การกระจายตัวของฝน ปี 2566
และความผิดปกติของฝนเมื่อเทียบกับค่าปกติ


ปี 2566 ประเทศไทยมีปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งประเทศ 1,408 มิลลิเมตร น้อยกว่าปกติ 95 มิลลิเมตร หรือน้อยกว่าปกติประมาณ

6% พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีฝนตกน้อยกว่าปกติ แต่มีฝนตกมากกว่าปกติเกิดขึ้นเป็นหย่อมๆ ในทุกภาค โดยเฉพาะภาคใต้

ตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปที่มีฝนตกมากกว่าปกติค่อนข้างมากเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้าง

หมายเหตุ : ประมาณค่าฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา

ปี 2566 เป็นปีที่สถานการณ์ฝนค่อนข้างตรงกันข้ามกับปี 2565 โดยมีปริมาณฝนน้อยกว่าค่อนข้างมาก ทุกภาคของประเทศมีฝนตกน้อยกว่าปกติต่างจากปี 2565 ที่ทุกภาคมีฝนตกมากกว่าปกติ ซึ่งปีนี้จังหวัดบึงกาฬมีฝนตกมากกว่าปกติที่สุด 64.98% รองลงมาคือจังหวัดสุราษฎร์ธานีและนราธิวาสที่มีปริมาณฝนมากกว่าปกติ 44.76% และ 43.96% ส่วนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นจังหวัดที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติที่สุด 34.71% รองลงมาคือจังหวัดเพชรบุรีและปทุมธานีที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติ 34.12% และ 31.99% ตามลำดับ โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติมแยกเป็นรายภาคดังนี้

ภาคเหนือ มีฝนตกเฉลี่ยทั้งภาค 1,205 มิลลิเมตร น้อยกว่าปกติ 3% โดยเฉพาะทางด้านตะวันออกของภาคที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติในหลายพื้นที่ ส่วนทางด้านตะวันตกของภาคมีฝนตกมากกว่าปกติเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้าง โดยจังหวัดเชียงใหม่มีฝนตกมากกว่าปกติที่สุด 10.70% และจังหวัดพิจิตรมีฝนตกน้อยกว่าปกติที่สุด 19.23%

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนตกเฉลี่ยทั้งภาค 1,364 มิลลิเมตร น้อยกว่าปกติ 2% พื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคมีฝนตกน้อยกว่า

ปกติ มีเพียงบางพื้นที่ทางด้านตะวันออกของภาคและบริเวณจังหวัดนครราชสีมาที่มีฝนตกมากกว่าปกติ โดยจังหวัดบึงกาฬมีฝนตกมากกว่าปกติที่สุด 64.98% และเป็นจังหวัดที่มีฝนตกมากกว่าปกติสูงที่สุดของประเทศด้วย ส่วนจังหวัดอุดรธานีมีฝนตกน้อยกว่าปกติที่สุดของภาค ปริมาณฝนน้อยกว่าปกติ 13.13%

ภาคกลาง มีฝนตกเฉลี่ยทั้งภาค 983 มิลลิเมตร น้อยกว่าปกติ 20% ซึ่งภาคนี้มีฝนตกน้อยกว่าปกติในทุกจังหวัด แม้บางพื้นที่ของจังหวัดกาญจบุรีและสุพรรณบุรีจะมีฝนตกมากกว่าปกติเกิดขึ้นก็ตามแต่โดยภาพรวมของจังหวัดยังคงมีฝนตกน้อยกว่าปกติ ทั้งนี้จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีฝนตกน้อยกว่าปกติที่สุด 34.71% และยังเป็นจังหวัดที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติที่สุดในประเทศอีกด้วย

ภาคตะวันออก มีฝนตกเฉลี่ยทั้งภาค 1,527 มิลลิเมตร น้อยกว่าปกติ 17% พื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคมีฝนตกน้อยกว่าปกติ ยกเว้นบริเวณจังหวัดนครนายกที่มีฝนตกมากกว่าปกติ และเป็นจังหวัดที่มีฝนตกมากกว่าปกติที่สุดของภาค ปริมาณฝนมากกว่าปกติ 13.49% ส่วนจังหวัดตราดมีฝนตกน้อยกว่าปกติที่สุด 31.54%

ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนตกเฉลี่ยทั้งภาค 2,117 มิลลิเมตร น้อยกว่าปกติ 2% เกือบทุกพื้นที่ทางตอนบนของภาคตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปถึงพื้นที่บางส่วนของจังหวัดนครศรีธรรมราช มีฝนตกน้อยกว่าปกติ ส่วนตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปมีฝนตกมากกว่าปกติ โดยจังหวัดนราธิวาสทีฝนตกมากกว่าปกติที่สุด 44.76% รวมทั้งมากเป็นอันดับที่สองของประเทศรองจากจังหวัดบึงกาฬ ส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีฝนตกน้อยกว่าปกติที่สุด 28.82%

ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตกเฉลี่ยทั้งภาค 2,371 มิลลิเมตร น้อยกว่าปกติ 11% พื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคมีฝนตกน้อยกว่าปกติ มีเพียงบางพื้นที่ของจังหวัดพังงา ตรังและสตูลที่มีฝนตกมากกว่าปกติ โดยจังหวัดสตูลมีฝนตกมากกว่าปกติที่สุด 21.32% ส่วนจังหวัดกระบี่มีฝนตกน้อยกว่าปกติที่สุด 29.80%

