ปริมาณฝนรายฤดูกาล
เปรียบเทียบสถานการณ์ฝนในช่วงฤดูฝนและฤดูแล้ง

ฤดูแล้งปี 2565/2566 (พฤศจิกายน 2565-เมษายน 2566) ประเทศไทยมีฝนตกเฉลี่ยประมาณ 250 มิลลิเมตร น้อยกว่าปกติ 44 มิลลิเมตร หรือประมาณ 15% ซึ่งดูเหมือนว่าจะน้อยกว่าปกติเพียงเล็กน้อย แต่หากพิจารณาในเชิงพื้นที่จะพบว่าพื้นที่เกือบจะทั้งหมดของประเทศมีฝนตกน้อยกว่าปกติเกือบทั้งสิ้น โดยบริเวณตอนบนของประเทศทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกมีฝนตกมากกว่าปกติเกิดขึ้นเป็นหย่อมเล็ก ๆ เท่านั้น อีกทั้งเป็นปริมาณฝนที่มากกว่าค่าปกติเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนภาคใต้ พื้นที่ตอนบนและตอนล่างของภาคมีปริมาณฝน

ฝนที่แตกต่างกันมาก โดยพื้นที่ตอนบนตั้งแต่จังหวัดเพชรบุรีลงไปจนถึงจังหวัดนครศรีธรรมราชมีฝนตกน้อยกว่าปกติค่อนข้างมากและเป็นบริเวณที่ฝนตกน้อยกว่าปกติที่สุดในประเทศ ซึ่งตรงกันข้ามกับพื้นที่ตอนล่างตั้งแต่จังหวัดสงขลาลงไปที่มีฝนตกมากกว่าปกติค่อนข้างมากซึ่งมากที่สุดในประเทศ สำหรับในช่วงฤดูฝนของปี 2566 (พฤษภาคม-ตุลาคม 2566) ประเทศไทยมีฝนตกเฉลี่ยประมาณ 1,102 มิลลิเมตร น้อยกว่าปกติ 103 มิลลิเมตร หรือประมาณ 9% พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีฝนตกน้อยกว่าปกติ แต่มีเหตุการณ์ฝนตกมากกว่าปกติเกิดขึ้นเป็นหย่อม ๆ ในทุกภาค โดยเฉพาะ

บริเวณภาคเหนือมีฝนตกมากกว่าปกติเป็นบริเวณกว้างทางด้านตะวันตกของภาค รวมถึงภาคใต้ตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปที่มีฝนตกมากกว่าปกติค่อนข้างมากเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้างและเป็นปริมาณฝนที่ตกมากกว่าปกติที่สุดในประเทศ ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกมากกว่าปกติเกิดขึ้นเป็นหย่อมเล็ก ๆ ในบางพื้นที่เท่านั้น สำหรับภาคตะวันออก ฤดูฝนปีนี้ไม่มีพื้นที่ใดเลยที่มีฝนตกมากกว่าปกติ ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าบริเวณภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกมากกว่าปกติค่อนข้างมากทั้งในช่วงฤดูฝนและช่วงฤดูแล้ง

ฤดูแล้ง (พฤศจิกายน 2565 - เมษายน 2566)



ฤดูฝน (พฤษภาคม - ตุลาคม 2566)
หมายเหตุ : วิเคราะห์ข้อมูลปริมาณฝนรายปีเฉลี่ยทั่งประเทศย้อนหลัง 40 ปี โดยเทียบกับค่าปกติ (ค่าเฉลี่ยฝน 30 ปี ในช่วงปี 2534-2563)
ซึ่งมีการประมาณค่าปริมาณฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา