สถานการณ์น้ำประเทศไทย ปี 2566

ปี 2566 ประเทศไทยมีปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งประเทศ 1,408 มิลลิเมตร น้อยกว่าปกติ 95 มิลลิเมตร หรือน้อยกว่าปกติประมาณ 6% พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีฝนตกน้อยกว่าปกติ แต่มีฝนตกมากกว่าปกติเกิดขึ้น

เป็นหย่อมๆ ในทุกภาค โดยเฉพาะภาคใต้ตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปจนถึงใต้สุดของประเทศที่มีฝนตกมากกว่าปกติค่อนข้างมากเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้าง โดยปีนี้สถานการณ์ฝนค่อนข้างตรง

กันข้ามกับปี 2565 ปริมาณฝนทั้งประเทศน้อยกว่าปี 2565 ค่อนข้างมาก และทุกภาคของประเทศมีฝนตกน้อยกว่าปกติ ซึ่งต่างจากปี 2565 ที่ทุกภาคมีฝนตกมากกว่าปกติ

In 2023, Thailand had an average annual rainfall of 1,408 millimeters, which was 95 millimeters or approximately 6% lower than normal. Most areas of the country experienced below-normal rainfall, but above-normal rainfall occurred in patches in all regions, especially in

the lower South from Nakhon Si Thammarat Province down to the southern tip of the country which had relatively much more rainfall than usual over wide areas. This year, the rain situation was quite opposite to the year 2022. The amount of rainfall throughout the country was

relatively much less than in the year 2022, and all regions had below-normal rainfall which was different from the year 2022 when all regions of the country had above-normal rainfall.

แผนที่แสดงปริมาณฝนที่ต่างไปจากปกติของปี 2565 และปี 2566 (Anomally rainfall maps for 2022 and 2023)
หมายเหตุ : ประมาณค่าฝนเชิงพื้นที่ด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา
Remark: Arial rainfall was estimated by using the Inverse Distance Weighting (IDW) method by using rainfall data from weather stations of the Thai Meteorological Department

เมื่อพิจารณาข้อมูลปริมาณฝนเป็นรายเดือนจะพบว่ามีเดือนที่ฝนตกน้อยกว่าปกติอยู่ถึง 7 เดือน โดยเป็นลักษณะการเกิดขึ้นต่อเนื่องยาวนาน 6 เดือน ตั้งแต่เดือนมีนาคมจนถึงเดือนสิงหาคม โดยเฉพาะเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นเดือนแรกของการเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูฝน แต่ปีนี้กลับมีฝนตกน้อยกว่าปกติถึง 49% รวมทั้งเดือนสิงหาคมซึ่งโดยปกติมักจะมีฝนตกค่อนข้างมาก แต่ปีนี้มีฝนตกน้อยกว่าปกติถึง 41% มีเพียง

เดือนกันยายนและตุลาคมเท่านั้นที่อยู่ในช่วงฤดูฝนแล้วมีฝนตกมากกว่าปกติ โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกมากที่สุดของปีนี้ เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากร่องมรสุมพาดผ่านประเทศไทยเกือบตลอดทั้งเดือน รวมทั้งอิทธิพลจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่สลายตัวจากพายุดีเปรสชัน 13W ได้เคลื่อนเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือในช่วงปลายเดือน ทั้งนี้ตลอดเดือนกันยายนมี

ฝนตกมากที่สุด 334 มิลลิเมตร รองลงมาคือเดือนตุลาคม 199 มิลลิเมตร ส่วนเดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่มีฝนตกน้อยที่สุดเพียง 19 มิลลิเมตร รองลงมาคือเดือนมกราคมที่มีฝนตก 29 มิลลิเมตร ถึงแม้สองเดือนนี้จะมีฝนตกมากกว่าค่าปกติเกิดขึ้นต่อเนื่อง แต่อยู่ในช่วงฤดูแล้งที่ฝนตกมีปริมาณไม่มากนักและส่วนใหญ่เป็นฝนที่ตกในพื้นที่ภาคใต้

When considering monthly rainfall data, it was found that there were 7 months having lower-normal rainfall, which occurred continuously for 6 months from March to August. Although May was the first month of the rainy season, this year there was 49% less rainfall than usual. Normally, August has quite a lot of rain, but this year there was 41% less rainfall than usual. Only September and

October, which were in the rainy season, had above-normal rainfall. September had the highest rainfall of the year due to the influence of the monsoon trough passing through Thailand for almost the entire month, accompanied by the dissipated strong low-pressure cell from Depression 13W, which moved to cover the Northeast and the North at the end of the month. Throughout September, there was

the most rain at 334 millimeters, followed by October at 199 millimeters. February had the lowest rainfall of 19 millimeters, followed by January with 29 millimeters. These two months continuously had above-normal rainfall, but they were in a dry season that had little rain and most of the rain fell in the South.

ปริมาณฝนในแต่ละเดือนของปี 2566
Monthly rainfall in year 2023


ภาพถ่ายดาวเทียมและแผนที่เส้นทางพายุ Depression 13W
Satellite imagery and storm track of Depression 13W

ถึงแม้โดยภาพรวมทั้งปีนี้พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศจะมีฝนตกน้อยกว่าปกติ แต่ในระหว่างปีหลายพื้นที่กลับมีอุทกภัยเกิดขึ้นจากฝนที่ตกหนัก จากการวิเคราะห์พื้นที่น้ำท่วมโดยใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมพบว่าในปี 2566 ประเทศไทย

มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 4.74 ล้านไร่ กระจายตัวอยู่ในทุกภาคของประเทศ พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบรวม 52 จังหวัด 419 อำเภอ 2,621 ตำบล โดยดาวเทียมตรวจพบพื้นที่น้ำท่วมในเดือนมกราคม

และตั้งแต่เดือนกรกฎาคมจนถึงเดือนธันวาคม โดยเดือนตุลาคมมีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุดประมาณ 3.92 ล้านไร่ รองลงมาคือเดือนพฤศจิกายน 2.00 ล้านไร่ และเดือนกันยายน 1.50 ล้านไร่

Overall, this year most areas of the country had less rainfall than usual; nevertheless, many areas experienced floods due to heavy rain during the year. An analysis of flooded areas from satellite imagery found that in 2023

Thailand had approximately 4.74 million rai of flooded areas distributed in all regions of the country, totaling 52 provinces, 419 districts, and 2,621 sub-districts affected. The satellite detected

flooded areas in January and from July to December. October had the highest flooded areas of 3.92 million rai, followed by November with 2.00 million rai and September with 1.50 million rai.





เนื่องจากปีนี้มีฝนตกลดน้อยลง ทำให้มีน้ำไหลลงเขื่อนลดน้อยลงตามไปด้วย เขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 35 แห่งทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนรวมกันทั้งปี 40,980 ล้านลูกบาศก์เมตร ลดลงจากปีที่แล้วมากถึง 13,074 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือเกือบเท่าความจุของเขื่อนภูมิพล แต่ยังถือเป็นปริมาณน้ำไหลลงสะสมที่ค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับข้อมูลย้อนหลังในรอบ 10 ปี และก็มีการ

ระบายออกไปมากถึง 38,193 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยมากเป็นอันดับที่ 4 รองจากปี 2561 ปี 2565 และปี 2560 ทั้งนี้ ณ วันสิ้นปี ปริมาณน้ำกักเก็บของทั้ง 35 เขื่อน เหลืออยู่ 54,621 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 77% ของความจุเขื่อน อยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง ซึ่งลดลงจากปีที่แล้วเล็กน้อย โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 31,084 ล้านลูกบาศก์เมตร หากเทียบกับข้อมูลในอดีตย้อน

หลังในรอบ 10 ปี ( 2557-2566) พบว่าปี 2566 มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ ณ สิ้นปีมากเป็นอันดับที่ 3 รองจากปี 2560 และ 2565 โดยมีเขื่อนที่ปริมาณน้ำกักเก็บเกินความจุอยู่ 2 แห่ง เขื่อนที่มีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ในเกณฑ์น้ำมากมีอยู่ 15 แห่ง เกณฑ์น้ำปานกลางอีก 14 แห่ง เกณฑ์น้ำน้อย 4 แห่ง และไม่มีเขื่อนใดเลยที่มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยวิกฤต

Less rainfall this year resulted in less water flowing into the dams. All 35 large dams across the country had an annual inflow of 40,980 million cubic meters (mcm) which decreased from last year by 13,074 mcm or almost equal to Bhumibol Dam’s capacity. However, it still was a relatively large amount of annual inflow when compared with the historical data in the past 10

years, and as much as 38,193 mcm were released which was the fourth highest after 2018, 2022, and 2017. As of year-end, the remaining water storage of 35 dams was 54,621 mcm or 77% of the dam capacity. It was a moderate water level which decreased slightly from last year with the usable water of 31,084 mcm. Comparing with the historical data in the past 10

years (2014-2023), it was found that the year 2023 had the third highest amount of water remaining at the end of the year after 2017 and 2022. Two dams overflowed, 15 dams had high water levels, 14 dams had moderate water levels, four dams had low water levels, and no dams had critically low water levels.




ปริมาณน้ำกักเก็บของแต่ละเขื่อน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 (Water quantity of each dams on 31 December 2023)