หมายเหตุ : ประมาณค่าฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา



ปี 2566 ประเทศไทยมีปริมาณฝนน้อยกว่าค่าปกติ 6%

ภาค  ปริมาณฝน ปี 2566  ปริมาณฝนที่ต่างจากปกติ
มิลลิเมตร เปอร์เซ็นต์
เหนือ 1,205 -43 -3
ตะวันออกเฉียงเหนือ 1,364 -29 -2
กลาง 983 -243 -20
ตะวันออก 1,527 -303 -17
ใต้ฝั่งตะวันออก 2,117 -46 -2
ใต้ฝั่งตะวันตก 2,371 -306 -11
ทั้งประเทศ 1,408 -95 -6


หมายเหตุ : ประมาณค่าฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา


รหัสจังหวัด ชื่อจังหวัด  ฝนตกต่างจากปกติ (%)  รหัสจังหวัด ชื่อจังหวัด  ฝนตกต่างจากปกติ (%) 
38 บึงกาฬ                          64.98 27 สระแก้ว -    11.96
96 นราธิวาส                          44.76 73 นครปฐม -    12.47
94 ปัตตานี                          43.96 31 บุรีรัมย์ -    12.92
95 ยะลา                          38.31 62 กำแพงเพชร -    13.00
90 สงขลา                          23.69 39 หนองบัวลำภู -    13.14
91 สตูล                          21.32 41 อุดรธานี -    13.31
93 พัทลุง                          16.52 71 กาญจนบุรี -    13.35
26 นครนายก                          13.49 65 พิษณุโลก -    13.42
50 เชียงใหม่                          10.70 70 ราชบุรี -    13.49
52 ลำปาง                            6.70 24 ฉะเชิงเทรา -    14.77
43 หนองคาย                            6.54 16 ลพบุรี -    14.98
51 ลำพูน                            6.16 75 สมุทรสงคราม -    15.43
47 สกลนคร                            5.74 67 เพชรบูรณ์ -    15.58
37 อำนาจเจริญ                            4.50 57 เชียงราย -    15.90
34 อุบลราชธานี                            3.48 21 ระยอง -    16.47
49 มุกดาหาร                            3.16 83 ภูเก็ต -    16.87
58 แม่ฮ่องสอน                            2.64 74 สมุทรสาคร -    19.19
63 ตาก                            1.94 66 พิจิตร -    19.23
92 ตรัง                            1.67 20 ชลบุรี -    19.95
54 แพร่                            1.00 86 ชุมพร -    19.99
46 กาฬสินธุ์                            0.22 11 สมุทรปราการ -    20.04
48 นครพนม                            0.15 85 ระนอง -    21.83
35 ยโสธร -                         0.68 22 จันทบุรี -    21.89
33 ศรีสะเกษ -                         1.87 61 อุทัยธานี -    25.59
55 น่าน -                         2.69 12 นนทบุรี -    26.64
45 ร้อยเอ็ด -                         2.94 60 นครสวรรค์ -    27.43
56 พะเยา -                         3.55 10 กรุงเทพมหานคร -    27.68
80 นครศรีธรรมราช -                         3.95 14 พระนครศรีอยุธยา -    28.23
25 ปราจีนบุรี -                         4.17 17 สิงห์บุรี -    28.68
44 มหาสารคาม -                         4.25 84 สุราษฎร์ธานี -    28.82
40 ขอนแก่น -                         5.38 15 อ่างทอง -    29.30
30 นครราชสีมา -                         5.83 81 กระบี่ -    29.80
19 สระบุรี -                         6.27 72 สุพรรณบุรี -    30.46
64 สุโขทัย -                         7.12 23 ตราด -    31.54
32 สุรินทร์ -                        10.22 18 ชัยนาท -    31.65
36 ชัยภูมิ -                        10.43 13 ปทุมธานี -    31.99
42 เลย -                        11.29 76 เพชรบุรี -    34.12
82 พังงา -                        11.64 77 ประจวบคีรีขันธ์ -    34.71
53 อุตรดิตถ์ -                        11.92      


เมื่อเปรียบเทียบปริมาณและการกระจายตัวของฝนในปี 2566 กับข้อมูลย้อนหลังในรอบ 20 ปี (2547-2565) จะเห็นได้ว่าถึงแม้ปีนี้จะมีฝนตกน้อยกว่าปกติ แต่ปริมาณฝนยัง

คงมากกว่าช่วงปี 2557-2558 และ 2562-2563 ที่ประเทศไทยเกิดฝนแล้งค่อนข้างรุนแรง ซึ่งในปีนี้มีการกระจุกตัวของกลุ่มฝนตกหนักเกิดขึ้นมากกว่า อีกทั้ง

ภาคเหนือมีการกระจายตัวของฝนค่อนข้างดีกว่าและโดยเฉพาะภาคใต้ที่มีฝนตกมากกว่าค่อนข้างมาก มีเพียงภาคตะวันออกเท่านั้นที่มีฝนตกน้อยกว่า



หมายเหตุ : ประมาณค่าฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา