งอิทธิพลจากร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่งผลทำให้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกรกฎาคมจนถึงช่วงต้นเดือนสิงหาคม 2566 โดยจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือและภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือที่มีฝนตกหนักมาก มีปริมาณฝนสะสมเกิน 90 มิลลิเมตรต่อวัน ประกอบด้วย ภาคเหนือ 8 จังหวัด ได้แก่ น่าน เชียงราย ตาก แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 6 จังหวัด ได้แก่ บึงกาฬ หนองคาย อุบลราชธานี อำนาจเจริญ สกลนคร นครพนม ซึ่งฝนที่ตกหนักทำให้
เกิดน้ำล้นตลิ่งในลำน้ำสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำน่านในพื้นที่จังหวัดน่าน ลำน้ำก่ำบริเวณจังหวัดสกลนครและนครพนม ลำน้ำชังบริเวณจังหวัดนครพนม ลำน้ำฮวยบริเวณจังหวัดหนองคาย ห้วยหลวงบริเวณจังหวัดอุดรธานี แม่น้ำสงครามบริเวณจังหวัดสกลนคร แม่น้ำเลยบริเวณจังหวัดเลย และแม่น้ำโขงบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี
นอกจากนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้รายงานความเสียหายที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ครั้งนี้ โดยเมื่อวันที่ 7-9 สิงหาคม 2566 แม่น้ำเมยเอ่อล้นเข้าท่วมในหลายจุดของ อ.แม่ระมาด และ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก และมีถนนได้รับความเสียหายหลายจุด ประชาชนได้รับผลกระทบ 44 ครัวเรือน อีกทั้งช่วงวันที่ 6-7 ส.ค. 66 เกิดน้ำท่วมหลายจุดบริเวณ อ.เชียงกลาง จ.น่าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ
27 ครัวเรือน และต่อมาในวันที่ 8 ส.ค. 66 น้ำท่วมขยายวงกว้างไปในหลายพื้นที่ของจังหวัดน่าน ได้แก่ อ.เวียงสา อ.ท่าวังผา อ.แม่จริม บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 197 ครัวเรือน ถนนเสียหายบริเวณ อ.บ่อเกลือ นอกจากนี้ยังเกิดน้ำล้นตลิ่งลำน้ำก่ำ ลำน้ำบัง ลำน้ำอูน และลำน้ำสงคราม ที่ จ.นครพนม ช่วงวันที่ 27 ก.ค.– 9 ส.ค. 66 ส่งผลให้เกิดอุทกภัย 12 อำเภอ 79 ตำบล 436 หมู่บ้าน ประชาชน ได้รับผลกระทบ
11,655 ครัวเรือน บ้านเรือนได้รับความเสียหาย 20 หลัง ถนน 50 สาย พื้นที่การเกษตร 57,081 ไร่ อีกทั้งที่ จ.บึงกาฬ ในช่วงวันที่ 27 ก.ค. - 11 ส.ค. 66 เกิดอุทกภัยในพื้นที่ 7 อำเภอ 33 ตำบล 222 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,315 ครัวเรือน ถนนเสียหาย 1 แห่ง คอสะพานเสียหาย 1 แห่ง พื้นที่การเกษตร 25,241 ไร่
นอกจากนี้ฝนที่ตกหนักยังส่งผลทำให้มีน้ำไหลลงเขื่อนขนาดใหญ่เพิ่มมากขึ้น โดยในช่วงวันที่ 27 กรกฎาคม ถึงวันที่ 13 สิงหาคม 2566 เขื่อนขนาดใหญ่ทั้งหมดในภาคเหนือมีน้ำไหลลงเขื่อนรวมกัน 1,336 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีน้ำไหลลงเขื่อนรวมกัน 805 ล้าน
ลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้แม้จะมีน้ำไหลเข้าเขื่อนเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณน้ำกักเก็บใน 13 เขื่อนจากทั้งหมด 20 เขื่อนของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยและน้ำน้อยวิกฤต ประกอบด้วย เขื่อนกิ่วลม เขื่อนกิ่วคอหมา เขื่อนแม่มอก จ.ลำปาง เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ เขื่อน
แควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก เขื่อนมูลบน เขื่อนลำแซะ เขื่อนลำพระเพลิง เขื่อนลำตะคอง จ.นครราชสีมา เขื่อนภูมิพล จ.ตาก เขื่อนจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ เขื่อนน้ำพุง จ.สกลนคร เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น
ตลอดเดือนกันยายน 2566 ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากเกิดขึ้นทุกวัน โดยตกกระจายตัวอยู่ในทุกภาคของประเทศ เนื่องจากได้รับอิทธิพลจาก 4 ปัจจัยหลัก ประกอบด้วย 1) อิทธิพลจากร่องมรสุม
ที่พาดผ่านบริเวณตอนบนของประเทศไทยเกือบตลอดทั้งเดือน 2) อิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทยเกือบตลอดทั้งเดือนอีกเช่นกัน
3) หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงกลางเดือน และ 4) อิทธิพลจากพายุดีเปรสชัน 13W ที่เคลื่อนผ่านบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือของไทยในช่วงปลายเดือน
ทั้งนี้จังหวัดที่มีฝนตกหนักมาก ปริมาณฝนเกิน 90 มิลลิเมตรต่อวัน ประกอบด้วย ภาคเหนือ 15 จังหวัด ได้แก่ แพร่ พิษณุโลก ลำพูน เชียงใหม่ ลำปาง สุโขทัย อุตรดิตถ์ น่าน เพชรบูรณ์ แม่ฮ่องสอน พะเยา เชียงราย กำแพงเพชร พิจิตร ตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 18 จังหวัด ได้แก่
มุกดาหาร ศรีสะเกษ อุบลราชธานี เลย กาฬสินธุ์ นครพนม อุดรธานี สกลนคร นครราชสีมา มหาสารคาม ขอนแก่น หนองคาย อำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด หนองบัวลำภู บุรีรัมย์ ชัยภูมิ ภาคกลาง 12 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา นครสวรรค์ สิงห์บุรี ลพบุรี อุทัยธานี สระบุรี
ปทุมธานี กาญจนบุรี ราชบุรี กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ อ่างทอง ภาคตะวันออก 6 จังหวัด ได้แก่ ตราด จันทบุรี ปราจีนบุรี นครนายก ระยอง สระแก้ว ภาคใต้ 9 จังหวัด ได้แก่ พังงา สุราษฎร์ธานี สตูล ระนอง ตรัง ภูเก็ต กระบี่ สงขลา นราธิวาส
ฝนที่ตกหนักส่งผลทำให้แม่น้ำลำคลองหลายสายเกิดน้ำล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมในหลายพื้นที่ ซึ่งมีทั้งการเกิดน้ำท่วมเป็นระยะเวลาสั้น ๆ และบางพื้นที่เกิดน้ำท่วมเป็นระยะเวลานานหลายวัน ทั้งนี้ บริเวณภาคเหนือเกิดน้ำท่วมที่แม่น้ำปิงและน้ำฝางในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ แม่น้ำยมและแม่น้ำแควน้อยในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก แม่น้ำน่านบริเวณจังหวัดน่าน และแม่น้ำป่าสักบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เกิดน้ำท่วมที่แม่น้ำสงครามและน้ำอูนบริเวณจังหวัดสกลนคร ลำน้ำก่ำและลำน้ำชังในพื้นที่จังหวัดนครพนม ห้วยหลวงในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ห้วยโมงในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู แม่น้ำชีในพื้นที่จังหวัดยโสธรและอุบลราชธานี ลำเซบายบริเวณจังหวัดยโสธร ลำปาวบริเวณจังหวัดกาฬสินธุ์ และแม่น้ำโขงบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี ภาคตะวันออกเกิดน้ำท่วมที่แม่น้ำนครนายกบริเวณจังหวัดนครนายก แม่น้ำปราจีนบุรี
บริเวณจังหวัดปราจีนบุรี คลองโตนดบริเวณจังหวัดจันทบุรี และแม่น้ำตราดบริเวณจังหวัดตราด ส่วนภาคใต้เกิดน้ำท่วมที่คลองละงูและคลองฉลุง ในพื้นที่จังหวัดสตูล คลองรมณีย์ในพื้นที่จังหวัดพังงา ซึ่งจากการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมในช่วงเดือนกันยายน 2566 พบพื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 1.5 ล้านไร่ ในพื้นที่ 28 จังหวัด 187 อำเภอ 978 ตำบล
นอกจากนี้ ฝนที่ตกหนักยังส่งผลทำให้ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 35 แห่งทั่วประเทศมีเพิ่มมากขึ้น โดยตลอดทั้งเดือนมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนรวมกันทั้งสิ้น 10,406 ล้านลูกบาศก์เมตร มากกว่าค่าเฉลี่ย 20 ปี อยู่ 5% ซึ่งเมื่อเทียบกับข้อมูลย้อนหลังในรอบ 20 ปี จะพบว่าเดือนกันยายน 2566 มีน้ำไหลลงเขื่อนน้อยกว่าเดือนกันยายนของปี 2554 ที่เกิดอุทกภัยรุนแรงอยู่ 82% และมากกว่าเดือนกันยายนของปี 2558 ที่เกิดภัยแล้งรุนแรงอยู่ 52% โดยเขื่อนที่มีน้ำไหลลงมากที่สุดตลอดช่วง
เดือนกันยายน 2566 คือ เขื่อนภูมิพล ที่มีปริมาณน้ำไหลลงทั้งเดือน 1,723 ล้านลูกบาศก์เมตร รองลงมาคือเขื่อนวชิราลงกรณและเขื่อนสิริกิติ์ ที่มีปริมาณน้ำไหลลง 1,586 และ 1,115 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ ทั้งนี้เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566 ทั้ง 35 เขื่อนมีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ในเขื่อน 55.36% ของความจุ และไม่มีเขื่อนใดที่มีน้ำกักเก็บอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก แต่เมื่อถึงวันสิ้นเดือนกันยายน 2566 ปริมาณน้ำกักเก็บเพิ่มขึ้นเป็น 66.87% ของความจุ และมีเขื่อนที่มีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ในเกณฑ์น้ำมากเพิ่มขึ้น
เป็น 6 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนแม่งัด จ.เชียงใหม่ เขื่อนห้วยหลวงและเขื่อนน้ำพุง จ.อุดรธานี เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี และเขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก รวมถึงมีสถานการณ์น้ำล้นเขื่อนเกิดขึ้นที่เขื่อนแม่มอก จ.ลำปาง และเขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ แต่ทั้งนี้ยังคงมีเขื่อนที่มีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยวิกฤตอยู่ 2 แห่ง คือ เขื่อนทับเสลา จ.อุทัยธานี และเขื่อนคลองสียัด จ.ฉะเชิงเทรา
ช่วงต้นเดือนตุลาคม 2566 มีร่องมรสุมพาดผ่านประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงวันที่ 4-9 ตุลาคม 2566 ร่องมรสุมได้พาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หลังจากนั้นได้เลื่อนลงไปพาดผ่านบริเวณ
ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และ
ทะเลจีนใต้ ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันมีมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยอย่างต่อเนื่อง ส่งฝนทำให้มีฝนตกมากในหลายพื้นที่
โดยในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มมีฝนตกหนักมากกระจายตัวในหลายพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2566 ต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 9 ตุลาคม 2566 หลังจากนั้นฝนได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ยังคง
มีฝนตกมากเกิดขึ้นในบางพื้นที่ ทั้งนี้ จังหวัดที่มีฝนตกหนักมาก ตรวจวัดปริมาณฝนได้เกิน 90 มิลลิเมตรต่อวัน ประกอบด้วย ภาคเหนือ 8 จังหวัด ได้แก่ พิจิตร แพร่ อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ลำปาง เชียงราย
น่าน เชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9 จังหวัด ได้แก่ บึงกาฬ สกลนคร ขอนแก่น มหาสารคาม เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี นครราชสีมา และบุรีรัมย์
ทั้งนี้ ฝนที่ตกหนักส่งผลทำให้แม่น้ำลำคลองต่าง ๆ เกิดน้ำล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมในหลายพื้นที่ โดยบางพื้นที่เกิดน้ำท่วมเป็นระยะเวลาสั้น ๆ และบางพื้นที่เกิดน้ำท่วมเป็นระยะเวลานานหลายวัน โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกิดน้ำท่วมที่แม่น้ำสงครามและ
ลำน้ำอูนบริเวณจังหวัดสกลนคร ลำน้ำก่ำบริเวณจังหวัดนครพนม ลำน้ำปาวบริเวณจังหวัดกาฬสินธุ์ ห้วยหลวงบริเวณจังหวัดอุดรธานี แม่น้ำเลยบริเวณจังหวัดเลย ห้วยโมงบริเวณจังหวัดหนองบัวลำภู แม่น้ำชีบริเวณจังหวัดขอนแก่นและอุบลราชธานี
ลำเซบายบริเวณจังหวัดยโสธร ลำปะเทียบริเวณจังหวัดบุรีรัมย์ ส่วนภาคเหนือเกิดน้ำท่วมที่แม่น้ำปิงบริเวณจังหวัดตาก แม่น้ำยม แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำวังทองบริเวณจังหวัดพิษณุโลก แม่น้ำป่าสักบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์
นอกจากนี้ ฝนที่ตกหนักยังส่งผลทำให้ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่มีเพิ่มมากขึ้น โดยช่วงวันที่ 5-12 ตุลาคม 2566 เขื่อนในพื้นที่ภาคเหนือมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนรวมกันทั้งสิ้น 1,390 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่มีการระบายออกไปเพียง
119 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนเขื่อนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนรวมกันทั้งสิ้น 1,196 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่มีการระบายออกไปเพียง 329 ล้านลูกบาศก์เมตร เท่านั้น โดย ณ วันที่ 12 ตุลาคม 2566 ปริมาณน้ำกักเก็บในแต่ละ
เขื่อนของทั้งสองภาคอยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลางถึงน้ำมาก และเกิดน้ำล้นเขื่อนขึ้น 3 แห่ง ที่เขื่อนกิ่วคอหมา จ.ลำปาง เขื่อนลำตะคอง จ.นครราชสีมา และเขื่อนแม่งัด จ.เชียงใหม่ โดยไม่มีเขื่อนใดที่มีน้ำกักเก็บอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยและน้ำน้อยวิกฤต
ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงช่วงต้นเดือนธันวาคม 2566 มีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณภาคใต้ตอนล่างของไทย ประเทศมาเลเซีย รวมถึงบริเวณชายฝั่งประเทศมาเลเซียทั้งทางฝั่งทะเลจีนใต้และทางฝั่งทะเลอันดามัน โดยเกิดขึ้นเป็นระยะๆ ในช่วงเวลาดังกล่าว
ในขณะเดียวกันมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังค่อนข้างแรง ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนมีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออกของภาคตั้งแต่จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลาจนถึงนราธิวาส
ทั้งนี้จังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ที่มีฝนตกหนักมาก ตรวจวัดปริมาณฝนได้เกิน 90 มิลลิเมตรต่อวัน ประกอบด้วย นราธิวาส สงขลา ปัตตานี ยะลา พัทลุง ชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี กระบี่ ระนอง
เหตุการณ์ฝนตกหนักถึงหนักมากได้ส่งผลทำให้แม่น้ำลำคลองหลายสายเกิดน้ำล้นตลิ่งและเกิดน้ำท่วมฉับพลัน ประกอบด้วย คลองหลังสวน คลองตะโก คลองสวี บริเวณจังหวัดชุมพร แม่น้ำตาปี บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี คลองชะอวด คลองวังเคียน
บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช คลองกระถิน คลองบางม่วง คลองลำปำ บริเวณจังหวัดพัทลุง คลองเทพา คลองอู่ตะเภา คลองระโนด คลองปากรอ บริเวณจังหวัดสงขลา คลองกาแลกูโบบริเวณจังหวัดปัตตานี แม่น้ำสายบุรี บริเวณจังหวัด
นราธิวาส คลองฉลุง บริเวณจังหวัดสตูล แม่น้ำตรัง บริเวณจังหวัดตรัง อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นการท่วมเพียงระยะเวลาสั้น ที่สามารถกลับสู่สภาวะปกติได้โดยเร็ว
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้รายงานพื้นที่ประสบภัยช่วงวันที่ 25 พฤศจิกายนถึง 6 ธันวาคม 2566 ระบุมีน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่
ยะลา นราธิวาส ตรัง สุราษฎร์ธานี สงขลา นครศรีธรรมราช พัทลุง ชุมพร ปัตตานีและระนอง รวมทั้งสิ้น 67 อำเภอ 348 ตำบล 2,214 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 130,529 เรือน ณ วันที่รายงานยังคงมี
ครัวสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ สงขลา นครศรีธรรมราชและพัทลุง รวมทั้งสิ้น 8 อำเภอ 55 ตำบล 334 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 52,322 ครัวเรือน
นอกจากนี้ ฝนที่ตกหนักยังส่งผลทำให้เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะเขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา ที่มีน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดใน 2 ช่วง คือช่วงวันที่ 22-25 ธันวาคม 2566 และช่วงวันที่ 1-6 ธันวาคม 2566 ทั้งนี้ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสมช่วงวันที่ 20 พฤศจิกายน ถึง 4 ธันวาคม
2566 มีทั้งสิ้น 2,286 ล้านลูกบาศก์เมตร ระบายออกไป 2,166 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้มีน้ำกักเก็บคงเหลือในเขื่อนเพียง 1,001 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 69% ของความจุเขื่อน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง ส่วนเขื่อนรัชชประภา จ.สุราษฎร์ธานี มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยหากเทียบกับปริมาณน้ำไหลลงเขื่อน
โดยปกติของเขื่อนรัชชประภา ทั้งนี้ช่วงวันที่ 20 พฤศจิกายนถึง 4 ธันวาคม 2566 มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสม 2,708 ล้านลูกบาศก์เมตร ระบายออกไป 1,876 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้มีน้ำคงเหลือในเขื่อน 4,438 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 79% ของความจุเขื่อน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง
ช่วงวันที่ 23-25 ธันวาคม 2566 มีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศมาเลเซีย รวมทั้งมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังแรง ส่งผลทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ทางด้านตะวันออกของภาค โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 23-25 ธันวาคม 2566 ที่บริเวณจังหวัดปัตตานี ยะลาและนราธิวาสที่มีฝนตกหนักมากต่อเนื่องหลายวันทำให้มีน้ำท่วม
...ฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ทั้งนี้จังหวัดที่มีฝนตกหนักมาก ตรวจวัดปริมาณฝนได้เกิน 90 มิลลิเมตรต่อวัน ประกอบด้วย ตรัง นราธิวาส ยะลา ปัตตานี สงขลา พัทลุง และสตูล โดยเฉพาะจังหวัดนราธิวาสและยะลา ที่มีฝนตกหนักมากเกิดขึ้นต่อเนื่องทุกวันในหลายพื้นที่ ส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมหนักและเกิดความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง ทั้งนี้วันที่ 24 ธันวาคม 2566 เพียงวันเดียว ที่ อ.รือเสาะ
จ.นราธิวาส มีปริมาณฝนตกสูงถึง 651 มิลลิเมตร ซึ่งถือเป็นปริมาณฝนสะสมรายวันที่สูงมากเป็นประวัติการณ์ของประเทศไทย รองลงมาคือปริมาณฝนที่ อ.จะแนะ และ อ.ระแงะ ซึ่งอยู่ใน จ.นราธิวาส ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ในวันที่ 24 ธันวาคม 2566 ซึ่งเป็นวันที่มีฝนตกหนักมากเกิดขึ้นกระจายตัวในหลายพื้นที่มากที่สุดของเหตุการณ์ในครั้งนี้
ฝนที่ตกหนักได้ส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำล้นตลิ่งในแม่น้ำลำคลองสายหลักหลายสาย เช่นที่คลองกาแลกูโบและคลองสุหงาบารู บริเวณจังหวัดปัตตานี คลองปะแตและแม่น้ำปัตตานี บริเวณจังหวัดยะลา คลองปากรอ คลองเทพาและ
คลองอู่ตะเภาบริเวณจังหวัดสงขลา แม่น้ำสายบุรีบริเวณจังหวัดนราธิวาส ทั้งนี้เหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นลักษณะน้ำท่วมฉับพลันที่บางพื้นที่ระดับน้ำสามารถกลับสู่สภาวะปกติได้โดยเร็ว แต่มีบางพื้นที่เกิดน้ำท่วมขังหลายวัน เช่น ที่
คลองสุหงาบารู บริเวณหมู่ที่ 4 ต.คลองใหม่ อ.ยะรัง และที่ชุมชนบ้านท่าด่าน ต.ดอนรัก อ.หนองจิก จ.ปัตตานี รวมถึงที่แม่น้ำสายบุรี บริเวณ ต.สุคิริน อ.สุคิริน และบริเวณสะพานกะลูบี ที่บ้านสายปารี ต.มาโมง อ.สุคิริน จ.นราธิวาส
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2566 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้รายงานความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 22-26
ธันวาคม 2566 ซึ่งมี 5 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบ ประกอบด้วย สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส 28 อำเภอ 142 ตำบล
รวม 829 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 60,962 ครัวเรือน
นอกจากนี้สถานการณ์ฝนตกหนักถึงหนักมากที่เกิดขึ้นบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ในช่วงวันที่ 23-25 ธันวาคม 2566 ส่งผลทำให้เขื่อนบางลาง จ.ยะลา มีน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก โดยช่วงวันที่ 23-27 ธันวาคม 2566 มีปริมาณน้ำไหลลงสะสมถึง 191 ล้านลูกบาศก์เมตร ระบายออกไป
เพียง 68 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่งผลให้มีปริมาณน้ำกักเก็บในเขื่อน 1,245 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 86% ของความจุเขื่อนซึ่งอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก ในวันที่ 28 ธันวาคม 2566 ซึ่งก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ฝนตกหนักเขื่อนนี้มีน้ำกักเก็บอยู่เพียง 1,119 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 77% ของความจุเขื่อน
ซึ่งอยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง ทั้งนี้ เขื่อนรัชชประภา จ.สุราษฎร์ธานี ไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ ปริมาณน้ำกักเก็บยังคงอยู่ที่ 78% ของความจุเขื่อน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง